แนวทางการพัฒนาเนื้อหาโปรแกรมประยุกต์ตามคุณลักษณะที่จำเป็น เพื่อสนับสนุนการสื่อสารภายในองค์การของกลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาล แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาเนื้อหาโปรแกรมประยุกต์เพื่อสนับสนุนการสื่อสารภายในองค์การ 2) ประเมินสภาพการดำเนินงานและความคาดหวังตามคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาเนื้อหาโปรแกรมประยุกต์เพื่อสนับสนุนการสื่อสารภายในองค์การ และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาเนื้อหาโปรแกรมประยุกต์ตามคุณลักษณะที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนการสื่อสารภายในองค์การของกลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยใช้รูปแบบการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ และการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสโนว์บอล จำนวน 8 คน และใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 91 คน ซึ่งเป็นผู้บริหารและพนักงานของกลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ที่ 1 พบว่า คุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาเนื้อหาโปรแกรมประยุกต์ ประกอบด้วย 8 ด้านคือ 1) ด้านการบริหาร 2) ด้านการขายและการตลาด 3) ด้านสินค้าและผลิตภัณฑ์ 4) ด้านการจัดซื้อ 5) ด้านระบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ (IT) 6) ด้านทรัพยากรมนุษย์ 7) ด้านอาคารสถานที่ 8) ด้านอื่น ๆ ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ที่ 2 พบว่า สภาพการดำเนินงานในภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้ และระดับความคาดหวังในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งสามารถนำมาเรียงลำดับความต้องการจำเป็น (PNI) โดยพบว่า องค์การมีความต้องการในด้านอื่น ๆ เป็นอันดับแรก (0.28) รองลงมาคือ ด้านการบริหาร (0.25) ด้านการจัดซื้อ (0.22) ด้านการขายและการตลาด (0.21) ด้านสินค้าและผลิตภัณฑ์ (0.21) ด้านระบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ (IT) (0.19) ด้านอาคารสถานที่ (0.19) และด้านทรัพยากรมนุษย์ (0.17) ตามลำดับ ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ที่ 3 พบว่า องค์การควรกำหนดนโยบายด้านการสื่อสารให้สอดคล้องกับปัญหา วางแผนและกำหนดผู้รับผิดชอบเพื่อกำกับติดตามดูแลการดำเนินการและพัฒนา จัดเตรียมการอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรทุกระดับ นำไปสู่การปฏิบัติ เพื่อที่จะสามารถแก้ไขปัญหาและพัฒนาการสื่อสารขององค์การได้อย่างยั่งยืนและเกิดประสิทธิภาพ
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี. (2553). การสื่อสารในองค์การ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บุญชุม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประสพชัย พสุนนท์. (2553). สถิติธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ท้อป.
ภัคภิญญา ธรรมโชโต. (2560). รูปแบบบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนองค์การแห่งการเรียนรู้ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ. วารสาร Veridian E-Journal. ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม): 79-96
ภัทราวรรณ แก้วมะยม. (2557). รูปแบบการสื่อสารภายในองค์การและความพึงพอใจต่อการสื่อสารภายในองค์การ ของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. รายงานโครงการเฉพาะบุคคล หลักสูตรวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารองค์กร คณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วัลลภ แซ่ซิว. (2556). การยอมรับการใช้งาน Mobile Application ภายในองค์กร กรณีศึกษา บริษัทปิโตรเคมีแห่งหนึ่ง. การค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิจัยกรุงศรี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม 2559-2561: อุตสาหกรรมน้ำตาล, เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2561, เข้าถึงได้จาก https://www.krungsri.com/bank/getmedia/e246cd57-4e3d-42a0-9443-47eef86b192a/IO_Sugar_2016_TH.aspx
วิไลวรรณ ใจทัศน์กุล. (2557). การสื่อสารในองค์การของศูนย์ปฏิบัติการโรงแรมศาลายา พาวิลเลียน. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ปีที่ 25 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม): 32-38.
ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ และพีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์. (2550). สถิติพื้นฐานเพื่องานวิจัยท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
สถาบันดำรงราชานุภาพ กระทรวงมหาดไทย, พิมพ์เขียวและแผนปฏิบัติการขับเคลื่อน Thailand 4.0, เข้าถึงเมื่อ 28 ธันวาคม 2561, เข้าถึงได้จาก http://www.stabundamrong.go.th/web/download/newkm/thailand4.0.pdf
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, 7 แนวโน้มสำคัญของการทำงานในอนาคต, เข้าถึงเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2561, เข้าถึงได้จาก http://www.depa.or.th/th/article/7-แนวโน้มสำคัญของการทำงานในอนาค
สุภางค์ จันทวานิช. (2559). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรอนงค์ สวัสดิ์บุรี. (2555). พฤติกรรมและการสื่อสารในองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
KEMP, Simon, DIGITAL IN 2017: GLOBAL OVERVIEW, เข้าถึงเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2561, เข้าถึงได้จาก https://wearesocial.com/special-reports/digital-in-2017-global-overview
KEMP, Simon, DIGITAL IN 2018: WORLD’S INTERNET USERS PASS THE 4 BILLION MARK, เข้าถึงเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2561, เข้าถึงได้จาก https://wearesocial.com/blog/2018/01/global-digital-report-2018
Mironski, Jasmina. (2017). MANAGING INTERNAL COMMUNICATION IN THE MEDIA: THE NEW PARADIGM. Economic Development / Ekonomiski Razvoj. 19(3): 235-247.