การประยุกต์แนวคิดการโอนสิทธิการพัฒนาเพื่อใช้เป็นมาตรการ การวางผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
กรุงเทพมหานครมีผังเมืองรวมใช้บังคับอย่างต่อเนื่องเป็นฉบับที่ 4 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งทางด้านกายภาพ สภาพแวดล้อม รวมถึงนโยบายต่างๆ ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครจึงต้องมี องค์ความรู้ เทคนิค มาตรการ หรือกลไกต่างๆ ที่จะสนับสนุนให้ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครเป็นไปตามวัตถุประสงค์ มาตรการโอนสิทธิการพัฒนา (Transfer of Development Rights หรือ TDR) เป็นอีกมาตรการที่ควรส่งเสริมให้เกิดขึ้นในทางปฏิบัติได้จริง ในกรณีต่างๆ ได้แก่ การโอนสิทธิการพัฒนาเพื่อพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย การโอนสิทธิการพัฒนาเพื่อพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม การโอนสิทธิการพัฒนาเพื่อพื้นที่อนุรักษ์สภาพแวดล้อม การโอนสิทธิการพัฒนาภายในบริเวณการใช้ประโยชน์ที่ดินเดียวกัน ไปยังบริเวณที่กำหนดให้สามารถพัฒนาพื้นที่ได้เต็มศักยภาพ บทความนี้เป็นการศึกษาสภาวะปัจจุบันของการโอนสิทธิการพัฒนาในต่างประเทศและในประเทศไทย และการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีผลต่อการนำการโอนสิทธิการพัฒนาไปใช้เป็นมาตรการการวางผังเมือง นำไปสู่การเสนอแนะแนวทางในการประยุกต์ใช้การโอนสิทธิการพัฒนาเพื่อใช้เป็นมาตรการการวางผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร การวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่รัฐในสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานครแบบเจาะลึก ผลการวิจัย พบว่า การโอนสิทธิการพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์อาคารหรือพื้นที่ที่มีคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และสถาปัตยกรรม เพื่อการอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม รวมถึงการสงวนรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และเพื่อให้พื้นที่ได้พัฒนาได้เต็มศักยภาพของพื้นที่ ควรกำหนด “พื้นที่ส่งสิทธิการพัฒนา” และ “พื้นที่รับสิทธิการพัฒนา” ในการใช้ประโยชน์ที่ดินตามผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครและควรกำหนดรูปแบบการโอนสิทธิการพัฒนา
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549
กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556
กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2555). รายการประชุมคณะกรรมการผังเมืองครั้งที่ 5/2555.
พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518.
พระราชบัญญัติการผังเมือง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558
ราชกิจจานุเบกษา,2535. เล่ม 109 ตอนที่ 75 หน้า 1.
สิทธิพร ภิรมย์รื่น. 2527. Transfer of Development Rights: New Tool and Technique for Urban Development and historic preservation. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับที่4.
Pruetz, Rick & Standridge, Noah. 2009. “What Makes Transfer of Development Rights Work?” Journal of the American Planning Association.