แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (สายวิชาการ) ในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการในขั้นตอนการพัฒนา การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (สายวิชาการ) ในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (สายวิชาการ) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 28 คน และแบบสนทนากลุ่ม จำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการของมหาวิทยาลัยมีความชัดเจนและมีกลไกในการขับเคลื่อนที่ครอบคลุมต่อความต้องการของอาจารย์ในการขอข้อมูลสำหรับการขอตำแหน่งทางวิชาการ อัตราการเข้าออกของบุคลากร พบว่า มหาวิทยาลัยมีระบบขั้นตอนในการฝึกอบรมอยู่อย่างสม่ำเสมอ และพัฒนาบุคลากรตามสายงานที่เหมาะสม อัตราการเข้าออกของพนักงานได้มีการประเมินที่มีความเป็นธรรมต่อบุคลากรทุกคนของมหาวิทยาลัย และการให้สวัสดิการด้านต่าง ๆ แก่บุคลากร พบว่า สวัสดิการนั้นเป็นไปตามสิทธิของพนักงานมหาวิทยาลัย โดยมีความเพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งระเบียบที่กำหนดขึ้นมา มีความแตกต่างอยู่บ้าง ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของผู้บริหารของมหาวิทยาลัยในการสร้างมาตรฐานที่มีความชัดเจนของสวัสดิการที่ครอบคลุม อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีจะต้องมีการเรียนรู้ให้เข้าใจต่อสถานการณ์ปัจจุบัน
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
นิสดารก์ เวชยานนท์. 2559. ระบบการสรรหา พัฒนา และรักษาบุคลากรภาครัฐของไทย (พ.ศ. 2418- ปัจจุบัน) พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: รัตนไตร.
บุญอนันต์ พินัยทรัพย์. 2559. การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ปรสูตร สิริวัฒนากร. 2555. กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทยและสมาคมเทควันโดแห่งประเทศไทย. นครปฐม: ปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
พยอม วงศ์สารศรี. 2552. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
รจนา เวียงอินทร์. 2553. ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับผลลัพธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์. นครปฐม: รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
วรารัตน์ เขียวไพรี. 2550. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สิรบุตรการพิมพ์.
วิเชียร วิทยอุดม. 2557. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ Human Resource Management. นนทบุรี:
สุจิตรา ธนานันท์. 2557. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: ทีพีเอ็น เพรส.
สุภางค์ จันทวานิช. 2554. วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ห้างหุ้นส่วนสามัญวิทยอุดมสาส์น.
อรุณโรจน์ พวงสุวรรณ. 2555. การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในสภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ระหว่างโรงแรมระดับ 4-5 ดาวและโรงแรมบูติกในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: การจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
Dessler, G. (2013). Human resource management (13thed.) New Jersey: Prentice - Hall
European University Association. 2010. Developing an Internal Quality Culture in European Universities.
Gary, Dessler. 2009. A framework for Human Resource Management. (5 th ed). New Jersey: Pearson Education, Inc.
Mondy, R. W., Noe, R. M., & Premeaux, S. R. 1999. Human resource management. (7thed.). New Jersey: Prentice Hall.
Uliana, E., Macey, J. & Grant, P. 2005. Towards reporting human capital, Meditari Accountancy Research, 2(13), 167-188.