ประสิทธิภาพในการให้บริการลูกค้าของธุรกิจประกันภัยรถยนต์

Main Article Content

ชนะกานต์ แพน้อย
นิวรัตน์ วิจิตรกุลสวัสดิ์
ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการให้บริการลูกค้าของธุรกิจประกันภัยรถยนต์ โดยศึกษาถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพในการให้บริการลูกค้า ตลอดจนศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการให้บริการลูกค้าของธุรกิจประกันภัยรถยนต์ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างคือ ลูกค้าที่ร้องเรียนการใช้บริการธุรกิจประกันภัยรถยนต์ จำนวน 373 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีทางสถิติ T-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า


  1. ลูกค้าที่ใช้บริการธุรกิจประกันภัยรถยนต์ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง อายุระหว่าง 41-50 ปี, สถานภาพสมรส, ระดับการศึกษาปริญญาตรี และส่วนใหญ่มีรายได้ 30,001-35,000 บาท

  2. ด้านประสิทธิภาพในการให้บริการอยู่ในระดับปานกลาง ลูกค้าได้รับการบริการอย่างเท่าเทียมกัน โดยปัญหาและอุปสรรคที่พบได้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการควรได้รับการฝึกอบรมหลักสูตรด้านอื่นๆ ที่จำเป็น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการอย่างต่อเนื่อง

  3. ความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพในการให้บริการลูกค้าของธุรกิจประกันภัยรถยนต์ พบว่า การได้รับบริการด้วยความถูกต้อง แม่นยำ และตรงไปตรงมา มีส่วนสำคัญต่อประสิทธิภาพในการให้บริการลูกค้า

ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาครั้งนี้ คือ ควรจัดให้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริการลูกค้า และการสื่อสารในการปรับปรุงข้อร้องเรียนของลูกค้า และจัดทำแผนยุทธศาสตร์การให้บริการที่มีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กำพล แก้วสมนึก. (2552). การศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อคุณภาพการบริการของบริษัท พรีซิชั่น ทูลส์เซอร์วิส (ประเทศไทย). การศึกษาเฉพาะบุคคลเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ: ปทุมธานี.
กาญจนามาส ชำนาญกิจ. (2555). ทัศนคติของผู้ใช้บริการที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและการสื่อสารแบบปากต่อปาก: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลหลักช้างอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2555 หน้า 1 – 35.
ชนะดา วีระพันธ์. (2555). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี. ปัญหาพิเศษหลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.
นรารัตน์ อ่อนศรี. (2554). คุณภาพการให้บริการของศูนย์บริการลูกค้าบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่แจ้งวัฒนะ. การค้นคว้าอิสระของหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี.
นัฏทีธร, จักรแก้ว. (2557). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการบริษัท ลอว์เพาเวอร์ จำกัด อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
เบญชภา แจ้งเวชฉาย. (2559). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้โดยสารรถไฟฟ้า BTS ในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยากรุงเทพ. ปทุมธานี.
พรพมลิ คงฉิม. (2554). การศึกษาความพึงพอใจและความต้องการของลูกค้าที่ได้รับบริการจากบริษัท เอ็ม.เอช.อี ดีแมก (ที) จำกัด. สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
วิบูลย์ เผือกฉุย. (2559). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตำบลบึง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วารสารเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 มกราคม – มิถุนายน 2559. หน้า 57 – 70.
ศิริพร เจริญศรีวิริยะกุล. (2554). คุณภาพการให้บริการโรงพยาบาลทั่วไปของรัฐบาลในเขตจังหวัดปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระของหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี.
สมิต สัชฌุกร. (2548). ศิลปะการให้บริการ. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
สรานันท์ อนุชน. (2556). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการบริการที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า วารสารพยาบาลทหารบก ปีที่14 ฉบับที่3 (ก.ย. - ธ.ค.) 2556. หน้า 159 – 169.
สุรพงษ์ ธีระภาพ. (2558). ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของบริษัททรัพย์ธานี เครื่องจักรกล จำกัด จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย ฉบับที่ 3 เมษายน - กรกฎาคม 2558 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หน้า 1 – 12.