การพัฒนาเด็กปฐมวัยด้วยสะเต็มศึกษาบูรณาการกับแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชน

Main Article Content

จิตตวิสุทธิ์ วิมุตติปัญญา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยและผลการจัดการเรียนรู้ด้วยสะเต็มศึกษาบูรณาการกับแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชน ที่ออกแบบการจัดกิจกรรมกับนักเรียนระดับปฐมวัยในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำนวน 25 คน โดยใช้เครื่องมือการวิจัย ประกอบดวย แบบสอบถามเพื่อวัดพัฒนาการเรียนรู้ และแบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ วิเคราะหขอมูลโดยใชสถิติร้อยละ             คาเฉลี่ย คาเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะหเนื้อหาและการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า พัฒนาการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยด้วยสะเต็มศึกษาที่สำคัญคือ ครู ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็กต้องคอยสนับสนุนให้กำลังใจเพื่อต่อยอดความรู้ด้วยการรับรู้และเห็นคุณค่าของการบูรณาการสะเต็มศึกษา และสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านการเล่นของเด็กอย่างมีความหมาย โดยกิจกรรมการเรียนรู้ได้ให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทในการแสดงความคิดเห็นและจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยในชุมชนซึ่งได้นำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่น วัสดุจากธรรมชาติมาประดิษฐ์เป็นของเล่น ทำให้เด็กเกิดความสนใจ ตื่นตัวในการทำกิจกรรม มีอิสระในการประดิษฐ์ เล่น และเรียนรู้ด้วยตนเองจากพื้นฐานของการสังเกตสิ่งที่อยู่ไกล้ตัวและสามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้เป็นผลงานสร้างสรรค์ง่ายๆ จนกระทั่งเด็กสามารถพัฒนาสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่ซับซ้อนขึ้นและมีความพอใจกับผลงานของตนเอง สามารถบอกลักษณะ การจำแนกกลุ่ม ชนิด ขนาด สี รูปทรง ผิว ความเหมือนและแตกต่าง และการใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน สร้างความความตื่นตัวในการเรียนรู้ สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกันกับเพื่อนๆได้อย่างดีมีความสนกสนาน มีการแบ่งปัน ช่วยเหลือ และจัดเก็บอุปกรณ์ สร้างระเบียบวินัยต่อตนเองและผู้อื่น โดยมีพัฒนาการเรียนรู้เพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 –2564). สืบค้น 18 พฤษภาคม 2561, จากhttp://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php? NewsID=47194&Key=news20.
คณะกรรมาธิการการสื่อสารมวลชน การวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสารสนเทศ. (2558). รายงานข้อเสนอเชิง นโยบายสะเต็มศึกษา (STEM Education) นโยบายเชิงรุกเพื่อพัฒนาเยาวชนและกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีวิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์. สืบค้น 18 พฤษภาคม 2561, จาก http://library.senate.go.th /document/Ext11101/11101417_0003.PDF.
จุฬารัตน์ ธรรมประทีป และชนิพรรณ จาติเสถียร. (2560). การพัฒนาวิชาชีพครูแบบร่วมมือเรื่อง STEM สำหรับครูปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. 10(2), 36-37.
ณัฏชยานันต์ เกตุศรีศักดา, เจษฎากร โนอินทร์, กีรติ ตันเรือน และพิสิษฐ์ พูลประเสริฐ. (2560). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา. การประชุมวิชาการระดับชาติ “นอร์ทเทิร์นวิจัย” ครั้งที่ 3 ประจำปี 2559.
ประสาท เนืองเฉลิม.(2558). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). จุดมุ่งหมายการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). สะเต็มศึกษาประเทศไทยและทูตสะเต็ม (STEM Education Thailand and STEM Ambassadors), นิตยสาร สสวท., 42(185), 14-18.
Maesincee, S. (2016). Thailand 4.0 Thriving in the 21st Century through Security, Prosperity & Sustainability. [Online]. http://www.ait.ac.th/news-and-events/2016/news/1thailand-4.0-english-dr.-suvit.pdf (November 20, 2015)
McClure, E. R., Guernsey, L., Clements, D. H., Bales, S. N., Nichols, J., Kendall-Taylor, N., & Levine, M. H. (2017). STEM starts early: Grounding science, technology, engineering, and math education in early childhood. New York: The Joan Ganz Cooney Center at Sesame Workshop.
National Research Council (NRC). (2012). A framework for K-12 science education: Practices, crosscutting concepts, and core ideas. Washington, DC: National Academic Press.
Partnership for 21st Century Learning. (2015). P21 Partnership for 21st Century Learning. Partnership for 21st Century Learning, 9. Retrieved from http://www.p21.org/ documents / P21_Framework_ Definitions.pdf
Schacher, R. (2012). A classroom of Engineering: Teaching STEM in The Younger Grade. Scolastic Instructor. Spring 42-47.
Turner, K. (2013). Northeast Tennessee educators’ perception of STEM education implementation. Electronic Theses and Dissertations.