การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ของพื้นที่สวนส้มโอพันธุ์นครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ของพื้นที่สวนส้มโอพันธุ์นครชัยศรีและการปรับตัวของเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอพันธ์นครชัยศรี ภายหลังจากเหตุการณ์อุทกภัย พ.ศ. 2554 โดยพื้นที่ศึกษาประกอบไปด้วย 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนครชัยศรี อำเภอสามพราน และอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยทำการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอและเกษตรกรภายในพื้นที่ โดยเก็บข้อมูลเกษตรกรได้ทั้งสิ้น 88 คน พบว่า ภายหลังปัญหาอุทกภัย พ.ศ. 2554 ลักษณะการเปลี่ยนแปลงพื้นที่สวนส้มโอภายในบริเวณพื้นที่ศึกษานั้น พื้นที่สวนส้มโอโดยรวมมีขนาดพื้นที่มีลดลง ในขณะที่จำนวนต้นส้มโอที่เกษตรกรทำการเพาะปลูกเฉลี่ยต่อไร่มีจำนวนที่มากขึ้น โดยเกษตรกรส่วนใหญ่นั้นมีขนาดพื้นที่สวนส้มโออยู่ระหว่าง 6-10 ไร่ และเลือกที่จะปลูกส้มโอพันธุ์ทองดีมากที่สุด รองลงมาคือ ส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง ส่วนลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดิน พ.ศ. 2559 นั้นทำการวิเคราะห์ โดยการแปลความหมายข้อมูลภาพดาวเทียม Landsat 8 พบว่า ในบริเวณพื้นที่ศึกษานั้นมีการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพื้นที่สวนมากที่สุด จำนวน 151,714.69 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 43.18 ของพื้นที่ทั้งหมด รองลงมาคือบริเวณพื้นที่สิ่งปลูกสร้างมีจำนวนทั้งสิ้น 80,676.56 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 22.96 ของพื้นที่ทั้งหมด ลำดับที่สามคือการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่นามีจำนวนทั้งสิ้น 65,286.56 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 18.58 ของพื้นที่ทั้งหมด
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
http://www.ipthailand.go.th/index.php?option=com_content&view=category&id
=66&Itemid=259
ณัฐ สุขอึ้ง, อนุกูล บูรณประทีปรัตน์, และวิชญา กันบัว. (2557). การสำรวจพรรณไม้ในป่าชายเลน และการประยุกต์ใช้ข้อมูลการสำรวจระยะไกลจากดาวเทียม เพื่อการสร้างแผนที่ป่าชายเลน บริเวณปากแม่น้ำเวฬุ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 19 (2557) 1 : 24-36
ธนาคารอาคารสงเคราะห์. (2555). การเปลี่ยนแปลงของราคาประเมินที่ดินทั่วประเทศปี 2555
¬ ค้นเมื่อ 13 กันยายน 2558, จาก http://www.ghbhomecenter.com/journal/download.php?file=1620Sep12mWu8g ZO.pdf
ภัทรา ชัยเพียรเจริญกิจ. (2551). ศักยภาพด้านสึกความละเอียดเชิงพื้นที่ของข้อมูลดาวเทียม THEOS ในการจำแนกสิ่งปกคลุมดิน: กรณีศึกษาพื้นที่สวนลำไย.งานค้นคว้าอิสระ ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ภาติยะ พัฒนาศักดิ์. (2557). การวิเคราะห์รูปแบบการใช้ที่ดินโดยการจำแนกข้อมูลภาพจาก ดาวเทียม ในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยรามคำแหง (วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี) ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2557.
วรวิทย์ ศุภวิมุติ. (2554). รูปแบบการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินภายหลังพายุไต้ฝุ่นเกย์: กรณีศึกษาตำบลทะเลทรัพย์ อำเภอประทิว จังหวัดชุมพร. วิทยานิพนธ์ปริญญา
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วลัยลักษณ์ อมรสิริพงศ์, ไพรินทร์ มากเจริญ, วัลลี นวลหอม, พีรพัฒน์ พันศิริ, และจิตรภณ สุนทร
(2560). รูปแบบการจัดการความรู้พันธุ์ส้มโอนครชัยศรีเพื่อการดำรงอยู่อย่างยั่งยืน
กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
¬สุมาลินี สาดส่าง. (2556). การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินทางการเกษตรในเขตชานเมือง : กรณีศึกษาอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุธี สุขสงวน. (2558, 25 สิงหาคม). เกษตรกร. สัมภาษณ์.
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครปฐม. (2554). สวนส้มโอนครปฐมยืนต้นตายหลังถูกน้ำท่วม
เสียหายนับ 200 ล้านบาท. ค้นเมื่อ 13 กันยายน 2558, จาก http://pr.prd.go.th/nakhonpathom/ewt_news.php?nid=92&filename=index
อภิเสฏฐ์ สุวรรณสะอาด. (2556). แนวทางการสำรวจข้อมูลจากระยะไกลในการจำแนกพื้นที่ทิ้งร้างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดิน กรณีศึกษา ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตน์โกสินทร์.