การพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามแนวทางเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ในกลุ่มทวารวดี 4 จังหวัดเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน

Main Article Content

วรรณวีร์ บุญคุ้ม
ธนินท์รัฐ รัตนพงศ์ภิญโญ
ผกามาส พะวงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในกลุ่มทวารวดี 4 จังหวัดเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนโดยกำหนดวัตถุประสงค์ย่อยไว้คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในกลุ่มทวารวดี 4 จังหวัด 2) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในกลุ่มทวารวดี 4 จังหวัด เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน และ 3) เพื่อหาแนวทางในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในกลุ่มทวารวดี 4 จังหวัด เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (R&D) ในพื้นที่ศึกษาที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมใน 4 จังหวัดคือ กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี และสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามคือนักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักที่เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม และจัดเวทีประชุมคือ  ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในกลุ่มทวารวดี 4 จังหวัด ประกอบไปด้วย ตัวแทนจากภาคประชาชน ภาครัฐ องค์กรเอกชน และผู้นำชุมชน พื้นที่ศึกษาละ 20 คน และสำรวจพื้นที่ศึกษาโดยคณะผู้วิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การ  หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการวิจัยพบว่า สภาพการณ์ทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในกลุ่มทวารวดี 4 จังหวัดคือ แนวโน้มของนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวมากขึ้น นักท่องเที่ยวมีพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมากที่สุดคือ เดินทางมาท่องเที่ยวประมาณ 2-3 ครั้ง เดินทางมาท่องเที่ยวกับครอบครัวหรือญาติพี่น้องจำนวน 2-3 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อมาท่องเที่ยวในงานเทศกาลหรืองานประเพณี สำหรับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในกลุ่มทวารวดี 4 จังหวัดในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า แรงจูงใจด้านสิ่งดึงดูดใจในการท่องเที่ยวอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านการให้บริการ ตามลำดับ และรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในกลุ่มทวารวดี 4 จังหวัดที่นำเสนอไว้คือ DVARAVATI Model ได้แก่ 1) D: Development for Sustainability (การพัฒนาที่ยั่งยืน) 2) V: Variety of Activities (การมีกิจกรรมที่หลากหลาย) 3) A: Aim at Standard (การมุ่งสู่มาตรฐาน) 4) R: Relationship (สัมพันธภาพ) 5) A: Attendance (การมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม) 6) V: Vision of Entrepreneur (วิสัยทัศน์ของผู้ประกอบการ) 7) A: Awareness of Community (ความตระหนักของชุมชน) 8) T: Transparency (ความโปร่งใส) และ 9) I: Innovation (การมีผลิตภัณฑ์ใหม่) สำหรับแนวทางในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในกลุ่มทวารวดี 4 จังหวัดที่สำคัญคือการร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน ชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาการท่องเที่ยวและการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นในการบริหารจัดการ ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้แหล่งท่องเที่ยวเป็นที่รู้จักแก่นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ  จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์ การจัดทำปฏิทินการท่องเที่ยวในรอบปี และมีการเชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยวกับพันธมิตรทางธุรกิจทางการท่องเที่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.(2555). สถิตินักท่องเที่ยวปี 2554.
สืบค้นจากhttp://department-of-tourism.blogsport.com เมื่อ 10 พฤษภาคม 2555.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2546).เอกสารชุดฝึกอบรมทางไกลหลักสูตรการจัดการท่องเที่ยว
ชุมชนอย่างยั่งยืน.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
กิติบุตร วิไลลักษณ์. (2550). โครงการพัฒนาเพื่อปลูกจิตสำนึกการฟื้นฟูวัฒนธรรมไทลื้อ อำเภอ
ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
จุฑามาศ คงสวัสดิ์. (2550).แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเมืองโบราณอู่ทอง
จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชูเกียรติ นพเกตุ. (2542). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. เชียงราย: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏเชียงราย.
ทิพวรรณ พุ่มมณี.(2550). การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2550).การท่องเที่ยวโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน จุดเริ่มต้นของการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ในการประชุมเทศกาลการท่องเที่ยวไทย.กรุงเทพฯ:การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
ทรงคุณ จันทจร และคณะ. (2552). คุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นกับการนำมาประยุกต์เป็น
ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือภาคกลางและภาคใต้. มหาสารคาม: สถาบันวิจัยศิลปะและ
วัฒนธรรมอีสานมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มนสิชา อินทจักร. (2552). การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในประเทศไทยสำหรับนักท่องเที่ยวสูงอายุชาวญี่ปุ่น. วารสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์การท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. ปี 2552 ฉบับที่ 1 หน้า 1-10.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา.(2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน.กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์.



บุษบา สิทธิการ และคณะ. (2544). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชนบ้านแม่กลางหลวงดอย
อินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่. ชุดโครงการนโนบายและแผนอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนกองทุนวิจัย. กรุงเทพ: สำนักงานกองทุน
สนับสนุนกองทุนวิจัย.
ประพัทธ์ชัย ไชยนอก. (2554). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษาบ้าน
ด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
นรินทร์ สังข์รักษา. (2553) รายงานการวิจัย การศึกษาสภาพการณ์ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ในจังหวัดนครปฐม. นครปฐม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นรินทร์ สังข์รักษา.(2554). การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: เส้นทางวัฒนธรรม อู่อารยธรรม
ราชบุรี. เอกสารประกอบการประชุมเชิงนโยบาย ณ โรงแรมโกลเด้นท์ซิตี้ จังหวัดราชบุรี
วันที่ 2 พฤษภาคม 2555.
พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน.กรุงเทพฯ: โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิต
และธรรมชาติ.
มนัส ชัยสวัสดิ์ และคณะ (2546). การศึกษาระบบการท่องเที่ยจังหวัดภูเก็ตเพื่อทรายศักยภาพของการ
พัฒนาไปสู่แหล่งท่องเที่ยวระดับโลกที่มีความยั่งยืน. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2544). อุตสาหกรรมท่องเที่ยว. นนทบุรี: มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช.
วรรณา วงษ์วานิช. (2546).ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วีรพล ทองมา (2552). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของชุมชนชาวจีนในพื้นที่
ลุ่มน้ำแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่.เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
รชพร จันทร์สว่าง. (2546). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการท่องเที่ยว. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช.
ราณี อิสิชัยกุล. (2546). เอกสารชุดฝึกอบรมทางไกล หลักสูตรการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่าง
ยั่งยืน. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศักดิ์ชัย เกียรตินาคินทร์. (2553). ทุนความคิด เศรษฐกิจสร้างสรรค์.ไว้ลาย: กรุงเทพฯ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). การบรรยายทางวิชาการเพื่อสร้างความตระหนักเรื่อง
การก้าวสู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ.