ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการติดต่อสื่อสารและการสนับสนุนทางสังคมในองค์กา รกับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน : กรณีศึกษา ผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาพฤติกรรมการติดต่อสื่อสาร การสนับสนุนทางสังคมและขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการติดต่อสื่อสารกับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 362 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้สูตรทาโร ยามาเน (Taro Yamane) กำหนด ค่าความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 0.05 และคำนวณกลุ่มตัวอย่างจากสัดส่วนของส่วนงาน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งระดับชั้น (Stratified Sampling) แล้วทำการเลือกหน่วยตัวอย่างจากประชากรแต่ละกลุ่มมาให้ครบทุกกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้ปรับโครงสร้างและมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) ทดสอบค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า
- ผู้ปฏิบัติงานมีพฤติกรรมการติดต่อสื่อสารอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.50 คะแนน) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การสื่อสารแบบแนวนอน การสื่อสารแบบบนลงล่าง และการสื่อสารแบบข้ามสายงานอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.75, 3.49 และ 3.45 คะแนน ตามลำดับ) ส่วนการสื่อสารแบบล่างขึ้นบนอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.29 คะแนน)
- ผู้ปฏิบัติงานมีการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.40 คะแนน) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน และการได้รับการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชาอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.49 และ 3.31 คะแนน ตามลำดับ)
- ผู้ปฏิบัติงานมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.47 คะแนน) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความสัมพันธ์ในส่วนงาน ด้านความพึงพอใจในงาน ด้านความรู้สึกมั่นคงในการปฏิบัติงาน และด้านความก้าวหน้าในงานอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.54, 3.52, 3.46 และ 3.34 คะแนน ตามลำดับ)
- ผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุนที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาปฏิบัติงาน และสถานภาพของบุคลากรแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
- พฤติกรรมการติดต่อสื่อสารมีความสัมพันธ์ทางบวกกับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีความสัมพันธ์กันปานกลาง (r=0.456)
- การได้รับการสนับสนุนทางสังคมในองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกกับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีความสัมพันธ์กันปานกลาง (r=0.488)
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
ชัยทวี เสนะวงศ์. (2547). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์. ค้นวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2561 จาก http://www.consultthai.com.
จริยาวัตร คมพยักฆ์. (2531). แรงสนับสนุนทางสังคม : มโนทัศน์และการนำไปใช้. วารสารพยาบาลศาสตร์. 6(1) กรุงเทพมหานคร.
จำเนียร สาระนาค. (2516). มนุษยสัมพันธ์ในธุรกิจเบื้องต้น. หัตถ์ศิลป์. กรุงเทพมหานคร.
ธงชัย สันติวงษ์. (2533). องค์การและการบริหาร การศึกษาการจัดการแผนใหม่. สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. กรุงเทพมหานคร.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี. อุบลราชธานี.
บุญรักษ์ ยอดเพชร. (2539). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการติดต่อสื่อสารของผู้บริหารโรงเรียนและขวัญกำลังใจของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
เบญจพร ยิฐธรรม. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการติดต่อสื่อสาร และการสนับสนุนทางสังคมในองค์การ กับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา ข้าราชการสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ) คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.
ผุสดี สัตยามานะ. (2520). การบริหารรัฐกิจ. โรงพิมพ์มงคลการพิมพ์. กรุงเทพมหานคร.
ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล และ สุภาพ ฉัตราภรณ์. (2541). การออกแบบการวิจัย ประชาชน. กรุงเทพมหานคร.
พรนพ พุกกะพันธ์. (2545). ภาวะผู้นำและการจูงใจ. จามจุรีโปรดักท์. กรุงเทพมหานคร.
ภิญโญ สาธร. (2516). หลักการบริหารการศึกษา. ไทยวัฒนาพานิช. กรุงเทพมหานคร.
มัลลิกา ต้นสอน. (2544). พฤติกรรมองค์การ. ด่านสุทธาการพิมพ์. กรุงเทพมหานคร.
สมชาย หิรัญกิตติ และคณะ. (2542). องค์การและการจัดการ. Diamond in Business World. กรุงเทพมหานคร.
สมพงศ์ เกษมสิน. (2521). การบริหาร. ไทยวัฒนาพานิชย์ จำกัด. กรุงเทพมหานคร.
สมพงศ์ เกษมสิน. (2523). การบริหารงานบุคคลแผนใหม่. ไทยวัฒนาพนิช. กรุงเทพมหานคร.
สมยศ นาวีการ. (2522). การบริหาร. ดวงกมล. กรุงเทพมหานคร.
สมยศ นาวีการ. (2544). การติดต่อสื่อสารขององค์การ. บรรณกิจ 1991 จำกัด. กรุงเทพมหานคร.
สุปัญญดา หุ่นแก้ว. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์การกับขวัญในการปฏิบัติงานของข้าราชการสังกัดกระทรวงพาณิชย์. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพมหานคร.
สุรางค์ จันทน์เอม. (2529). จิตวิทยาสังคม. อักษรบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร.
เสนาะ ติเยาว์. (2543). การบริหารงานบุคคล. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร.
อรุณ รักธรรม. (2526). พฤติกรรมองค์การ. โอเดียนสโตร์. กรุงเทพมหานคร.
อารี เพชรผุด. (2530). มนุษย์สัมพันธ์ในการทำงาน. เนติกุลการพิมพ์. กรุงเทพมหานคร.
อุทัย หิรัญโต. (2520). ศิลปศาสตร์ของนักบริหาร. โอเดียนสโตร์. กรุงเทพมหานคร.
Allen. Richard K. (1997). Organizational Management Thtough Communication. Harper & Row Publishers.
Cronbach, Lee J. (1984). Essential of Psychological Testing. 2nd ed., New York : Harper and Row.
Ferguson, George A. (1981). Statistical Analysis in Psychology and Education. 3rd New York : McGraw-Hill Book Company.
Thoits, P, A. (1982). Concequal and Theoretical Problem in Studying Social Support as a Buffer Against Life Stress. Journal of Health and Behavior. 23 (June)