ความสุขของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ เขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบความสุขของผู้สูงอายุจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล และแนวทางการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ เขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 397 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหาโดยใช้แบบสัมภาษณ์สัมภาษณ์ผู้สูงอายุที่มีคะแนนความสุขจากการทำแบบสอบถามสูงสุด จำนวน 5 คน เพื่อนำมา วิเคราะห์หาแนวทางการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขของผู้สูงอายุ
ผลการวิจัยพบว่า
- ผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ เขตกรุงเทพมหานคร มีความสุขโดยรวมอยู่ในระดับมาก
- ผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ เขตกรุงเทพมหานคร ที่มีเพศต่างกัน มีความสุขแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้สูงอายุที่มีอายุ สถานภาพสมรส ฐานะทางเศรษฐกิจ ความถี่ในการเข้าร่วมกิจกรรม ภาวะสุขภาพต่างกัน มีความสุขไม่แตกต่างกัน
3. ผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ เขตกรุงเทพมหานคร มีแนวทางการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขคือการดูแลตนเองทั้งร่างกายและจิตใจ การมีความหวังและมีการวางแผนในชีวิต การบริหารจัดการกับความทุกข์ การได้อยู่ร่วมกันหรือทำกิจกรรมกับครอบครัว การเป็นที่พึ่งของครอบครัว การเข้าร่วมทำกิจกรรมทางศาสนาหรือทางวัฒนธรรมประเพณี การได้ถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ การทำกิจกรรมที่ชอบหรืองานอดิเรก การได้พัฒนาตนเองด้วยการเรียนรู้ การเตรียมตัวเพื่อวัยผู้สูงอายุ การตระหนักถึงคุณค่าในตนเอง การได้ช่วยเหลือผู้อื่นหรือทำประโยชน์ต่อสังคม
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
ชุติไกร ตันติชัยวนิช. (2551). ความสุขในชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล.
นวลฉวี ประเสริฐสุข. (2559). การศึกษาแนวทางการส่งเสริมความสุขของผู้สูงอายุในอาเซียน. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร
นารีรัตน์ เชื้อสูงเนิน. (2550). ความสัมพันธ์ระกว่างการรับรู้ภาวะสุขภาพ การปฏิบัติกิจกรรม การสนับสนุนจากครอบครัวกับความผาสุขทางใจของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2547) ระเบียบวิธีวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ:
บริษัท ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย จำกัด
ปัญญภัทร ภัทรกัณทากุล. (2544). การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมและความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ภัทร ถามล. (2554). ความสุขในชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเมือง: กรณีศึกษาชุมชนวัดไชยทิศ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2558) รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยประจำปี พ.ศ. 2558. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2561เข้าถึงได้จาก http://thaitgri.org/?p=37841
วรรณวิสาข์ ไชยโย. (2555). ทรรศนะเรื่องความสุขในผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาบ้านวัยทองนิเวศน์. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วรวุฒิ ทาอุโมงค์. (2554). การวัดความสุขเชิงเศรษฐศาสตร์แนวใหม่ของกลุ่มผู้สูงอายุในเขตเทศบาล ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
วิทธิลักษณ์ จันทร์ธนสมบัติ. (2552). ทัศนะต่อการเป็นผู้สูงอายุที่มีความสุขของผู้สูงอายุใน กรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาสาธารณสุข 40 บางแค. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการ สังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิทมา ธรรมเจริญ. (2555). อิทธิพลของปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในที่มีต่อความสุขของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2547). แนวคิดด้านสวัสดิการสังคมสู่วัยผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการแห่งชาติว่าด้วยผู้สูงอายุ “สู่วัยสูงอายุด้วย คุณภาพ” จัดโดยคณะกรรมการกำเนินการ จัดกิจกรรมปีสากลว่าด้วยผู้สูงอายุด้านวิชาการ.
สหประชาติ. (2018 )รายงานความสุขโลก: ฟินแลนด์เป็นประเทศที่มีความสุขที่สุด. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2561. เข้าถึงได้จาก https://goo.gl/wKqdtm
สิริพร สุธัญญา. (2550). พฤติกรรมการดูแลตนเองกับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ ในสวนรมณีนาถ กรุงเทพมหานคร. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา พัฒนาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2561. เข้าถึงได้จาก https://goo.gl/pYB5LH
สุจิตรา สมพงษ์. (2555). ความสุขของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราในจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุพัตรา ธารานุกูล. (2544). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความพึงพอใจในชีวิตผู้สูงอายุ. ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เสนอ อินทรสุขศรี, 2557. ฉันจะเป็นผู้สูงอายุที่มีความสุข. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2561. เข้าถึง ได้จาก https://goo.gl/haZr9f
เสาวลักษณ์ เรืองเกษมพงศ์. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง นครปฐม จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน มหาวิทยาลัยศิลปากร.