ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ยาลดความอ้วนของนิสิตหญิงระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนิสิตหญิงระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ บางเขน เกี่ยวกับการใช้ยาลดความอ้วน เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ยาลดความอ้วน จำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ในการใช้ยาลดความอ้วน ความตระหนักเกี่ยวกับโทษในการใช้ยาลดความอ้วน และการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการใช้ยาลดความอ้วน กับความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ยาลดความอ้วนของนิสิตหญิง กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตหญิงระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบไคกำลังสอง และสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า นิสิตหญิงมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ยาลดความอ้วน และความรู้ในการใช้ยาลดความอ้วนระดับปานกลาง มีความตระหนักเกี่ยวกับโทษในการใช้ยาลดความอ้วนระดับมาก สื่อมวลชนที่ได้รับข่าวสารมากที่สุดคืออินเทอร์เน็ต และสื่อบุคคลที่ได้รับข่าวสารมากที่สุดคือเพื่อน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า นิสิตที่มีปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลที่ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ยาลดความอ้วน ไม่แตกต่างกัน ความรู้ในการใช้ยาลดความอ้วน ความตระหนักเกี่ยวกับโทษของยาลดความอ้วน และการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับยาลดความอ้วนจากสื่อบุคคล มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ยาลดความอ้วนในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. 2548. ยาลดความอ้วน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.
จุฑามณี สุทธิสีสังข์. 2546. เภสัชวิทยา เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2544). “เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา”. เอกสารการสอนชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา หน่วยที่ 1-15. พิมพ์ครั้งที่ 23. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี: โรงพิมพ์สหมิตร.
ดวงมาลย์ พละไกร สุดสบาย จุลกทัพพะ และกนกวรรณ ลิ้มศรีเจริญ. (2556). “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้ยาลดความอ้วนในนักศึกษาหญิงในมหาวิทยาลัย” วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 58 (4): 311-322.
ธีเรก วิทยายุทธ. (2549). ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่สรรพสามิตในเขตพื้นที่สานักงานสรรพสามิตภาคที่ 6 ที่มีต่อการบริหารงานหลังการปฏิรูประบบราชการของกรมสรรพสามิต พ.ศ. 2545. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิต.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: บี แอนด์ บี พับลิสซิ่ง.
ปรมะ สตะเวทิน. (2546). หลักนิเทศศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
ประจวบจิตร คาจัตุรัส. (2530). “โรงเรียนกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ”เอกสารการสอนชุดวิชาสิ่งแวดล้อมสำหรับโรงเรียนและชุมชน เล่มที่ 3. กรุงเทพฯ: น่ำกังการพิมพ์.
ปวีณา ยุกตานนท์. (2549). ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาลดความอ้วนของวัยรุ่นหญิงตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริกาญจน์ ศิริเลข. (2551). ความตระหนักต่อปัญหาภาวะโลกร้อนของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศิริบงกช ดาวดวง. (2545). ความหมายของความอ้วนกับการใช้ยาของวัยรุ่นหญิงในสถาบันอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข, มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2540). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย: วัยรุ่น-วัยสูงอายุ เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานทะเบียนและประมวลผล. (2556). สถิตินิสิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2552). ประมวลสถิติสำคัญของประเทศไทย 2551. (Online) https://www.ms.go.th, 21 มกราคม 2552.
อภิชัย พจน์เลิศอรุณ. (2546). พฤติกรรม และเหตุผลของการใช้ยาลดความอ้วนในกลุ่มวัยรุ่นเพศหญิงที่ไม่อ้วนในเขตกรุงเทพมหานคร. (Online) https://www.tnrr.in.th, 21 มกราคม 2552.
MGR Online. (2552). พฤติกรรมลดความอ้วนที่ผิดๆ ของวัยรุ่นหญิงไทย. (Online) https://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9480000095608, 21 มกราคม 2552.