การพัฒนาทักษะการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์แบบองค์รวมสำหรับผู้สูงอายุในชนบทไทย:ด้านอาชีพ

Main Article Content

วรรณวีร์ บุญคุ้ม
วิสูตร โพธิ์เงิน
มนัสนันท์ น้ำสมบูรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการเรียนรู้ด้านอาชีพของผู้สูงอายุ 2) พัฒนารูปแบบทักษะการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ด้านอาชีพของผู้สูงอายุในชนบทไทย และ 3) หาแนวทางพัฒนาทักษะการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์แบบองค์รวมด้านอาชีพของผู้สูงอายุในชนบทไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนาในพื้นที่ศึกษาที่เป็นชนบทไทยทั่วประเทศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสภาพการเรียนรู้ด้านอาชีพของผู้สูงอายุในชนบทไทย ได้แก่ 1) ผู้สูงอายุในชุมชนชนบทไทย จำนวน 380 คน 2) กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุในพื้นที่กรณีศึกษาชุมชนที่มีผลการปฏิบัติเป็นเลิศด้านอาชีพของผู้สูงอายุ ทำการศึกษาเชิงลึก จำนวน 4 พื้นที่ใน 4 ภูมิภาค กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองใช้รูปแบบทักษะการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์แบบองค์รวมด้านอาชีพของผู้สูงอายุในชนบทไทย ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุในชนบทไทยจำนวน 2 พื้นที่ พื้นที่ละ 30 คน รวม 60 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการจัดสนทนากลุ่ม สอบถาม และการสัมภาษณ์ และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินรูปแบบทักษะการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ด้านอาชีพของผู้สูงอายุในชนบทไทย และหาแนวทางพัฒนาทักษะการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์แบบองค์รวมด้านอาชีพของผู้สูงอายุในชนบทไทย ได้แก่ ตัวแทนผู้สูงอายุในชุมชน ตัวแทนจากหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผู้สูงอายุในชุมชน จำนวน 2 พื้นที่ พื้นที่ละ 10-14 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2557 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลที่ได้จากการศึกษา สรุปได้ดังนี้


  1. สภาพการเรียนรู้ด้านอาชีพของผู้สูงอายุในชนบทไทย พบว่า ผู้สูงอายุมีการรวมกลุ่มตามสนใจและความต้องการของกลุ่มเพื่อทำงานอาชีพด้านหัตถกรรมและเกษตรกรรม เพื่อหารายได้ สร้างความสุขในรูปแบบของงานเกษตรกรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ การปลูกพืชปลอดสารพิษ การผลิตอาหารและของใช้ที่เพียงพอต่อการอุปโภคและบริโภคในครัวเรือน เช่น พืชสมุนไพรแปรรูป ขนม การผลิตของใช้ในครัวเรือน เช่น ผ้าทอ ตะกร้า กระบุง การผลิตของใช้เพื่อการสร้างความสุข เช่น เหรียญโปรยทาน เป็นต้น สำหรับทักษะการเรียนรู้ด้านอาชีพของผู้สูงอายุในชนบทไทย พบว่า ผู้สูงอายุมีการเรียนรู้งานอาชีพที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น มีการรวมตัวกันสร้างกลุ่มอาชีพในชุมชนของตน และเรียนรู้ด้านอาชีพร่วมกัน หรือเรียนรู้จากวิทยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ผู้สูงอายุเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงมากที่สุด รองลงมาเรียนรู้จากการสังเกต จดจำและทดลองทำ เรียนรู้จากวิทยากรหรือผู้รู้ในชุมชน และมีการสืบทอดองค์ความรู้ไปยังรุ่นลูกหลาน มีช่องทางการเรียนรู้จากสื่อวิทยุ โทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ต

  2. รูปแบบทักษะการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ด้านอาชีพของผู้สูงอายุในชนบทไทยที่พัฒนาขึ้นคือ รูปแบบพื้นที่แห่งความสุข (SPACE of Happiness Model) ประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 องค์ประกอบ ดังนี้คือ 1) S: Sustainability หรือความยั่งยืน 2) P: Participation of Community หรือการมีส่วนร่วมของชุมชน 3) A: Appropriate Planning หรือความเหมาะสมในกำหนดแผนงาน กิจกรรมการดำเนินงาน 4) C: Creation หรือการสร้างสรรค์ 5) E: Efficiency Economy หรือเศรษฐกิจพอเพียง 6) O: Opportunity หรือการให้โอกาส 7) F: Friendship หรือสัมพันธภาพที่ดี และ 8) H: Happiness หรือความสุข

3.          แนวทางพัฒนาทักษะการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์แบบองค์รวมด้านอาชีพของผู้สูงอายุในชนบทไทยคือ การสร้างผลิตภัณฑ์อาชีพที่หลากหลายเพิ่มขึ้น การสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการออกแบบชิ้นงานสร้างสรรค์ที่สนองความต้องการของลูกค้า การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นการต่อยอดภูมิปัญญาที่มีอยู่ในท้องถิ่น การเพิ่มการประชาสัมพันธ์และช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การสนับสนุนที่เพิ่มขึ้นจากหน่วยงานภาครัฐ และการจัดทำฐานข้อมูลด้านอาชีพของผู้สูงอายุเพื่อการสืบทอด แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างเครือข่ายด้านอาชีพของผู้สูงอายุ อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ด้านอาชีพของผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอนามัย. (2551). กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและ เครือข่ายผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก
http://hp.anamai.moph.go.th. เมื่อวันที่20 มิถุนายน 2556.
ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย. (2552). ปรับจิตใต้สำนึกเปิดประตูความสุขอย่างยั่งยืน. ค้นวันที่ 28 กรกฎาคม
2557 จาก http://www.nationejobs.com/content/worklife/afterwork/template.
นงนุชสุนทรชวกานต์. (2552) การสร้างโอกาสการทำงานของผู้สูงอายุ. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนา
ผู้สูงอายุไทย. (มส.ผส.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
วรรณวีร์ บุญคุ้ม, วิสูตร โพธิ์เงิน, มนัสนันท์ น้ำสมบูรณ์. (2558). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์
แบบองค์รวมของผู้สูงอายุในชนบทไทย: ด้านอาชีพ. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิริณาจิตต์จรัส. (2555). เศรษฐกิจชุมชนและภูมิปัญญาไทย. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน.(2551). การประเมินความสุขของ
คนทำงาน (Happiness at Workplace): กรณีศึกษาประชาชนอายุ18 - 60 ปีที่ทำงานใน
สถานประกอบการและองค์กรธุรกิจในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ.
ศูนย์ส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย. (2557). แนวคิดเกี่ยวกับงานและชีพ. สืบค้นจาก
http://www.dnfe5.nfe.go.th/ilp/42033. เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2557.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2556). จำนวนผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก
http://www.ipsr.mahidol.ac.th. เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2556.
สมชาย ศักดาเวทีอิศร. (2544). การพัฒนาเครื่องชี้วัดวามสุขอยู่ดีมีสุข. ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต
ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สิรินทร แซ่ฉั่ว. (2553). ความสุขในการทำงานของบุคลากรเชิงสร้างสรรค์: กรณีศึกษา อุตสาหกรรมเชิง
สร้างสรรค์กลุ่มสื่อและกลุ่มงานสร้างสรรค์เพื่อการใช้งานวิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). นานาคำถามเกี่ยวกับปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง.กรุงเทพฯ: ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน).
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2552). รายงานการศึกษาเบื้องต้น
เศรษฐกิจสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, (2554a).แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) .กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2557). กรอบการวิจัยประจำปีงบประมาณ 2558. กรุงเทพฯ
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2554). สรุปสาระสำคัญ ทิศทางและยุทธศาสตร์ของ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2558).กรุงเทพฯ: สำนักงาน
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี.
สุเมธ ตันติเวชกุล. (2549). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพระเจ้าอยู่หัว.กรุงเทพฯ: แสงดาว.
โสภณ เมฆธน. (2550). เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง นโยบายและแนวโน้มการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ.
กรุงเทพฯ: กรมอนามัย.
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ. (2553). Thailand’s creative economy. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Diener, E. (2010a). Frequently answered questions: A primer for reporters and
newcomers. Retrieved June 24, 2014 from http://www.psych.illinois.edu/~
ediener/faq.html.
Hawkins, J. (2001). About the creative economy: how people make money from
ideas. London: Penguin.
Knowles, M. (1980). The modern practice of adult education. New York: Cambridge.
The Adult Education Company
Krejcie R. V. and Morgan. D.W.(1970). Determining Sample Size for Research
Activities. Education and Psychological Measurement. 30, 607-610.
Wannawee Boonkoum, Wisud Po-Ngern, Manassanan Namsomboon. (2015).
“Development of Holistic Creative Learning Skills for Elderly People in
Rural Area of Thailand: Career Dimension” in ECSS: The European Conference
on the Social Sciences, 9-12 July, 2015, Brighton, United Kingdom, Official
Conference Proceedings, p. 149-162.