การพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวน จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

จุฑามาศ นันทะเนตร
จุฑารัตน์ สมบูรณ์ธรรม
ณัฐนันท์ สุขสงวน
เมธาวดี เถื่อนขวัญ
วุฒิชัย อารักษ์โพชฌงค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาขั้นตอนการดำเนินงานในการให้บริการด้านสาธารณสุข ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวน จังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการให้บริการด้านสาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวน จังหวัดชลบุรี 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการด้านสาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวน จังหวัดชลบุรี คณะผู้วิจัยได้ใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ             (Key Informant) จำนวน 13 คน ที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวน ซึ่งอาศัยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) ผลการวิจัยพบว่า


  1. ขั้นตอนการดำเนินงานในการให้บริการด้านสาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวน ดำเนินการให้บริการสาธารณสุขแบบผสมผสาน ทั้งด้านการบริการแบบเชิงรุกและเชิงรับ มีการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสภาพร่างกาย รวมทั้งการจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัวและสังคม

  2. สภาพปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการให้บริการด้านสาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวน คือ 1.ปัญหาด้านการขาดแคลนบุคลากร 2.ปัญหาด้านสถานที่ให้บริการ และ3.ปัญหาด้านความล่าช้าในการให้บริการ

  3. แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการด้านสาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวน ประกอบด้วย 4 แนวทาง คือ 1.การพัฒนาระบบคุณภาพ 2.การให้บริการแบบ One Stop Service 3.การให้บริการด้านสาธารณสุขเชื่อมระบบแม่ข่าย และ4.การจัดบริการและการแก้ปัญหาสาธารณสุขที่มีคุณภาพเชื่อมกับชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2552). คู่มือการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. นนทบุรี.
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และประชาธิป กะทา. (2551). สุขภาพปฐมภูมิบริการปฐมภูมิ. สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ.
คอลัมน์รายงานพิเศษ. (2552). เรื่องยกเครื่องครั้งใหญ่สถานีอนามัย/ศูนย์แพทย์ชุมชน,สุขศาลา. สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ 2,7, (2552) : 81 - 82.
จุฑามาศ ภู่ศร. (2556). ปัญหาในการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กรณีศึกษา : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไร่เก่า อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชนะดา วีรพันธ์. (2555). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชูชัย ศุภวงศ์ และคณะ. (2552). คู่มือการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
ธารินี แก้วจันทรา. (2556). ความพึงพอใจของลูกค้าต่อการให้บริการ ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขารัชดาภิเษก (ท่าพระ-ตากสิน). ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.
เทศบาลเมืองบ้านสวน. (2559). แผนพัฒนาสามปี พ.ศ.2559 - 2561 เพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลง ฉบับที่ 1เทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาขนวน. (2555). ขอบเขตหน้าที่ ประโยชน์ ภารกิจของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. [ออนไลน์] 7 ตุลาคม พ.ศ.2559, เข้าถึงจากhttp://nakhanaun.blogspot.com/p/blog-page_07.html
สุพัตรา สิทธิเสรี. (2552). การปรับระบบการบริหารภาครัฐด้านสาธารณสุข กรณีการยกฐานะสถานีอนามัยเป็น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.
ไสว ชัยบุญเรือง. (2555). คุณภาพการให้บริการผู้ใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
อลิสา ศิริเวชสุนทร. (2555). แนวทางการทำงานสร้างเสริมสุขภาพสำหรับเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข (สิงหาคม.2556) : 94 - 94