การประเมินความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับกิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านจริยธรรมการวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับกิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านจริยธรรมการวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การศึกษาระยะที่ 1 เป็นระยะกำหนดกรอบแนวคิดของการประเมินความต้องการจำเป็น พบว่านักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คาดหวังให้จัดกิจกรรมดังต่อไปนี้ คลินิกจริยธรรมการวิจัย การให้บริการถาม-ตอบทางอีเมล ทางโทรศัพท์ และทางเว็บไซต์ คาดหวังให้มีการบรรยายเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัย และการใช้โปรแกรม CITI program โดยต้องการให้สำนักงานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน สาขาสังคมศาสตร์ ประสานงานกับภาควิชาหรือ หลักสูตรที่รับผิดชอบหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นหน่วยงานหลักในการจัดกิจกรรม การศึกษาระยะที่ 2 เป็นระยะประเมินความต้องการจำเป็น นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แสดงความคิดเห็นว่า กิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านจริยธรรมการวิจัยที่ควรดำเนินการมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ การให้บริการถาม-ตอบทางอีเมล คิดเป็นร้อยละ 82.4 รองลงมาคือ การให้บริการถาม-ตอบในเว็บไซต์ คิดเป็นร้อยละ 79.0 และการให้บริการถาม-ตอบทางโทรศัพท์ คิดเป็นร้อยละ 65.5
ส่วนกิจกรรมที่ควรดำเนินการจัดเพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านจริยธรรมการวิจัยเป็นบางครั้ง 3 อันดับแรก ได้แก่ คลินิกจริยธรรมการวิจัยจัดโดยงานวิจัยและวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ในวันทำการ คิดเป็นร้อยละ 61.3 รองลงมาคือ คลินิกจริยธรรมการวิจัยแบบกลุ่มย่อย ตามภาควิชาต่าง ๆ คิดเป็นร้อยละ 58.8 และคลินิกจริยธรรมการวิจัยจัดโดยงานวิจัยและวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และในวันเสาร์-อาทิตย์ คิดเป็นร้อยละ 55.5
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
มาตรฐานของคณะกรรมจริยธรรมการวิจัยในคน สาขาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.
2558 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2).
คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา ฉบับปีการศึกษา 2557
คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน สาขาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2558).แนวทางการ
ดำเนินงานมาตรฐานของคณะกรรมจริยธรรมการวิจัยในคน สาขาสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2558 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2).
งานบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2558). ข้อมูล
นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2558
งานบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2558). รายชื่อ
ประธานหลักสูตร ปีการศึกษา 2559 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2559
งานวิจัยและวิชาการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2559). คลินิกการวิจัยและ
จริยธรรม. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2559 จาก
http://www2.ph.mahidol.ac.th/research/thai/Clinic/
ทิพวรรณ ประเสริฐอำไพสกุล. (2544). การเปรียบเทียบผลการประเมินความต้องการจำเป็นและ
การยอมรับในผลการประเมินของครูคณิตศาสตร์ระหว่างการประเมินความต้องการจำเป็นแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. (2559). จริยธรรมการวิจัยในคน. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน
2559 จาก http://www.grad.mahidol.ac.th/th/current-students/research.php
เบญจวรรณ มิ่งมนต์ชัยกุล. (2558). การวิเคราะห์ผลการพิจารณาของคณะกรรมการจริยธรรม
การวิจัยในคน สาขาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีต่อโครงการวิจัยที่เสนอขอรับ
การพิจารณารับรองจริยธรรมการวิจัยในคน. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล.
แผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2559-2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2559 จาก
http://www.op.mahidol.ac.th/orpl/assets/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A5-%E0%B8%9E.%E0%B8%A8.-2559-2562-new-10-%E0%B8%AA.%E0%B8%84.58.pdf
มนัญญา งามแสง. (2547). กลยุทธ์ทางเลือกในการพัฒนาทักษะการประเมินภายในสำหรับครู
อนุบาล: การประเมินความต้องการจำเป็นสมบูรณ์แบบโดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจและ
พหุเทศะกรณีศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวัดและ
ประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยมหิดล. (2558). หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง.
สืบค้นเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 จาก https://sp.mahidol.ac.th/newweb/company.html
ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยมหิดล. (2559). การเผยแพร่ความรู้ด้าน
จริยธรรมการวิจัยในคน. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2559 จาก
https://sp.mahidol.ac.th/newweb/teach.html
สุวิมล ว่องวานิช. (2541). รายงานการวิจัยเรื่อง การสังเคราะห์เทคนิคที่ใช้ในการประเมินความ
ต้องการจำเป็นในวิทยานิพนธ์ของนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอกสารอัดสำเนา.
สุวิมล ว่องวานิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หน่วยส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย (สำนักงานคณะกรรมการจริยธรรมฯ) คณะทันตแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2559). คลินิกปรึกษาการกรอกเอกสารเสนอขอรับรองจริยธรรม
การวิจัยในคน วันที่ 21 มีนาคม 2559 และ 28 มีนาคม 2559. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม
2559 จาก http://www.dt.mahidol.ac.th/th/images/news/news2558/new-457-2.jpg
หน่วยส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย (สำนักงานคณะกรรมการจริยธรรมฯ) คณะทันตแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2559). คลินิกปรึกษาการกรอกเอกสารเสนอขอรับรองจริยธรรม
การวิจัยในคน วันที่ 16 พฤษภาคม 2559 และวันที่ 30 พฤษภาคม 2559. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2559 จาก http://www.dt.mahidol.ac.th/th/images/news/news2558/new-526.jpg