ทุนนิยมชายเป็นใหญ่กับประสบการณ์การจัดการความอ้วนของผู้หญิง

Main Article Content

ปัทมา กวนเมืองใต้

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาระบบทุนนิยมชายเป็นใหญ่กับประสบการณ์การจัดการความอ้วนของผู้หญิงเพื่อสะท้อนให้เห็นระบบทุนนิยมชายเป็นใหญ่ที่มีผลต่อโครงสร้างชีวิตของผู้หญิงที่ถูกบีบบังคับให้ต้องลดความอ้วน ครอบคลุมเหตุที่มา รูปแบบและกระบวนการ รวมไปถึงความล้มเหลวในการจัดการความอ้วนของผู้หญิงภายใต้ระบบทุนนิยมชายเป็นใหญ่ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีพื้นที่ศึกษาคือ อุตสาหกรรมลดน้ำหนัก ในย่านธุรกิจการค้า ได้แก่ สยาม สีลม พระรามเก้า พระรามสี่ บางเขน ลาดพร้าว ศึกษาในกลุ่มผู้หญิงที่ทำงานภาคบริการ อายุ 2230 ปี จำนวน 10 คน โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ทฤษฏีสตรีนิยมสายสังคมนิยมในการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


          ผลการศึกษาพบว่าระบบทุนนิยมชายเป็นใหญ่ 1) บีบบังคับให้ผู้หญิงต้องจัดการกับความอ้วนในเรื่องงานที่นายจ้างมองคุณค่าการทำงานของผู้หญิงอยู่รูปลักษณ์ภายนอก ระบบเพศสัมพันธ์ที่ผู้ชายมีอำนาจกดขี่ผู้หญิง อุดมการณ์ความงามที่นำเสนอผ่านสื่อหรือกระแสแฟชั่น และการถูกกระทำความรุนแรงทางวาจาและกายที่ส่งผลให้ 2) ผู้หญิงมีรูปแบบและกระบวนการลดความอ้วนตั้งแต่ การอดอาหาร การทานอาหารคลีน การทานยาลดน้ำหนักและอาหารเสริม การออกกำลังกายในฟิตเนสเซนเตอร์ และการเข้าคลินิกเสริมความงาม ซึ่งเป็นวิธีการระบบทุนนิยมสร้างขึ้นมาแสวงหาผลกำไรจากผู้หญิงทำให้ 3) ผู้หญิงต้องพบกับความล้มเหลวในการลดความอ้วนของตน เนื่องจากสินค้าและบริการที่ใช้ในการลดความอ้วนมีราคาที่แพง สื่อและกระแสแฟชั่นสร้างอุดมการณ์ความสวยงามที่ผู้หญิงไม่สามารถทำให้เป็นจริงได้ ระบบเพศสัมพันธ์ที่ผู้ชายบีบบังคับให้ผู้หญิงยุติการลดความอ้วน และการทำงานในระบบทุนนิยมชายเป็นใหญ่ที่กดขี่ผู้หญิงจนไม่สามารถลดความอ้วนได้ ข้อเสนอแนะจากการวิจัยในครั้งนี้คือ สังคมต้องไม่ตีตราว่าความอ้วนของผู้หญิงเป็นปัญหา และต้องขจัดการจัดการความอ้วนของผู้หญิงที่ถูกเอารัดเอาเปรียบและไม่เป็นธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉัตรชนก บุญไชย (2544). การรับรู้รูปร่างและพฤติกรรมการลดน้ำหนักของวัยรุ่นหญิง.
วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (สาธารณสุข) สาขาโภชนวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล.
ไทยรัฐออนไลน์. (2557) .สถานการณ์โรคอ้วนในสังคมไทย [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2558 จาก http://www.thairath.co.th/content/430573
ไทยรัฐออนไลน์. (2557) . 'สาวใหญ่' ร้อง สคบ.เข้าคอร์สลด นน. กลับได้แผลเต็มหน้าท้อง
[ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2558 จาก http://www.thairath.co.th/content /471269
นาฤดี เด่นดวง (2552). อำนาจและความขัดแย้งบนร่างกายผู้หญิง สิทธิการเจริญพันธุ์และเพศสัมพันธุ์ของวัยรุ่น: แนวคิดสตรีนิยม. กรุงเทพ: รันนิ่ง พรีเพลส ซิสเต็ม.
ผู้จัดการออนไลน์. (2548). ธุรกิจลดน้ำหนักโตสวนกระแสอานิสงส์สุขภาพ-ฟาสต์ฟูดบูม.[ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2558 จาก http://www.manager.co.th/
iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9480000093073
ศิวพร อุดมสิน. (2541). การศึกษาบริการลดน้ำหนักตามการรับรู้ของผู้รับบริการที่สถานบริการลดน้ำหนักในกรุงเทพมหานคร .วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลอนามัยชุมชน. มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศิวรักษ์ กิจชนะไพบูลย์.(2555). พฤติกรรมการลดนํ้าหนักที่ไม่ถูกต้องของวัยรุ่นและเยาวชนไทย.
พยาบาลสารปีที่ 39 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2555:180-189
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (2549). เผยคนไทยติดยาแก้ปวดมากสุด – วัยรุ่นติดยาลดลดความอ้วนมากสุด. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 จาก http://www.hsri.or.th
/taxonomy/term/309
สถาบันสถิติแห่งชาติ. สถิติทางการสาขาแรงงาน เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2560
จาก http://164.115.22.198/statv2/bipage/Labor.html
หาหมอดอทคอม (2555) โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ และแพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์,2557. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 จาก http://haamor.com/th/โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน/#article101
Unhealthy.com. ออเร็กเซีย เนอร์โวซา (Anorexia nervosa) โรคคลั่งไคล้ความผอม
เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2559 จาก http://www.uhealthyway.com/2011/02/anorexia-nervosa.html
Hook, B. (2000). Feminism is for EVERYBODY Passionate Politics. Cambridge:
South End Press.
Walby, S. (1990) Theorizing Patriarchy. Cambridge: T.J.Press Ltd.