แนวทางการพัฒนาบุคลากรของสหวิชาชีพในการดำเนินงานด้านการป้องกันการค้ามนุษย์จากการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ

Main Article Content

สุนิษา ราชภัณฑ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานด้านการป้องกันการค้ามนุษย์จากการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศของทีมสหวิชาชีพ โดยเน้นการศึกษาในประเด็นทรัพยากรบุคคล (Human resource) เป็นสำคัญ และดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) ทั้งนี้ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informant) เป็นทีมสหวิชาชีพ จำนวน 5 สายวิชาชีพที่ดำเนินงานด้านการป้องกันการค้ามนุษย์จากการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย พนักงานอัยการ 3 ท่าน เจ้าหน้าที่ตำรวจ 5 ท่าน นักสังคมสงเคราะห์ 5 ท่าน นักจิตวิทยา 2 ท่าน และบุคคลที่เกี่ยวข้องและเหมาะสม 5 ท่าน รวมทั้งสิ้น 20 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลอย่างเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling)


ผลการศึกษาพบว่าปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานด้านการป้องกันการค้ามนุษย์จากการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศของทีมสหวิชาชีพ คือทรัพยากรมนุษย์ ดังนี้ 1. ด้านการมีทรัพยากรบุคคลไม่เพียงพอ 2. ด้านศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานไม่มีคุณภาพ และ3. มีการโอนย้ายของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานบ่อย ดังนั้นจึงควรมีแนวทางการพัฒนาและแก้ไขคือ 1. ด้านกำลังพลไม่เพียงพอควรขอรับการสนับสนุนบุคลากรจากหน่วยงานอื่น และมีการวางแผนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในด้านอัตรากำลังพลของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับจำนวนงานที่รับผิดชอบและขนาดขององค์กร 2. ด้านบุคลากรไม่มีคุณภาพ ควรพิจารณารับบุคลากรเข้าทำงานให้มีวุฒิการศึกษา ความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ตรงตามสายงานที่จะรับผิดชอบ และควรให้การฝึกอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพ ความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นการตีความความหมายของผู้เสียหายจากการถูกค้ามนุษย์ในรูปแบบถูกบังคับค้าประเวณี รูปแบบถูกแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ รูปแบบถูกแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น และการค้าประเวณี และ3.ด้านการโยกย้าย โอนย้ายของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานบ่อย ควรมีการเพิ่มขวัญและกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานโดยการเพิ่มอัตราเงินเดือนและการเลื่อนตำแหน่ง เพื่อเป็นการธำรงรักษา (Maintaing) ผู้มีความรู้ความสามารถที่เป็นกำลังสำคัญขององค์การให้อยู่กับองค์กรด้วยความเต็มใจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์. (2557). รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ประจำปี 2557.
ไกรยุทธ ธีรตยาคีนันท์. (2531). แนวพระราชดำริด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ : สถาบันไทยศึกษา และฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชนะทิศ แก้วอัมพร. (2538).ลักษณะสภาพแวดล้อมทางกายภาพในกรุงเทพมหานคร ที่เอื้ออำนวยให้เกิดคดีอาชญกรรม : กรณีศึกษา เขตสถานีตำรวจนครบาลพญาไท. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เชาว์ โรจนแสง.(2554). เอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หน่วยที่ 1-7, พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
ฐานวัตน์ พรนิธิดลวัฒน์. (2552). ลักษณะการปฏิบัติงานและปัญหาอุปสรรคของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานร่วมกับสหวิชาชีพตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 กรณีศึกษาผู้ปฏิบัติงานของบ้านพักเด็กและครอบครัวทั่วประเทศ. สารนิพนธ์สังคมศาสตร์มหาบัณฑิต, ภาควิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปานทอง ศรีทะวงศ์. (2551). ปัญหาและอุปสรรคของเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปรามการกระทำความผิดต่อเด็ก เยาวชน และสตรี ในการปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตม สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.
ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2537). อาชญาวิทยา : สหวิทยาการว่าด้วยปัญหาอาชญากรรม. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
พยอม วงศ์สารศรี. (2528). องค์กรและการจัดการ (Organization & management) . กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์พรานนกการพิมพ์.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). ทศวรรษธรรมทัศน์พระธรรมปิฎกหมวดศึกษาศาสตร์.กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2548).การจูงใจและการเสริมแรงพฤติกรรมองค์กร. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัทธรรมสารจํากัด.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2545). การบริหารเมืองหลวงและการบริหารท้องถิ่น: สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โฟร์เพซ.
วิรัช อุดมทรัพย์ปัญญา. (2554). ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของส่วนโยธา องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และ สมชาย หิรัญกิตติ. (2545). องค์การและการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัท ธรรมสาร จำกัด.
สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมุ่นคงของมนุษย์. (2550). หลักสูตรฝึกอบรมพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญํติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการสตรีและครอบครัว.
สุดสงวน สุธีสร. (2554). อาชญาวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมคิด บางโม. (2545). การบริหาร. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.
สุรชาติ หวังจิตต์. (2546). บทบาทของตำรวจชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ศึกษากรณี กองบังคับการตำรวจนครบาล 8. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารงานยุติธรรม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุริยา เกษมสิริสวัสดิ์. (2550). ผลการปฏิบัติงานของทีมสหวิชาชีพในการช่วยเหลือหญิงและเด็กที่เป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ภายใต้ข้อตกลงร่วมระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเขต 9 จังหวัดภาคเหนือ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Gulick Luther and Urwich Lundall. (1937). Paper on the Science of Administration. Institute of public Administration. New York
ILO , S. (.-F. (2012). ILO 2012 Global Estimate of Forced Labour. Switzerland: ILO. Retrieved 2016
Ko-lin Chin and James O. Finckenauer. (2012). Selling Sex Oversea: Chinese women and the realities of prostitution and global sex trafficking. New York University Press, United State of America
United Nations Office on Drugs and Crime. (2014). Global report on trafficking in persons 2014. United Nations New York. E.14.V.10. Retrieved 2016, from www.unodc.org: https://www.unodc.org/documents/data-and-analysis/glotip/GLOTIP_2014_full_report.pdf
U.S. Department of State Publication Office of the Under Secretary for Civilian Security Democracy and Human Rights. (2016). Trafficking in Persons Report 2016. A/AIS/GPS