การสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายยุติธรรมทางเลือกด้วยวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาลชั้นต้นไปปฏิบัติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายยุติธรรมทางเลือกด้วยวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาลชั้นต้นไปปฏิบัติ เป็นการสังเคราะห์องค์ความรู้ในเชิงคุณลักษณะ (Qualitative synthesis) คือทบทวนแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่หนึ่ง ทบทวนวรรณกรรมที่เป็นแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับตัวแบบการนำนโยบายไปปฏิบัติ ขั้นตอนที่สอง ทบทวนวรรณกรรมที่เป็นงานวิจัยและวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการนำนโยบายยุติธรรมทางเลือกไปปฏิบัติ โดยเลือกศึกษาเฉพาะวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทจากทั้งในและต่างประเทศ ขั้นตอนที่สาม นำผลการสังเคราะห์องค์ความรู้ที่ได้จากขั้นตอนที่หนึ่งและสองมาสร้างเป็นกรอบแนวความคิด และนิยามความหมายของตัวแปรในบริบทของศาลชั้นต้น
ผลการสังเคราะห์องค์ความรู้ พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายยุติธรรมทางเลือกด้วยวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไปปฏิบัติมี 8 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยวัตถุประสงค์ของนโยบาย ปัจจัยทรัพยากร ปัจจัยการสื่อสารระหว่างองค์กร ปัจจัยลักษณะขององค์กร ปัจจัยด้านผู้ประนีประนอม ปัจจัยด้านคู่ความ ปัจจัยด้านกระบวนการการไกล่เกลี่ย และปัจจัยทัศนคติของผู้ปฏิบัติ ส่วนข้อเสนอแนะที่ได้จากการสังเคราะห์องค์ความรู้ คือ ควรมีการศึกษาวิจัยในเรื่องประสิทธิภาพในการสรรหา การแต่งตั้ง คุณสมบัติ และการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประนีประนอมจากภายนอก
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
จักรกริญน์ ทอดสูงเนิน. (2557).ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน กรณีศึกษา ศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 40(1), 98-113.
ประสิทธิ์ ดวงตะวงษ์. (2553).ประสิทธิผลกระบวนการสร้างและพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยและการดำเนินงานของศาลยุติธรรมไทย. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
เปรมมิศา หนูเรืองงาม. (2556).การพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางเลือก : กรณีศึกษาการนำกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเชิงบังคับมาใช้ในประเทศไทย. วารสารกระบวนการยุติธรรม, 6(2),101-117.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2549).การประเมินประสิทธิภาพของระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาล. กรุงเทพฯ : ที แอนด์ เค พริ้นติ้ง.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2546). รายงานการวิจัยของสำนักงาน- ศาลยุติธรรม: การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาลกับการช่วยลดภาระการบริหาร- จัดการคดี. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ยงยุทธ ศักดิ์ชัยพาณิชกุล. (2556). การนำนโยบายยุติธรรมทางเลือกด้วยวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไปปฏิบัติของสำนักงานอัยการสูงสุดไทย.ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(รัฐประศาสนศาสตร์), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วชิราพรรณ นามโลมา. (2549). ปัญหาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศาลจังหวัดร้อยเอ็ด. การศึกษาค้นคว้าอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศุภณัฏฐ์ สัตยาภิวัฒน์และคณะ. (2557).ประสิทธิผลการบริหารงานระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศาลยุติธรรมตามหลักธรรมภิบาล. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 8(3),130-151.
สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม. (2557). กรอบความเห็นร่วม ปฏิรูปประเทศไทย ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม. ค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2559 จาก https://issuu.com/uthaisakyutthapan /docs/issue3-law-justicereform.
สำนักงานศาลยุติธรรม. (2558). รายงานสถิติคดีศาลยุติธรรมทั่วราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ.2558.กรุงเทพฯ : ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง.
สำนักงานศาลยุติธรรม.(2557).แผนยุทธศาสตร์ศาลยุติธรรม พ.ศ.2557-2560. ม.ป.พ.
สำนักระงับข้อพิพาท. (2547). คู่มือการระงับข้อพิพาทสำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ: สำนักระงับข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรม.
อัครศักย์ จิตธรรมมา (2551). การพัฒนาระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาลยุติธรรมของประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(รัฐประศาสนศาสตร์), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อิงครัตน์ ศรีไพโรจน์. (2555). ประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประนีประนอมประจำศาลจังหวัดจันทบุรี. ภาคนิพนธ์ บริหารธุกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
Alexander, E. R. (1985). From idea to action notes for a contingency theory of the policy implementation process. Administration & Society, 16(4), 403-426
Cheema, D. & Rondinelli, A. (1980). Reinventing Government for the Twenty-First Century: State Capacity in a Globalizing Society. New York: McGraw-Hill.
Fiadjoe, A. (2006). Alternative dispute resolution: A developing world perspective. London: Cavendish Publishing.
Gorge, C. E. (1980). Implementing public policy. Politics and public policy series. Congressional Quarterly Press. New York: Alfred A. Knopf.
Hambleton, R. (1983). Planning Systems and Policy Implementation. Journal of Public Policy, 3(4), 397-418.
Hazelkon, M. & Packard, A. L. (2008). Alternative dispute resolution in special education. Carrollton, GA: University of West Georgia Press.
Mohamed, Askgar Ali Bin Ali. (2008). Mediation in the industrial court of Malaysia. Asian Journal of Mediation, 4(23), 75-76.
Pearson, J. & Thoennes, N. (1989). Divorce mediation: Reflections on a decade of research. In K. Kressel, & D. G. Pruitt (eds), Mediation research: The process and effectiveness of third-party intervention (pp. 9-30). San Fransico, CA: Jossey-Bass.