การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันอาชญากรรมด้านยาเสพติด : กรณีศึกษา ประชาชนในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ใน จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ณัฐพงศ์ ปัญญากาญจน์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยภูมิหลัง ปัจจัยการตระหนักในโทษของยาเสพติด ปัจจัยความผูกพันกับชุมชนที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันอาชญากรรมด้านยาเสพติด ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม จำนวน 272 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random Sampling )โดยการจับฉลาก


ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยภูมิหลัง ที่เป็นด้านระยะเวลาที่อาศัยในชุมชน (p-value=0.002) สถานภาพทางสังคม(สมรสและอยู่ด้วยกัน) (p-value=0.000)  การศึกษามัธยมศึกษาปลายหรือเทียบเท่า (p-value=0.001) ปริญญาโทหรือสูงกว่า (p-value=0.002)  อาชีพเกษตรกรรม                   (p-value=0.007) มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันอาชญากรรมด้านยาเสพติดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อเพิ่มตัวแปรอิสระในส่วนของการตระหนักในโทษของยาเสพติดและความผูกพันกับชุมชนเข้ามาวิเคราะห์ร่วมด้วย พบว่า สถานภาพทางสังคม(สมรสและอยู่ด้วยกัน) (p-value=0.007) การศึกษามัธยมศึกษาปลายหรือเทียบเท่า (p-value=0.032) ปริญญาโทหรือสูงกว่า (p-value=0.009)  อาชีพเกษตรกรรม (p-value=0.006) รวมถึงการตระหนักในโทษยาเสพติด (p-value=0.035) และความผูกพันกับชุมชน (p-value=0.000) มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันอาชญากรรมด้านยาเสพติดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ซึ่งตัวแปรที่กล่าวมาในข้างต้น สามารถพยากรณ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันอาชญากรรมด้านยาเสพติดได้ถึง ร้อยละ 51.5

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรภิรมย์ บุญญฤทธิ์. (2527). การศึกษาความร่วมมือของชุมชนต่อการป้องกันอาชญากรรมในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
จุติมา พรหมศร. (2556). ทฤษฎีหน้าต่างแตก หรือ ทฤษฎีกระจกแตก (Broken Windows Theory). ค้น เมื่อ 10 ธันวาคม 2558. จาก https://www.gotoknow.org/posts/425548
จินตวีร์ เกษมศุข. (2554). การสื่อสารกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน. (2555). นวัตกรรมกระบวนทัศน์ การป้องกันอาชญากรรมของตำรวจไทยในศตวรรษที่21. นนทบุรี: บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.
ชลิตา กลิ่นเชย. (2559). แก้ปัญหายาเสพติดในครอบครัวและสถานศึกษา. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2558. จาก สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://nwnt.prd.go.th
ชัชฤทธิ์ ขาวสุวรรณ. (ม.ป.ป). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม ในเขต สถานีตำรวจภูธรไชยา อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัย ทักษิณ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. (2549). การศึกษาสาเหตุและแนวทางการแก้ปัญหาการทะเลาะวิวาท ของนักเรียนอาชีวศึกษาเอกชน.
มีนา. (2556). ปัญหาอาชญากรรม. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2558. จาก http://meeenaja.blogspot.com/ 2013/08/blog-post_5400.html
วรัญญู บุญลือ. (2558). อบรมโครงการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งตามพื้นที่ชายแดนจังหวัดตาก. ค้น เมื่อ 4 ธันวาคม 2558. จาก สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://nwnt.prd.go.th
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2554). การประชุมสำนักงานเลขาวุฒิสภา 3 มิถุนายน2554. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2558. จาก http://www.senate.go.th/senate/report_detail.php?report_id=17
สังคมวิทยา. (ม.ป.ป). ความไม่เป็นระเบียบของสังคม (Social Disorganization). ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2558. จาก http://www.baanjomyut.com/library/social_sciences/38.html
สุดสงวน สุธีสร. (2546). อาชญาวิทยาและงานสังคมสงเคราะห์. พิมพลักษณ์ กรุงเทพฯ : สำนัก พิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Hirschi, T. (1969). Causes of Delinquency. Berkeley, University of California Press.