ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมและวัฒนธรรมองค์การกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของกรมจเรทหารบก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม วัฒนธรรมองค์การ และองค์การแห่งการเรียนรู้ของกรมจเรทหารบก 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมและวัฒนธรรมองค์การกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของกรมจเรทหารบก โดยใช้แบบสอบถามรวบรวมข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงานในกรมจเรทหารบก จำนวน 115 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย วิเคราะห์ความสัมพันธ์ใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน เพื่อนำมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมและวัฒนธรรมองค์การกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นของภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของกรมจเรทหารบกโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (4.06) ระดับวัฒนธรรมองค์การของกรมจเรทหารบกโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (3.85) ระดับองค์การแห่งการเรียนรู้ของกรมจเรทหารบกโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (3.79) และผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์พบว่า ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับองค์การแห่งการเรียนรู้ของกรมจเรทหารบกโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (r = .62**) และวัฒนธรรมองค์การมีความสัมพันธ์กับองค์การแห่งการเรียนรู้ของกรมจเรทหารบก โดยรวมอยู่ในระดับสูง (r = .92**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2544). การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพฯ: กราฟิคฟอร์แมท.
พิรัช จำรัสแนว. (2553). วัฒนธรรมโรงเรียน : กรณีศึกษาโรงเรียนโนนคูณวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาชัยภูมิเขต 2 . วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
พรทิพย์ ไชยประณิธาน. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของวัฒนธรรมองค์การและการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี.
พรสินทร์ กาญจนพัชชี. (2551). การศึกษาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในองค์กรภาครัฐและเอกชน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(รัฐประศาสนศาสตร์), มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม.
ราชกิจจานุเบกษา. (2546). พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ.
วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2541). TQM คู่มือสู่องค์กรคุณภาพยุค 2000. กรุงเทพฯ: ทีพีเอพับลิชซิ่ง.
สกล บุญสิน. (2555). การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ของธุรกิจการให้บริการ กรณีศึกษา บริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน). คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปีที่ 35.
สุนทร วงศ์ไวศยวรรณ. (2540). วัฒนธรรมองค์การ : แนวคิดงานวิจัยและประสบการณ์. กรุงเทพฯ :
โฟร์เพช.
สนธิ ไสยคล้าย. (2555). ภาวะผู้นำและองค์การแห่งการเรียนรู้ของเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(รัฐประศาสนศาสตร์), มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม.
Cameron, K. (2008).A process for changing organizational culture.In Thomas G. Cummings (Ed.) Handbook of Organizational Development. (pages 429-445) Thousand Oaks, CA: Sage.
Dension. (1990), Corporate Culture and Organizational Effectiveness, New York: Wiley.
Gibson, James L., Ivancevich, John M. and Donnelly, James H., Jr. (1997). Organizations, Behavior Structure Processes. International Edition. United States of America : Irwin/McGraw-Hill.
Gregory,P.2010. Ethical leadership. In Training Journal (Online). www.trainingjournal.com/feature/09-2010-ethical-leadership/,November 28,2012.
Hoy & Miskel. (2008). Educational Administration: Theory, Research, and Practice. New York: McGraw-Hill.
Kalshoven, K.,D.N.Den Hartog, and A.H.B. De Hoogh.2011. “Ethical leadership at work questionnaire(ELW): Development and validation of a multidimensional measure. “The Leadership Quarterly 22: 51-49.
Schein, H. Organization Culture and Leadership. 2nd ed. San Francisco : Jossey–Bass, 1992.
Senge, P., Kleiner, A., Roberts, C., Ross, R., Roth, G. and Smith, B. (1999) The Dance of Change: The Challenges of Sustaining Momentum in Learning Organizations, New York: Doubleday/Currency).
Senge, P. M. (2006). The fifth discipline: The art and practice of the learning organization. New York, NY: Currency Doubleday.
Watkins, K. and Marsick, V. (eds.) (1993) Sculpting the Learning Organization. Lessons in the art and science of systematic change, San Fransisco: Jossey-Bass.