ความสุขในการทำงาน การสนับสนุนทางสังคม ที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความสุขในการทำงานระดับการสนับสนุนทางสังคมและ ระดับประสิทธิภาพในการทำงาน 2) อิทธิพลของความสุขในการทำงานและการสนับสนุนทางสังคมที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พยาบาลจำนวน 208 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสมการถดถอยเชิงพหุ
ผลการศึกษา พบว่า 1) ความสุขในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า คะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงทุกด้าน โดยพบว่าการเป็นที่ยอมรับมีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านความสำเร็จในงาน ด้านการติดต่อสัมพันธ์ และด้านความรักในงาน ตามลำดับ การสนับสนุนทางสังคมโดยรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าคะแนนเฉลี่ย ทุกด้านอยู่ในระดับสูง โดยด้านการสนับสนุนด้านวัตถุสิ่งของหรือบริการมีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือด้านการสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร และด้านการสนับสนุนด้านอารมณ์ ประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาล โดยรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าค่าเฉลี่ย ประสิทธิภาพในการทำงานทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับสูง เรียงตามลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านการให้บริการอย่างก้าวหน้ามากที่สุด รองลงมาคือด้านการให้บริการอย่างรวดเร็วและทันเวลา ด้านการให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน และคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางจำนวน 1 ด้าน คือ ด้านการให้บริการอย่างเพียงพอ 2)พบว่าประสิทธิภาพในการทำงาน = 2.434 + 0.2986 (การสนับสนุนทางสังคม) + 0.0475 (ความสุขในการทำงาน) โดยสมการนี้สามารถอธิบายประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลได้ร้อยละ 18.3 (R2 = 0.183)
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
กสิตา งามวงศ์วาน. (2553). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพยาบาลโรงพยาบาล ชลบุรี จังหวัดชลบุรี. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี.
จงจิต เลิศวิบูลย์มงคล และยุพิน อังสุโรจน์. (2547). ปัจจัยส่วนบุคคล การได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ กับความสุขในการทำงานของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. วารสารสภาการพยาบาล 19(2): 26-38
ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2548). การบริหารราชการแนวใหม่: บริบทและเทคนิควิธี. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
ปฏิพัทธ์ วงศ์อนุการ. (2551) .การสนับสนุนทางสังคม ความเชื่อในการควบคุมตนเองและ ความเครียด ในการทำงานของพนักงานสำนักงานประกันสังคม . วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์
ประทุมทิพย์ เกตุแก้ว. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณลักษณะงาน ความสามารถในการ เผชิญ และฟันฝ่าอุปสรรค กับความสุขในการท างานของพยาบาลงานการพยาบาลผ่าตัด: กรณีศึกษาโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชา จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เนตรสรรค์ จินตนาวลี. (2553). ความสุขในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลสมุทรสาคร.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2556). การจัดการภาครัฐแนวใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).
ลักษมี สุดดี. (2550).ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงาน การสนับสนุนทางสังคม ความ ยึดมั่นผูกพันต่อองค์การกับความสุขในการทำงานของพยาบาลประจำการโรงพยาบาล ทั่วไป เขตภาคกลาง.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหาร การพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิมลวรรณ ศิริวงศ์. (2548). การสนับสนุนทางสังคมและการเสริมสร้างพลังอำนาจของหัวหน้าผู้ป่วย ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ: กรณีศึกษาโรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุกัญญา อินต๊ะโดด. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การความ ต้องการมีส่วนร่วมในองค์การและความสุขในการทำงาน:กรณีศึกษาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ในเขตภาคเหนือตอนบน.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาจิตวิทยา อุตสาหกรรมและองค์การ. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยรามค้าแหง.
สถิต คําลาเลี้ยง. (2544). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของช่างอากาศ: ศึกษาเฉพาะกรณี กองการปืนทหารเรือ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขารัฐศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Diener, E. 2000. Subjective Well-Being: The science of happiness and proposal for a national
index. The American Psychologist Association 1(2): 34-43.
Gardulf A, Orton M, Erisksson LE, Unden M, Arnetz B, Kajermo KN, & Nordstrom G. 2008. Factors of importance for work satisfaction among nurses in a university hospital in Sweden. Scand. J Caring Sci ;22:151-60.
Manion, J. O. 2003. Joy at work: Creating a positive workplace. Journal of Nursing Administration(12): 652-655
Schaefer, C.; Coyne, J. C. and Lazarus, R. S. 1981. The Health Related Functions of Social Support. Retrieved August 22, 2010 from www.blackwell – synergy.com
Thoits, P. A. 1986. Social Support as Coping Assistance. Journal of Consulting and Critical Psychology. 54: 416 - 423.
Van der Doef M, Mbazzi FB, Verhoeven C. 2012. Job conditions, job satisfaction, somatic complaints and burnout among East African nurses. Journal of Clinical Nursing ; 21: 1763-75.