การพัฒนาศักยภาพผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อก้าวไปสู่ AEC อย่างยั่งยืน

Main Article Content

จันทนา อินทฉิม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะการสื่อสารและทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อก้าวไปสู่ AEC อย่างยั่งยืนใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 212 วิธีวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test,และ F-testผลการศึกษาพบว่า


           1.การพัฒนาทักษะการสื่อสาร (1) ด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารพบว่า ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรปราการส่วนใหญ่มีความต้องการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ด้านการฟังด้านการพูดด้านการอ่าน และด้านการเขียน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( =3.47 S.D.1.07) ด้านคำศัพท์ คิดคำศัพท์ไม่ออกขณะพูด ไม่รู้ความหมายของคำศัพท์และไม่สามารถเลือกใช้คำศัพท์ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ (2) ด้านภาษาและวัฒนธรรมไทย พบว่า ส่วนใหญ่มีความต้องการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาและวัฒนธรรมไทย อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย( = 3.81 S.D. 1.19) เกี่ยวกับการฟังข่าวสารสถานการณ์บ้านเมือง การพูดในที่สาธารณะ การเขียนจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การอ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์


  1. การพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศพบว่า ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรปราการส่วนใหญ่มีความต้องการพัฒนาทักษะการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการค้นหาข้อมูล ด้านการวิเคราะห์และประเมินผล ด้านการสื่อสารกัน และด้านการเก็บรวบรวมข้อมูลอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย ( = 3.41 S.D. 1.08) เกี่ยวกับการค้นหาข้อมูลข่าวสารผ่านอินเทอร์เน็ตบนคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์ประเมินผลข้อมูลด้วยโปรแกรมเอ็กเซล (Excel) การสนทนากลุ่ม หรือแชทผ่านอินเทอร์เน็ต การเก็บข้อมูลลงแฟลซไดร์ฟ

  2. ผลการทดสอบสมมติฐานความต้องการพัฒนาทักษะการสื่อสาร และทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรปราการ ด้านเพศมีความต้องการพัฒนาไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาด้านอายุ ระดับการศึกษา หน่วยงานที่สังกัด และตำแหน่งที่แตกต่างกันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ข้อเสนอแนะของการวิจัยครั้งนี้ หน่วยงานที่รับผิดชอบควรจัดให้มีการอบรม การสัมมนา ทักษะการสื่อสาร และทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กำหนดแนวทางและทิศทางในการจัดการความรู้ในแต่ละด้านมาบูรณาการให้เกิดประโยชน์อย่างชัดเจนและควรนำผลที่ได้จากการวิจัย มาเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรปราการเพื่อก้าวไปสู่ AEC อย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2536). การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง.
กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาเทคนิคศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ. (2540). แผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการ (พ.ศ.2540-2544).
กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ สำนักงาน ก.พ.
ทองทิพภา วิริยะพันธุ์. (2550). มนุษยสัมพันธ์กับการบริหาร. กรุงเทพฯ : อินฟอร์มีเดีย บุ๊คส์.
ระวีวัฒน์ สิริภูบาล กับกฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2544).เทคโนโลยีเทคนิคศึกษา. กรุงเทพ ฯ. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
วันเพ็ญ เรืองรัตน์. (2549). การจัดการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการ
เขียน ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
จังหวัด ฉะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอน
ภาษาอังกฤษ). บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2550). ความรู้เกี่ยวกับการอ่าน. เอกสารการสอนชุดวิชา การอ่านภาษาไทย หน่วยที่ 1-8. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุรินทร์ พิศสุวรรณ. (2556). Asean อาเซียน รู้ไว้ได้เปรียบแน่. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อัมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์ จำกัด.
โสภิษฐ์ อ่อนแก้ว. (2550). วิจัยเรื่อง การออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการความรู้สำหรับองค์ภาครัฐ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
อรนุช มหฤทัยนนท์. (2545). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อรุณี วิริยะจิตรา และคณะ. (2554). เหลียวหน้าแลหลัง การสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ : บริษัท ส.
เอเซียเพลส (1998) จำกัด.
Anderson, N. J. (2003). Active Skills for Reading Student Book 3, 4. Thomson
Corporation Singapore: Heinle.
Carrell, P. L., Devine, J. & Eskey, D. F. (1989). Interactive approaches to second
language reading. Cambridge: Cambridge University Press.
Gordon, B. D. (1999). The blackwell encyclopedic dictionary of management information systems. San Francisco: Wiley-Blackwell.
Kamhi-Stein, Lia D. (2003). Reading in two languages. How attitudes toward home
language andbeliefs about reading affect the behaviors of “Underprepared” L2
College reading. TESOL QUATERLY
Lundsteen ,Sara W.(1990)“Learning to listen and learning to read.” In Prespectives on
Talk and learning. Edited by S. Hynds and D.J. Rubin. Lllinois : National Council
of Teachers of English Urbana.
Likert, R. (1961). New patterns of management. New York: McGraw-Hill.301
Littlewood. W. (1995). Communicative Language Teaching. Cambridge: Cambridge University Press.
Miles, M. B., & Huberman, A. M. (1994). Qualitative data analysis:A sourcebook of new methods. Beverly Hills, CA: Sage.
Read, J. (2001). Writing. In R. Carter & D. Nunan (Eds.) The Cambridge guide to teaching English to speakers of other languagers. New York : Cambridge Unicersity Press.
Yin, R. K. (2003). Case study research: Design and methods(3rd ed). Thousand Oaks, CA: Sage.