การพัฒนารูปแบบกิจกรรมท่องเที่ยววิถีไทยสร้างสรรค์เส้นทางกาญจนบุรี-ทวาย

Main Article Content

วรรณวีร์ บุญคุ้ม
พจนา บุญคุ้ม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  ศึกษาเส้นทางท่องเที่ยววิถีไทยสร้างสรรค์  2) ศึกษากิจกรรมการท่องเที่ยววิถีไทยสร้างสรรค์ 3) พัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยววิถีไทยสร้างสรรค์ และ 4) หาข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยววิถีไทยสร้างสรรค์ เส้นทางกาญจนบุรี-ทวาย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา (R&D) ในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยววิถีไทยในเขตจังหวัดกาญจนบุรีบนเส้นทางสู่ทวาย กลุ่มตัวอย่างคือนักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่จำนวน 400 คน รวมทั้งผู้ให้ข้อมูลหลักคือ นักวิชาการ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และผู้นำชุมชนที่อยู่ในพื้นที่จำนวน 11 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสอบถาม สัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม ผลที่ได้จากการศึกษาพบว่า 1) เส้นทางท่องเที่ยวที่สำคัญ 2 เส้นทางคือ เส้นทางเมืองกาญจนบุรี-ช่องเขาขาด  และเส้นทางอุทยานประวัติศาสตร์ – บ้านน้ำพุร้อน 2) กิจกรรมท่องเที่ยววิถีไทยสร้างสรรค์บนเส้นทางกาญจนบุรี-ทวาย พบว่า เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องราวทางด้านประวัติศาสตร์ในสมัยสงครามโลก และสถานที่ที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ของไทย รวมถึงการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเรื่องราวและวิถีชีวิตของผู้คนในอดีต  3) รูปแบบกิจกรรมท่องเที่ยววิถีไทยสร้างสรรค์เส้นทางกาญจนบุรี-ทวายที่สร้างและพัฒนาขึ้นคือ Thai-Tavoy Mode และ 4)  ข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยววิถีไทยสร้างสรรค์ที่สำคัญคือ ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยววิถีไทย ส่งเสริมการเรียนรู้และการสืบทอดเรื่องราวของศิลปวัฒนธรรมไทยที่มีอยู่ในท้องถิ่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2546). เอกสารชุดฝึกอบรมทางไกลหลักสูตรการจัดการการ
ท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
------------. (2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ:
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2552). การส่งเสริมการลงทุนธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศไทย.
กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประทศไทย.
เกรียงไกร วัฒนาสวัสดิ์. (2556). ความเห็นและพฤติกรรมนักท่องเที่ยวต่อความจริงแท้ในการ
จัดการการท่องเที่ยวเชิงโหยหาอดีต: กรณีศึกษาชุมชนตลาดสามชุกร้อยปี จังหวัด
สุพรรณบุรี. วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชูเกียรติ นพเกตุ. (2542). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. เชียงราย: คณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ดลฤทัย โกวรรธนะกุล. (2552). การสื่อความหมายมรดกวัฒนธรรมผ่านการท่องเที่ยวชุมชนของ
หมู่โนนเสลา อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์การ
ท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. ปี 2552 ฉบับที่ 1 หน้า 1-13.
ทรงคุณ จันทจร และคณะ. (2552). คุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นกับการนำมา
ประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิง
วัฒนธรรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้. มหาสารคาม:
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทิพวรรณ พุ่มมณี. (2550). อุตสาหรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัย
รามคำแหง.
เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2550). การท่องเที่ยวโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน... จุดเริ่มต้นของการพัฒนา
อย่างยั่งยืน ใน การประชุมเทศกาลการท่องเที่ยวไทย. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่ง
ประเทศไทย.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: เพรส แอน
ดีไซน์ จำกัด.
ประพัทธ์ชัย ไชยนอก. (2554). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษาบ้าน
ด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: โครงการท่องเที่ยวเพื่อ
ชีวิตและธรรมชาติ.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2544). อุตสาหกรรมท่องเที่ยว. นนทบุรี: มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช.
รชพร จันทร์สว่าง. (2546). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการท่องเที่ยว. นนทบุรี: โรงพิมพ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ราณี อิสิชัยกุล. (2546). เอกสารชุดฝึกอบรมทางไกล หลักสูตรการจัดการการท่องเที่ยวชุมชน
อย่างยั่งยืน. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วรรณา วงษ์วานิช. (2546). ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์.
วีรพล ทองมา. (2554). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของชุมชนชาวจีนใน
พื้นที่ลุ่มน้ำแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2554). นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับ
ที่ 8 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
Richards, G. and Raymond, C. (2000). Creative tourism. ATLAS News. No. 23. pp.
16-20.
Stronza, A. (2007). The economic promise of ecotourism for conservation. Journal of
ecotourism. 6 (3), 210-230.
World Tourism Organization. (1997). Tourism 2020 vision. Madrid: World Tourism
Organization.