ปัจจัยภายในองค์การที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการนำนโยบายสินเชื่อรายย่อยเพื่อผู้ประกอบอาชีพ(Nano – Finance) ไปปฏิบัติของธนาคารออมสินในจังหวัดนครปฐม

Main Article Content

พัชรนันท์ เติมมี

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลสำเร็จในการนำนโยบายสินเชื่อรายย่อยเพื่อผู้ประกอบอาชีพ (Nano – Finance) ไปปฏิบัติของธนาคารออมสินในจังหวัดนครปฐม2) เพื่อศึกษาปัจจัยภายในองค์การที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของธนาคารออมสินภายในจังหวัดนครปฐมในการนำนโยบายสินเชื่อรายย่อยเพื่อผู้ประกอบอาชีพไปปฏิบัติ  การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยเก็บข้อมูลจากผู้บริหารและบุคลากรของธนาคารออมสิน จำนวน 12 สาขา จำนวน 149 คน และวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ด้วยสถิติพรรณนา  ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย วิเคราะห์หาค่าความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์ Pearson Correlation  และวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)


ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสำเร็จในการนำนโยบายสินเชื่อรายย่อยเพื่อผู้ประกอบอาชีพไปปฏิบัติของธนาคารออมสิน อยู่ในระดับสูงมาก(4.26) โดยมีปัจจัยภายในองค์การ4 ด้าน ได้แก่ 1. การสื่อข้อความ(4.40)  2. ทรัพยากร (4.21)  3. ทัศนคติของผู้ปฏิบัติงาน (4.21)  และ 4.โครงสร้างองค์กร (4.22) 2) ระดับปัจจัยภายในองค์การที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของธนาคารออมสินในการนำนโยบายสินเชื่อรายย่อยเพื่อผู้ประกอบอาชีพไปปฏิบัติ  โดยปัจจัยภายในองค์การทั้ง 4 มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของการนำนโยบายสินเชื่อรายย่อยเพื่อผู้ประกอบอาชีพไปปฏิบัติของธนาคารออมสินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีความสัมพันธ์ในระดับที่น้อยหรือต่ำทั้งหมด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สกนธ์ ชุมทัพ. (2554). การนำนโยบายสาธารณะสู่การปฏิบัติ : เรียนฟรี15ปี อย่างมีคุณภาพกระทรวงศึกษาธิการเอกสารขอรับการประเมิน. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
ประณยา ชัยรังษี. (2556). การนำนโยบายการพัฒนาสังคมไปปฏิบัติ : กรณีศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
อมรรัตน์ ผิวทอง. (2551). การนำนโยบายโครงการคาราวานแก้จนไปปฏิบัติ : กรณีศึกษาอำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท. ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา .
รัฐกร กลิ่นอุบล. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายการบริหารบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ :กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลในภาคกลาง. ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ
ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2548). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2555). นโยบายสาธารณะ แนวความคิด การวิเคราะห์และกระบวนการ. กรุงเทพฯ : เสนาธรรม
วรเดช จันทรศร. (2554). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สมาคมนักวิจัยแห่งประเทศไทย
อิทธิชัย สีดำ. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ไปปฏิบัติ : ศึกษากรณีผู้นำนโยบายไปปฏิบัติในจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนมหาบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.