การประเมินหลักสูตรชั้นนายร้อยเหล่าทหารการเงิน กองบัญชาการกองทัพไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การประเมินหลักสูตรชั้นนายร้อยเหล่าทหารการเงิน กองบัญชาการกองทัพไทยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินหลักสูตรชั้นนายร้อยเหล่าทหารการเงิน กองบัญชาการกองทัพไทย โดยประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดที่พัฒนาจากรูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPPModel) 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรชั้นนายร้อยเหล่าทหารการเงิน กองบัญชาการกองทัพไทย โดยประยุกต์รูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPPModel) ของ Danial L.Stufflebeam ในการวิเคราะห์ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นและสัมภาษณ์ความคิดเห็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร จากกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม ได้แก่ นายทหารนักเรียนหลักสูตรชั้นนายร้อยเหล่าทหารการเงิน ปีการศึกษา พ.ศ.2555 จำนวน 30 คน อาจารย์ผู้สอน วิทยากร ผู้บรรยายประจำหลักสูตรชั้นนายทหารการเงิน กองบัญชาการกองทัพไทย จำนวน 84 คน และผู้บังคับบัญชานายทหารนักเรียนหลักสูตรชั้นนายร้อย เหล่าทหารการเงิน จำนวน 12 หน่วย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ คือ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
- ผลการประเมินหลักสูตรชั้นนายร้อยเหล่าทหารการเงิน กองบัญชาการกองทัพไทย
โดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับมาก
1.1 ผลการประเมินของนายร้อยเหล่าทหารการเงิน สำหรับนายทหารนักเรียนหลักสูตรชั้นนายร้อยเหล่าทหารการเงิน โดยภาพรวมพบว่ามีความคิดเห็นว่าอยู่ในระดับมาก
1.2 ผลการประเมินหลักสูตรของอาจารย์ผู้สอน วิทยากร และผู้บรรยายประจำหลักสูตรชั้นนายร้อยเหล่าทหารการเงิน โดยภาพรวมพบว่ามีความคิดเห็นผลประเมินด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) อยู่ในระดับมากที่สุด และผลผลิต (Product) อยู่ในระดับมาก
1.3 ผลประเมินหลักสูตรของผู้บังคับบัญชานายทหารนักเรียนหลักสูตรชั้นนายร้อยเหล่าทหารการเงิน เฉพาะในด้านผลผลิต (Product) อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านบริบท (Context)
ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) อยู่ในระดับมาก
- แนวทางการพัฒนาหลักสูตร
2.1 ด้านปัจจัยนำเข้า ได้เสนอแนะเกี่ยวกับช่องทาง Facebook หรือ Social Media
ในการให้เวลากับผู้เรียนได้เข้าพบ พูดคุย หรือโทรศัพท์สอบถาม และแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์
2.2 ด้านปัจจัยเบื้องต้น อาจารย์ผู้สอน วิทยากร และผู้บรรยายประจำหลักสูตรชั้นนายร้อยเหล่าทหารการเงิน มีความเห็นว่าอยากเพิ่มช่องทางในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์
เพื่อช่วยให้นักศึกษาที่เรียนเกิดความเข้าใจเนื้อหาที่สอนมากขึ้น
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
จุฑาทิพย์ จันทร์เรือน. (2552). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ดลฤดี ลาภบำรุงวงศ์. (2546). การประเมินหลักสูตรชั้นนายร้อยเหล่าทหารการสัตว์ของกรมการสัตว์ทหารบก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ดาราวรรณ สุวรรณะชฎ. (2540). ความคิดเห็นของนายทหารสัญญาบัตรเหล่าสารบรรณที่มีต่อการฝึกอบรมหลักสูตรชั้นนายร้อยเหล่าสารบรรณ จัดทำโดยกองบัญชาการทหารสูงสุด.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่ ภาควิชาอาชีวศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธำรงบัวศรี. (2545). ทฤษฎีหลักสูตร.(พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
บุญชมศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร.กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พัชรินทร์ศรีสวัสดิ์. (2546). การประเมินหลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิชัยวงษ์ใหญ่. (2547). กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
สงบลักษณะ. (2542). การวิจัยหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุภาพร แนวบุตร. ( 2546). การประเมินหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิตคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาสุขศึกษาบัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภิชาติ เมฆบังวัน. (2549). การประเมินหลักสูตรระดับปริญญาตรีสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา (หลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี) คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Fidone, Diana J. (1993). An evaluation of a secondary Science program using the context component of the CIPP decision-making model.Dissertation Texas A & MUniversity.[Online].Availablehttp://proquest.umi.com/pqdweb?index=24&did=747861831&SrchMode=1&sid=1&Fmt=2&VIn…(18 October 2008).
Good, Carter V. (1973). Dictionary of Education. (3rd ed.). New York : McGraw Hill.Musiime, R. (1996). A critical evaluation of the religious education curriculum for secondary school students in Uganda.Dissertation University of North Texas.[Online]. Available http://proquest.umi.com/pqdweb?index=15&did=739550501&SrchMode=1&sid= 1&Fmt=2&VIn…(18 October 2008).
Nicholls, A. & Nicholls, S. H. (1976).Developing A Curriculum : A Practical Guide. London : George Allen &Unwin Ltd.