การศึกษาความเข้าใจในด้านการป้องกันรักษาสถานที่เกิดเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจ สถานีตำรวจภูธรจังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

ภาชินี เดชรัตนสุวรรณ์
วรธัช วิชชุวาณิชย

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้าใจ ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคงานด้านการป้องกันรักษาสถานที่เกิดเหตุ เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนางานด้านการป้องกันรักษาสถานที่เกิดเหตุของสถานีตำรวจภูธรจังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ เจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจสถานีตำรวจภูธรจังหวัดกาญจนบุรีจำนวน 227 คน สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ซึ่งทดสอบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และวิเคราะห์ผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์


ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีช่วงอายุ 41–50 ปี การศึกษาสูงสุดต่ำกว่าระดับปริญญาตรี มีชั้นยศนายดาบตำรวจเป็นส่วนใหญ่ มีรายได้ต่อเดือนโดยประมาณระหว่าง23,001–31,000บาท ในด้านระยะเวลาปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่สายตรวจส่วนใหญ่มีระยะเวลาปฏิบัติงาน 21 ปี ด้านความคิดเห็นการป้องกันรักษาสถานที่เกิดเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจสถานีตำรวจภูธรจังหวัดกาญจนบุรี โดยภาพรวมกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เห็นว่า การเก็บวัตถุพยานจากสถานที่เกิดเหตุควรดำเนินการให้เสร็จสิ้นในวันที่ทำการตรวจสถานที่เกิดเหตุ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ระดับการศึกษาสูงสุด ชั้นยศ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ประเภทของสายตรวจ และเงินเดือนหรือเงินที่เพิ่มพิเศษต่อเดือนแตกต่างกันมีระดับการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน แต่อายุและระยะเวลาที่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้วแตกต่างกันจะมีระดับการปฏิบัติงานแตกต่างกัน ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันรักษาสถานที่เกิดเหตุส่วนใหญ่ คือ ผู้บังคับบัญชาควรจัดสรรงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสถานที่เกิดเหตุให้เพียงพอ และควรกำหนดกฎหมายในการเอาโทษกับผู้ที่เข้าไปในสถานที่เกิดเหตุหรือเข้าไปยุ่งกับวัตถุพยานในสถานที่เกิดเหตุโดยที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง และควรออกกฎหมายมารองรับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจให้สามารถปฏิบัติงานในสถานที่เกิดเหตุได้อย่างถูกต้อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพร แสนแก้ว. (2552). การพัฒนางานด้านการตรวจสถานที่เกิดเหตุของสถานีตำรวจในเขตพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 8. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กัมพล อรุณปลอด. (2535). การสืบสวนกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จักรพงษ์ วิวัฒน์วานิช. (2540). การกลั่นกรองพยานหลักฐานชั้นสอบสวน.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไตรรัตน์ จงจิตร. (2546). การบริหาร-นักบริหาร. รัฐสภาสาร 51, 5 (พฤษภาคม): 127-135.
ทวีป กรวยทอง. (2541). ปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสำนักงานวิทยาการ ตำรวจ: ศึกษาเฉพาะกรณีของกองวิทยาการ ภาค 2.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ธงชัย สันติวงษ์. (2543).องค์การและการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543).การวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
นครพจนวรพงษ์ และพลประสิทธิ์ ฤทธิ์รักษา. (2529). ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ บรรพ 1-6 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมใหม่.กรุงเทพฯ: เจริญกิจ.
นุชนภางค์ศิริอัสสกุล. (2539). บทบาทของพยานผู้เชี่ยวชาญในคดีข่มขีนกระทำชำเรา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บริษัทเซอิอูน (ประเทศไทย) จำกัด. (2531). คู่มือการถ่ายภาพพิสูจน์หลักฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:เซอิอูน.
ปรีชาคัมภีรปกรณ์. (2541).การบริหารทรัพยากรการศึกษา.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พงศกรณ์ ชูเวช. (2530).การพิสูจน์หลักฐาน. กรุงเทพฯ: สูตรไพศาล.
พจมาน เครือสินธุ์. (2556).การบริหารงานบุคคลของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง: ศึกษาเฉพาะกรณีสำนักงานกลาง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
พัชรา สินลอยมา.(2556). ระเบียบวิธีการวิจัยทางนิติวิทยาศาสตร์. เอกสารประกอบการสอนรายวิชา ระเบียบวิธีการวิจัยทางนิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. (อัดสำเนา)
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2542). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มโน ซอศรีสาสร. (2539). การรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาจากการจับ ค้น ยึดโดยมิชอบ: ศึกษาเฉพาะกรณีพยานวัตถุและพยานเอกสาร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สันติ์ สุขวัจน์. (2550). การตรวจสถานที่เกิดเหตุ. เอกสารประกอบการสอนวิชาการตรวจสถานที่เกิดเหตุ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อรรถพล แช่มสุวรรณวงศ์ และคณะ. (2546). นิติวิทยาศาสตร์ 2 เพื่อการสอบสวน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ทีซีจี พริ้นติ้ง.
Best, John W. (1977).Research in Education. 3rd ed. New Jersey: Prentice Hallinc.
Fisher, Barry A. J. (2004). Techniques of Crime Scene Investigation. 7th ed. Florida: CRC Press.
Hobson, C. B. (1991).Fire Investigation : a new concept. IIInois: Charles C. Thomas Publisher.
Lee, H. C. (1994). Crime Scene Investigation. Taiwan: Central Police University Press.
Richard, Saferstein. (2001). Forensic Science Handbook. New Jersey: Prentice - Hall, Englewood Cliffs.
Schiro, George. (n.d.). Protecting the Crime Scene. Accessed November 5, 2015. Available from http://www.crime – scence- investigator.net/evidence1.html