ถอดบทเรียนการพัฒนามาตรการลดอุบัติเหตุทางถนน ด้วย 'Managing Information System' โดยโรงพยาบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่นและภาคีเครือข่าย

Main Article Content

อดุลย์ บำรุง
จิรวรรณ กิจเลิศพรไพโรจน์
ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์
ประยูร โกวิทย์

บทคัดย่อ

ภูมิหลัง: อำเภอบ้านไผ่ เป็นพื้นที่ที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น และมีปริมาณยานพาหนะหนาแน่น ในแต่ละปีพบว่ามีผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนที่มารับการรักษาที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินของโรงพยาบาลบ้านไผ่ ประมาณ 1,800-2,000 ราย/ปี และมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนมากกว่า 30 ราย/ปี ด้วยเหตุดังนั้น 'โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจรสู่การแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุแบบบูรณาการ' (ทีม MIS บ้านไผ่) จึงได้ก่อตั้งขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.2552


มาตรการ: ทีม MIS บ้านไผ่ได้จัดตั้งขึ้น โดยเริ่มจากเจ้าหน้าที่ด้านงานประกันสุขภาพของรพ.บ้านไผ่  ต่อมาทีม MIS เริ่มขยายตัวโดยการรวมภาคส่วนต่างๆเข้ามาในทีม เช่น ตำรวจ กรมการขนส่งทางบก แขวงการทาง ภาคธุรกิจ รวมถึงชุมชนเอง การทำงานอาศัยหลัก 5E (Engineering, Enforcement, Education, Emergency, และ Evaluation) และ PDCA (Plan-Do-Check-Act) มีการกำหนดบทบาทของแต่ละหน่วยงานในทีม เช่น แขวงการทาง รับหน้าที่การปรับปรุงสภาพถนน และกรมการขนส่งทางบกรับผิดชอบเรื่องการให้การศึกษาผู้ขับขี่ และได้มีการปรับปรุงระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนของแต่ละหน่วยงานให้สอดคล้องกัน 


ผลการเปลี่ยนแปลง: ผลการวิเคราะห์ของทีม MIS พบว่ากว่าร้อยละ 80 ของอุบัติเหตุทางถนนเกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ขับขี่ และร้อยละ 20 เกิดจากสภาพแวดล้อมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย มาตรการในชุมชนหลายๆอย่างได้ถูกนำมาใช้ (ทั้งระยะสั้น และระยะยาว) เช่น (1) การติดตั้งสัญญาณจราจรในพื้นที่เสี่ยง, (2) การปิดแยกกลับรถที่อันตราย, และ (3) การทำบันทึกความเข้าใจร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆในการรณรงค์การสวมหมวกกันน็อค ตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 เป็นต้นมา พบว่าผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนลดลงประมาณหนึ่งในสาม นอกจากนั้นการทำงานของทีม MIS ยังช่วยลดอุบัติเหตุทางถนนที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ประมาณร้อยละ 6


บทสรุป: การทำงานของทีม MIS เป็นบทเรียนที่มีประโยชน์ต่อพื้นที่อื่นๆในการเรียนรู้การผสานความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆและระดมต้นทุนการทำงานจากในพื้นที่เพื่อแก้ปัญหาอุบัติเหตุทางถนน การเปิดใจกว้าง ความเชื่อใจและเคารพร่วมกัน และความอดทน เป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จของทีม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Bamrung, A. (2015). MIS Banphai and Network for Preventing Traffic Injuries in Banphai District, Khon Kaen Province. Paper presented at the 2nd National Trauma and Emergency Forum: Trauma Emergency and Disaster Innovation and Integrated Management (8-9 July 2015), Cholburi, Thailand.
Department of Transport. (2011). Strategic Framework for Road Safety. London: Department of Transport, the UK Government.
Gonçalves, P., Kawagoe, J. Y., Cardoso, M., Silva, C. V., Toniolo, A. D. R., Castagna, H. M. F., . . . Correa, L. (2015). PDCA cycle reports: a quality tool to improve physician hand hygiene compliance. Antimicrobial Resistance and Infection Control, 4(Suppl 1), P280-P280. doi: 10.1186/2047-2994-4-s1-p280
Gopalakrishnan, S. (2012). A Public Health Perspective of Road Traffic Accidents. Journal of Family Medicine and Primary Care, 1(2), 144-150. doi: 10.4103/2249-4863.104987
Howat, P., Cross, D., Hall, M., Iredell, H., Stevenson, M., Gibbs, S., . . . Dillon, J. (2001). Community participation in road safety: barriers and enablers. J Community Health, 26(4), 257-270.
Karolinska Institute. (2011). Principle for Safe Community. Paper presented at the Information system management, TK Palace, Bangkok.
Kontopantelis, E., Doran, T., Springate, D. A., Buchan, I., & Reeves, D. (2015). Regression based quasi-experimental approach when randomisation is not an option: interrupted time series analysis. BMJ, 350. doi: 10.1136/bmj.h2750
Lagarde, M. (2011). How to do (or not to do) … Assessing the impact of a policy change with routine longitudinal data. Health Policy and Planning. doi: 10.1093/heapol/czr004
World Health Organization. (2013). Global status report on road safety 2013: supporting a decade of action. Geneva: WHO.

วรเชษฐ เขียวจันทร์. (2555). ถอดบทเรียน บ้านไผ่ – เขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่นในการทำงานเพื่อลดอุบัติเหตุและการสร้างความปลอดภัยทางถนน. กรุงเทพมหานคร: ปิ่นโต พับลิชชิ่ง, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. (2556). อุบัติเหตุและถนนอันตรายในประเทศไทย สุขภาพคนไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1 (pp. 145-158). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล