การประเมินคุณภาพการให้บริการประชาชนของโครงการศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ : ศึกษากรณีศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191ตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 ตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา และเพื่อศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในการให้บริการประชาชนเพื่อให้เกิดความพึงพอใจต่อการบริการประชาชนของเจ้าหน้าที่ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 ตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประชาชนที่ขอรับบริการจากศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 ตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมาในเดือนกันยายน พ.ศ.2557 จำนวน 405 คน
ผลการวิจัย พบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้บริการประชาชนในเรื่องของขั้นตอนการรับแจ้งเหตุโดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าระดับความคิดเห็นเฉลี่ยมากที่สุด คือ การแจ้งเหตุผ่านศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 มีกระบวนการที่ง่ายและสั้น 2. ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้บริการประชาชนในเรื่องของการให้บริการของเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าระดับความคิดเห็นเฉลี่ยมากที่สุด คือ เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 มีความชำนาญพื้นที่ที่รับผิดชอบ 3. ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้บริการประชาชนในเรื่องของคุณภาพในการให้บริการของศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าระดับความคิดเห็นเฉลี่ยมากที่สุด คือ เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 มีมารยาทในการตอบคำถาม และตรงประเด็น ข้อเสนอแนะ ที่ได้จากการวิจัย คือ ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 จังหวัดนครราชสีมาควรมีการเตรียมความพร้อมให้กับเจ้าหน้าที่และบุคลากร ในด้านข้อมูลอย่างรอบด้าน และควรมีการอบรมเจ้าหน้าที่ในเรื่องของมารยาทการให้บริการแก่ประชาชน นอกจากนี้ควรมีการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจรายบุคคลและนำผลนั้นมาปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เกิดความพึงพอใจในการบริการแก่ประชาชน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ควรสอบถามข้อมูลส่วนตัวจากผู้ที่โทรศัพท์เข้ามาแจ้งเหตุ เนื่องจากปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน อาจทำให้ความเร่งด่วนในการช่วยเหลือแตกต่างกัน
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
ชาคริต สมพิมพ์. (2554). ความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานี ตำรวจนครบาลดอนเมือง กองบัญชาการตำรวจนครบาล. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
พีรยุทธ รัตนศรี. (2554). คุณภาพการให้บริการของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรมาบตาพุด. ภาค นิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยทักษิณ.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2552). คุณภาพการให้บริการของเจ้าหน้าที่ตำรวจ.กรุงเทพมหานคร.
Parasuraman, A., Zeithaml, Valaric A. And Berry, Leonard L. (1990). Delivering quality service : Balancing Customer Perceptions and Experctations. New York : The Free Press.
Yamane, Taro. (1973). Statistics : An introductory Analysis. Third edition. Newyork : Harper and Row Publication.