ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการเข้าสู่ความเป็นสากลของบุคลากรใน คณะแพทยศาสตร์แห่งหนึ่งในประเทศไทย

Main Article Content

ชโลธร โอฬารประเสริฐ
จิตรลดา อมรวัฒนา
จิรายุ เอื้อวรากุล
สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติในการเข้าสู่ความเป็นสากลของบุคลากรในคณะแพทยศาสตร์แห่งหนึ่งในประเทศไทยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติในการเข้าสู่ความเป็นสากลของบุคลากรในคณะแพทยศาสตร์ เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติในการพัฒนาสู่ความเป็นสากลของบุคลากร และปัจจัยส่วนบุคคลที่อาจมีผลต่อความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติของบุคลากร โดยใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยกำหนดจำนวนประชากรเป็นบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 16,253 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรการคำนวณของ Taro Yamane ได้ผลลัพธ์ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่คำนวณได้ เท่ากับ 391 คน  และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test) ผลการวิจัยพบว่า (1) ความรู้ในการเข้าสู่ความเป็นสากลของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยโดยรวมด้านความเป็นสากลอยู่ในระดับดี ด้านความเป็นสากลของมหาวิทยาลัยมหิดล อยู่ในระดับดี ความเป็นสากลของคณะแพทยศาสตร์ อยู่ในระดับปานกลาง (2) ทัศนคติในการเข้าสู่ความเป็นสากลของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยโดยรวมทางทัศนคติต่อด้านความเป็นสากลและทัศนคติต่อคณะฯ ด้านความเป็นสากล ในระดับมากที่สุด และทัศนคติในการเข้าสู่ความเป็นสากลของหน่วยงาน อยู่ในระดับปานกลาง (3) การปฏิบัติในการเข้าสู่ความเป็นสากลของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยโดยรวมในการปฏิบัติของคณะฯ ด้านความเป็นสากล ในระดับมาก และการปฏิบัติของบุคลากรและการปฏิบัติของหน่วยงาน อยู่ในระดับน้อย (4) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระยะเวลาการปฏิบัติงาน มีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการเข้าสู่ความเป็นสากลไม่แตกต่างกัน (5) ระดับการศึกษา มีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการเข้าสู่ความเป็นสากลแตกต่างกัน และสายอาชีพ (แพทย์และบุคลากรสายสนับสนุน) มีทัศนคติ และการปฏิบัติในการเข้าสู่ความเป็นสากลแตกต่างกัน โดยสรุปบุคลากรของคณะแพทยศาสตร์แห่งนี้ มีความรู้ระดับปานกลาง มีทัศนคติที่ดีระดับมากที่สุดและมีการปฏิบัติระดับน้อย ดังนั้น การจะพัฒนาสู่ความเป็นสากล จำเป็นต้องสื่อสารให้ความรู้ด้านความเป็นสากลทุกระดับและสนับสนุนให้มีการปฏิบัติจริงที่มีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น ในระดับหน่วยงาน เพื่อให้คณะฯ และมหาวิทยาลัยก้าวสู่ความเป็นสากลอย่างแท้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองวิเทศสัมพันธ์ ทบวงมหาวิทยาลัย. (2534). รายงานการสัมมนาระดับชาติเรื่อง ความเป็นสากลของการอุดมศึกษาไทย ,28-30 มกราคม 2530. กรุงเทพฯ: ทบวง.
สำนักงานอุดมศึกษาต่างประเทศ.(2550).ความเป็นสากลของอุดมศึกษาไทย. กรุงเทพฯ
วรพรรณ อภิชัย. (2535).ความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา เกี่ยวกับการจัดหลักสูตรนานาชาติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิพยกาย เปรุนาวิน.(2547).คณะพยาบาลกับทิศทาง แนวทางการพัฒนาสู่ความเป็นสากล.วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 27(2), 68-69.
สุริยนต์ หลาบหนองแสง.(2555). การพัฒนาสังคมไทยเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, ปีที่ 8 (1), 6-18.
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. (ม.ป.ป.). แผนยุทธศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2555 – 2558.
สมคะเน ค้ำจุน. (2552). การศึกษาความเป็นสากลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.กรุงเทพฯ
พรทิวา ศรีวัฒนนา.(2556).ปัจจัยที่กำหนดความเป็นสากลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย.ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยขอนแก่น.ขอนแก่น.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุคี ศิริวงศ์พากร.การศึกษาความสัมพันธ์เกี่ยวกับการรับรู้ ทัศนคติ กับการเข้าร่วมกิจกรรมตามนโยบายสถานศึกษา (3D) ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.กรุงเทพฯ.
กฤษณพงศ์ กีรติกร.2557.มหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยระดับโลก, 22-23 มีนาคม 2557. ณ ปานวิมาน สปารีสอร์ท แม่ริม จังหวัดเชียงใหม่.เชียงใหม่.
พรทิพย์ กาญจนนิยต.(2548).ความเป็นสากลของอุดมศึกษา.ข่าวประกันคุณภาพการศึกษา พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, (189).
มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (2552). เส้นทางการนำมหาวิทยาลัยสู่สากล. ข่าวประกันคุณภาพการศึกษา พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, (194).
คำเพชร ภูริปริญญา. (2550) การนำเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยโลก. นโยบาย การจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพฯ.
ศิริพร อัจฉริยโกศล. (2550) ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้ระบบเครือข่าย Outlook Web Access เป็นเครื่องมือสื่อสารภายในองค์การของพนักงานระดับปฏิบัติการธนาคารกรุงเทพจำกัด (มหาชน).วารสารศาสตร์มหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.กรุงเทพฯ
คำเพชร ภูริปริญญา. (2550) การนำเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยโลก. นโยบาย การจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา.
กัลยา วานิชย์บัญชา .(2541). การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย SPSS for Windows . กรุงเทพ ฯ :โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .
Yamane, Taro.(1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third edition. New York: Harper and Row Publication, p.886.
Jane Knight.2012.Five Truths about Internationalization. International Higher Education, 2012 (69), 4-5.
Pad lavankura.2014.Internationalizing Higher Education in Thailand: Government and University Responses. Journal of Studies in International Education, 2014
แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2556 – 2559, 27 พฤศจิกายน 2557. http://www.si.mahidol.ac.th/th/academics/download/1_121.pdf
สำนักคณะกรรมการอุดมศึกษา (2556). แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 - 2559), 14 ตุลาคม 2557. http://www.mua.go.th/~bpp/developplan/.
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(2554). สรุปสาระส าคัญ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555 – 2559, 14 ตุลาคม 2557. http://www.mua.go.th/~bpp/developplan/
สำนักงานรัฐมนตรี (2556). ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 212/2556 8 นโยบายการศึกษา "จาตุรนต์ ฉายแสง", 14 ตุลาคม 2557. http://www.moe.go.th/websm/2013/jul/212.html
AEC คืออะไร, (2555), 14 ตุลาคม 2557. http://www.thai-aec.com/41
แนวโน้มการเคลื่อนย้ายแรงงานและอาชีพของประเทศใน AEC, (2555), 14 ตุลาคม 2557. http://www.thai-aec.com/231
จินดา เตชะวณิช. (2547). การพัฒนาความเป็นสากลของอุดมศึกษาไทย: สู่ความเป็นศูนย์กลางการศึกษานานาชาติในภูมิภาคอาเซียน, 14 ตุลาคม
2557. http://www.library.msu.ac.th/asean//dublin.php?ID=612#.VHcacj_oTId.
พรทิพย์ กาญจนนิยต. (ม.ป.ป.). ความเป็นสากลของอุดมศึกษา: ต้องตีค่าที่ฐานราก, 14 ตุลาคม 2557. www.fulbrightthai.org/data/articles/inter.doc
คำกล่าวเปิดการประชุมชี้แจงกระบวนการดำเนินโครงการแนวปฏิบัติที่ดีในการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ (2556), 14 ตุลาคม 2557, . www.inter.mua.go.th/main2/files/file/speech.doc
อันดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย, 14 ตุลาคม 2557. http://th.wikipedia.org/wiki/อันดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
การจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษา, 14 ตุลาคม 2557. http://th.wikipedia.org/wiki/การจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษา
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธ์ (2012).แนวคิดการประเมินศักยภาพของพนักงาน (Potential), 27 พฤศจิกายน 2557. http://www.hrcenter.co.th/index.php?module=columns_detail&ColumnID =1028
วีระวัฒนั ปันนิตามัย. (n.d.). การประเมินศักยภาพและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย, 27 พฤศจิกายน 2557. http://nidamppm14.files.wordpress.com/2009/01/pp6003-asstprofdrweerawat.pdf
แนวทางการยกระดับขีดสมรรถนะของบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2556-2558, 27 พฤศจิกายน 2557. http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/files/CSTI/D%20menu/stategic/strategy%2002.pdf
วิจารณ์ พานิช.การจัดการความรู้ คือ อะไร : ไม่ทำไม่รู้.(n.d.) 27 พฤศจิกายน 2557. www.thaiall.com/km/indexo.html.
การจัดการความรู้.(n.d.). 27 พฤศจิกายน 2557. th.wikipedia.org/wiki/การจัดการความรู้
ทัศนคติ.(n.d.). 27 พฤศจิกายน 2557. www.dnp.go.th/fca16/file/kd3v1xur10qj9tm.doc