การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีกับประสิทธิผลองค์การของสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Main Article Content

กษวรรณ ทองคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method Research) มีวัตถุประสงค์ 1.) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีและประสิทธิผลองค์การ 2.) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีกับประสิทธิผลองค์การ และ 3.) เพื่อค้นหาแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีที่เหมาะสมของบุคลากรต่อการเสริมสร้างประสิทธิผลองค์การของสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้แบบสอบถามรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรในสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 265 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และใช้แบบสัมภาษณ์ในการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 3 คน เพื่อนำมาวิเคราะห์ค้นหาแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อการเสริมสร้างประสิทธิผลองค์การ


ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ความช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเกรงใจสุภาพอ่อนน้อม ความอุตสาหะอดทนอดกลั้น ความรับผิดชอบให้ความร่วมมือ และความสำนึกในหน้าที่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ มีความสัมพันธ์กันทางบวกกับประสิทธิผลองค์การทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การปรับตัว การบรรลุเป้าหมาย การบูรณาการ และการรักษาแบบแผนวัฒนธรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.630*, sig =.000 < .05) ซึ่งเมื่อพิจารณาในรายด้านพบว่า บุคลากรในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีพฤติกรรม การเป็นสมาชิกที่ดีในด้านความเกรงใจสุภาพอ่อนน้อมสูงที่สุด มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .503 และประสิทธิผลองค์การในด้านการปรับตัวสูงที่สุด มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากับ 3.72 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .552 และจากการสัมภาษณ์ ผู้บริหารระดับสูง พบว่า การปลูกจิตสำนึก สร้างความเข้าใจและแรงจูงใจให้แก่บุคลากรในองค์การ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้บุคลากรเกิดพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีและส่งผลต่อประสิทธิผลขององค์การในเชิงบวก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี. (2557). คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ.
คำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. เลขที่ 106. (2555). กำหนดหน่วยงานภายในและแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
ชีวภาส ทองปาน. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานในบริษัทผลิตวัสดุก่อสร้างแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชญารัศมิ์ ทรัพยรัตน์. พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น. FEU Academic Review ปีที่ 7 ฉบับที่ 1. (มิถุนายน-พฤศจิกายน 2556).
ชนินทร์ จักรภพโยธิน. (2554). ความคิดเห็นของบุคลากรด้านการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร กรณีศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหิดล.
ฐิติมา สุวรรณชาติ, พนัส ชัยรัมย์, อนุรักษ์ สิงห์ชัย. การวิจัยเพื่อแสวงหาแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพทรัพยากรบุคคล กรณีศึกษา : องค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ ฉบับที่ 2. (พฤศจิกายน-ธันวาคม 2554): 40-45.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
เนตรนภา แก้วพูน. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานของหัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชน เขต 6. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารสาธารณสุข) มหาวิทยาลัยมหิดล.
ประไพพร สิงหเดช. (2539). การศึกษาคุณลักษณะที่มีต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ:กรณีศึกษาข้าราชการคุมประพฤติ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พนานันท์ โกศินานนท์. (2551). แนวทางการพัฒนาวิทยาลัยราชพฤกษ์สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้. วิทยาลัยราชพฤกษ์.
ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี. เล่มที่ 131 ตอนพิเศษ 164 ง: 31 สิงหาคม 2557.
รายงานประจำปีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2555). อัตรากำลังกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
ลาวัลย์ พร้อมสุข. (2544). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การกับความพึงพอใจในงานและผลการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มบริษัทมินิแบ (ประเทศไทย). วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วารุณี ดิษฐ์เย็น. (2548). พฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การ และความพึงพอใจในงานของบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารสาธารณสุข). มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศิกษณีย์ วิโสจสงคราม. (2553). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริบังอร ต่อวิเศษ, ไพฑูรย์ ช่วงฉ่ำ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กรณีศึกษา: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. สาขาวิชาการบริหารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่:แนวคิด และทฤษฎี. พิมพ์ครั้งที่ 2. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ. (2546). ทฤษฎีองค์การและกระบวนการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 1. ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ. (2550). พฤติกรรมองค์การ:ทฤษฎีและการประยุกต์. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อนุสรณ์ วิริยะวงศ์สกุล. (2552). ความพึงพอใจในงานกับประสิทธิผลองค์การ ศึกษาเฉพาะกรณี องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์). มหาวิทยาลัยมหิดล