การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความตระหนักและการนำหลักธรรมาภิบาลไปสู่การปฏิบัติขององค์การ กรณีศึกษา เทศบาลตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

สุรเชษฐ ลิ้มเฉลิม

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความตระหนักและการนำหลักธรรมาภิบาลไปสู่การปฏิบัติขององค์การ กรณีศึกษา เทศบาลตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับความตระหนักธรรมาภิบาลของบุคลากรเทศบาลตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อศึกษาระดับการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติภายใน เทศบาลตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความตระหนักและการนำหลักธรรมาภิบาลไปสู่การปฏิบัติขององค์การ 4) เพื่อศึกษาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้


ผลการศึกษาพบว่า ในการศึกษาระดับความตระหนักในการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการปฏิบัติงานภายในเทศบาลตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี  บุคลากรเทศบาลตำบลลาดหญ้า มีระดับความตระหนักในการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวม อยู่ในระดับดีมาก ในการศึกษาระดับการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติภายใน เทศบาลตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี บุคลากรที่นำหลักธรรมาภิบาลไปสู่การปฏิบัติขององค์การ โดยภาพรวม มีเกณฑ์ระดับดีมาก และการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความตระหนักและการนำหลักธรรมาภิบาลไปสู่การปฏิบัติขององค์การ ความสัมพันธ์ระหว่างความตระหนักกับการนำธรรมาภิบาลไปปฏิบัติโดยภาพรวม ความตระหนัก โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันระดับปานกลาง และเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการนำธรรมาภิบาลไปปฏิบัติโดยภาพรวม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลวัชร หงส์คู. (2553). ธรรมาภิบาลกับการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา เทศบาลนครสมุทรสาคร. หลักสูตรการพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง. สมุทรสาคร: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
กิตติไชย คุณปลื้ม. (2554). การศึกษาเปรียบเทียบระดับการรับรู้เรื่องธรรมาภิบาลระหว่างข้าราชการประจำและข้าราชการการเมือง กรณีศึกษา เทศบาลเมืองแสนสุข. ชลบุรี: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
นันทนา ดำริเข้มตระกูล. (2556). ความเข้าใจหลักธรรมาภิบาลของข้าราชการพลเรือนในพระองค์ พระราชวังสนามจันทร์ สำนักพระราชวัง. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยทองสุข.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2542). การสร้างธรรมาภิบาล (Good Governance) ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ, บุญมี ลี้. (2544). ตัวชี้วัดธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
พระเจริญ จิรสุโภ. (2552). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. นนทบุรี: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
ภาคภูมิ นิยมวิทยพันธุ์. (2546). ความเป็นธรรมาภิบาลในองค์การบริหารส่วนตำบล: ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรญา จตุพัฒน์รังสี. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลการบริหารงานของเทศบาลตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. (การค้นคว้าแบบอิสระ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Bass, B. M. 1997. February. “Does the Transactional-Transformational Leadership paradigm Transcend Organizational and National Boundaries”. American Psychologist. 52 (2): 130-139.
Hornby, A. S. 2001. Oxford Advanced Learner’s Dictionary of Current English. 6th ed. Publisher: Oxford University Pres.
Kreitner, R. 2005. Foundations of Management: basics and best practice. Houghton Mifflin Company, New York.
McShane, S. L. and Von Gilnow, M. A. 2005. Organizational Behavior Emerging Realities For the Workplace. Boston: McGraw-Hill Irwin.