การทบทวนวรรณกรรมการจัดการระบบประกันสุขภาพสำหรับคนต่างด้าวนอกระบบ ทะเบียนในภูมิภาคยุโรป: บทเรียนที่ระบบสาธารณสุขไทยพึงเรียนรู้

Main Article Content

ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์
คนางค์ คันธมธุรพจน์
วีระศักดิ์ พุทธาศรี
ศุภกิจ ศิริลักษณ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของบทความ คือเพื่อถอดบทเรียนการจัดการระบบประกันสุขภาพในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปและเพื่อนำข้อค้นพบที่ได้มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในบริบทของประเทศไทย วิธีการศึกษาใช้การทบทวนวรรณกรรมแบบเจาะจง โดยมุ่งเน้นที่ "คนต่างด้าวนอกระบบทะเบียน (undocumented migrants)" ซึ่งหมายถึงคนต่างด้าวที่เข้าสู่ประเทศปลายทางโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือบุคคลที่แม้เข้าประเทศปลายทางโดยถูกต้อง แต่อาศัยอยู่จนเกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายประเทศปลายทางกำหนด ผลการศึกษาพบว่าขอบเขตการให้บริการสุขภาพสำหรับคนต่างด้าวนอกระบบทะเบียนในสหภาพยุโรปแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ (1) ให้บริการเฉพาะอุบัติเหตุฉุกเฉิน, (2) ให้บริการครอบคลุมสิทธิประโยชน์พื้นฐานบางส่วนและเฉพาะบางกลุ่มของคนต่างด้าวนอกระบบทะเบียน และ (3) ครอบคลุมบริการสุขภาพเกือบทั้งหมด รูปแบบการให้บริการประกันสุขภาพที่มีความหลากหลายแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ทั้งนี้ขึ้นกับบริบททางการเมือง โครงสร้างระบบสาธารณสุข และทิศทางนโยบายคนต่างด้าวในภาพรวมของประเทศนั้นๆ เมื่อเทียบเคียงกับประเทศไทย พบว่านโยบายประกันสุขภาพของรัฐไทยค่อนข้างเปิดกว้างในการประกันสุขภาพคนต่างด้าวนอกระบบทะเบียนโดยให้บริการครอบคลุมสิทธิประโยชน์เกือบทั้งหมด ทั้งนี้มีประเด็นท้าทายที่พึงเรียนรู้จากยุโรป คือ แม้ประเทศที่มีนโยบายเปิดกว้างในเรื่องการประกันสุขภาพ คนต่างด้าวนอกระบบทะเบียนส่วนหนึ่งก็ยังไม่ได้รับการประกันสุขภาพ เนื่องจากความหวาดกลัวที่จะเปิดเผยตัวตนต่อเจ้าหน้าที่รัฐ ดังนั้นการส่งเสริมให้มีบุคลากรสุขภาพทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมประสานระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐกับคนต่างด้าว การมีทิศทางของนโยบายที่ชัดเจนจากภาครัฐที่บ่งชี้ให้การประกันสุขภาพเป็นมาตรการบังคับ เพื่อลดการตีความของการดำเนินนโยบายในแต่ละพื้นที่ การลดเงื่อนไขของการประกันสุขภาพ และการร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินนโยบาย น่าจะเป็นมาตรการสำคัญในการทำให้การประกันสุขภาพสำหรับคนต่างด้าวในประเทศไทยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ASTV Manager Online. (2013). Ministry of Public Health fails to distribute health insurance card for migrants with 66 thousands distributed in 4 months Retrieved 21 June 2014, from http://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9560000156809
Bilger, V., & Hollomey, C. (2011). Policies on Health Care for Undocumented Migrants in EU27, Country Report: Switzerland. Berne: Federal Office of Public Health.
Busza, J., & Baker, S. (2004). Protection and participation: an interactive programme introducing the female condom to migrant sex workers in Cambodia. AIDS Care, 16(4), 507-518. doi: 10.1080/09540120410001683457
Caroppo, E., Muscelli, C., Brogna, P., Paci, M., Camerino, C., & Bria, P. (2009). Relating with migrants: ethnopsychiatry and psychotherapy. Ann Ist Super Sanita, 45(3), 331-340.
Cuadra, C. B. (2010a). Policies on Health Care for Undocumented Migrants in EU27, Country Report: Germany. Malmö: Malmö Institute for Studies of Migration, Malmö University.
Cuadra, C. B. (2010b). Policies on Health Care for Undocumented Migrants in EU27, Country Report: The Netherlands. Malmö: Malmö Institute for Studies of Migration, Malmö University.
Cuadra, C. B. (2010c). Policies on Health Care for Undocumented Migrants in EU27, Country Report: United Kingdom. Malmö: Malmö Institute for Studies of Migration, Malmö University.
Gijón-Sánchez, M.-T., Pinzón-Pulido, S., Kolehmainen-Aitken, R.-L., Weekers, J., Acuña, D. L., Benedict, R., & Peiro, M.-J. (2010). Better health for all in Europe: Developing a migrant sensitive health workforce. Eurohealth, 16(1), 17-19.
Gray, B. H., & van Ginneken, E. (2012). Health care for undocumented migrants: European approaches. Issue Brief (Common Fund), 33, 1-12.
Health Insurance Group. (2013). Health Card for Uninsured Foreigners and Health Card for Mother and Child. Paper presented at the Seminar on measures and protocols of medical examination, insuring migrants and protecting maternal and child health, Best Western Grand Howard Hotel, Bangkok.
International Organization for Migration. (2004). International Migration Law, Glossary on Migration. Geneva: IOM.
International Organization for Migration. (2009). Migration health: report of activities 2008-2009 (pp. 68). Geneva: IOM.
International Organization for Migration. (2010). World migration report 2010. The future of migration: Building capacities for change Retrieved 14 March 2014, from http://publications.iom.int/bookstore/free/WMR_2010_ENGLISH.pdf
Karl-Trummer, U., Metzler, B., & Novak-Zezula, S. (2009). Health Care for Undocumented Migrants in the EU: Concepts and Cases. Brussel: IOM.
Martin, P. (2007). The economic contribution of migrant workers to Thailand: Towards policy development: ILO.
Munyewende, P., Rispel, L. C., Harris, B., & Chersich, M. (2011). Exploring perceptions of HIV risk and health service access among Zimbabwean migrant women in Johannesburg: a gap in health policy in South Africa? J Public Health Policy, 32 Suppl 1, S152-161.
Smart, R. (2004). HIV/AIDS guide for the mining sector (pp. 231). Washington DC: International Finance Corporation.
Suphanchaimat, R., Seneerattanaprayul, P., Wisaijohn, T., & putthasri, W. (2013). The management of health insurance system for people with citizenship problems-a case study of Ranong province. Health Systems Research Institute Journal, 7(2), 207-222.
Tanaka, Y., Kunii, O., Hatano, T., & Wakai, S. (2008). Knowledge, attitude, and practice (KAP) of HIV prevention and HIV infection risks among Congolese refugees in Tanzania. Health Place, 14(3), 434-452. doi: 10.1016/j.healthplace.2007.07.005
United Nations Secretary General. (2006). Globalization and interdependence: International migration and development (pp. 12). Geneva: United Nations.
World Bank. (2010). Additional Financing for Total War against HIV and AIDS (TOWA) Project : indigenous peoples planning framework (pp. 8): Kenya.
World Health Organization Regional Office for Europe. (2010). How health systems can address health inequities linked to migration and ethnicity (pp. 44). Copenhagen: WHO Regional Office for Europe.
โสภณ เมฆธน. (2556). นโยบายและทิศทางการดำเนินการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพ คนต่างด้าวทั่วไป และอนามัยแม่และเด็ก. เอกสารประกอบการประชุมมาตรการและการดำเนินงานตรวจสุขภาพ และประกันสุขภาพคนต่างด้าวทั่วไป; 9-10 กรกฎาคม 2556 ณ โรงแรมเบส เวสเทิร์น พลัส แกรนด์ ฮาวเวิร์ด. กรุงเทพมหานคร
คณะทำงานแก้ไขปัญหางานสาธารณสุขในแรงงานต่างด้าวและพัฒนางานสาธารณสุขชายแดน. (2557). รายงานการประชุมคณะทำงานแก้ไขปัญหางานสาธารณสุขในแรงงานต่างด้าวและพัฒนางานสาธารณสุขชายแดน ครั้งที่ 4/2557. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข