การจัดการแบบพหุภาคีในการศึกษาเพื่อตอบสนองชุมชนท้องถิ่น

Main Article Content

วราพร ศรีสุพรรณ
ประกายรัตน์ สุขุมาลชาติ
จำลอง บุญเรืองโรจน์
อนันต์ กัลปะ
ประคอง บัวปรอท

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนสถานศึกษาในการจัดการการศึกษาเพื่อตอบสนองชุมชนท้องถิ่น พื้นที่วิจัยคือ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 และอำเภอพนมทวน จ.กาญจนบุรี สังกัดเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 2 ขั้นตอนการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะคือ 1) การสื่อสารเพื่อการจัดตั้งเครือข่ายพหุภาคีพัฒนาการศึกษาเพื่อชุมชนท้องถิ่น 2) การพัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนสถานศึกษาในการจัดการศึกษาเพื่อชุมชนท้องถิ่น (การสร้างหลักสูตรท้องถิ่นระดับอำเภอ) และ 3) การนำเสนอผลงานและสรุปบทเรียนของพหุภาคีและประเมินการยอมรับการทำงานแบบพหุภาคีของสถานศึกษา ผลการวิจัยคือ 1) การจัดตั้งพหุภาคีในโครงการวิจัยมี 2 รูปแบบคือ รูปแบบที่ 1 เน้นการทำงานร่วมกันระหว่าง อปท. สถานศึกษา แกนนำภาคประชาชน (ผู้นำองค์กรชุมชนและผู้ทรงคุณวุฒิ) และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รูปแบบที่ 2 เน้นบทบาทของสถานศึกษาเป็นสำคัญ  2) ผลผลิตที่เกิดจากพหุภาคีได้แก่ เนื้อหาสาระการเรียนรู้ที่ยึดโยงกับสิ่งที่เป็นจริงในท้องถิ่น และแผนการสอนตัวอย่างที่ครูได้ออกแบบไว้ซึ่งเกือบทั้งหมด (อำเภอพนมทวน) หรือบางส่วน (อำเภอบางปลาม้า) ได้ผ่านการทดลองสอนแล้ว 3) ข้อเสนอกิจกรรมในการขยายผลการเรียนรู้ท้องถิ่นที่ได้จากการสรุปบทเรียนของอำเภอบางปลาม้าคือ การปรับปรุงและจัดทำเอกสารสาระการเรียนรู้ “บางปลาม้าศึกษา” ที่เผยแพร่ได้ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้และวิทยากรท้องถิ่น และการสนับสนุนกิจกรรม “ค่ายบางปลาม้าศึกษา” 4) รูปแบบองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขยายผลการเรียนรู้ท้องถิ่นจากการประชุมสรุปบทเรียนของอำเภอพนมทวน คือ คณะกรรมการปรับปรุงและจัดทำเอกสารสาระท้องถิ่น และคณะกรรมการขับเคลื่อนสถาบันการเรียนรู้พนมทวนศึกษา ข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรปรับปรุง กฎ ระเบียบ และธรรมเนียมปฏิบัติต่างๆ เพื่อสนับสนุนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้สามารถทำหน้าที่ในการจัดตั้งองค์กรพหุภาคีเพื่อการจัดการหลักสูตรท้องถิ่นระดับอำเภอ และสนับสนุนองค์กรนี้ให้สามารถนำส่งหลักสูตรท้องถิ่นอำเภอศึกษาไปสู่สถานศึกษาต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัชชัย คุ้มทวีพร. (2549). การประเมินบทบาทของเทคโนโลยีการสื่อสารในการเรียนการสอน: มุมมองจากปรัชญาการศึกษา. ใน ชัชชัย คุ้มทวีพร, ปาริชาต สุวรรณบุบผา, ประสิทธิ์ ฤกษ์พิศุทธ์ และชาญณรงค์ บุญหนุน. (บรรณาธิการ). ปรัชญาในสังคมไทย. (หน้า 43-143) กรุงเทพฯ: โครงการส่งเสริมการวิจัยปรัชญาและศาสนาสัญจร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
______. (2553). ความคิดทางการเมืองของ ฌาคส์ ร็องซีแยร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สมมติ.
ประทุม อังกูรโรหิต. (2543). ปรัชญาปฏิบัตินิยม รากฐานปรัชญาการศึกษาในสังคมประชาธิปไตย. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
วีระ สมบูรณ์. (2547). “มโนทัศน์แห่งองค์รวม: สำรวจเชิงวิพากษ์” ใน จารุปภา วะสี, ฉลวยวรรณ ชินะโชติ และศิริวรรณ สุขวิเศษ์ (บรรณาธิการ). จับความคิดขีดเขียนโลกใหม่. นครปฐม: คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
______. (2548). ชีวิตและความคิด อี.เอฟ.ชูมาเกอร์. พิมพ์ครั้งที่ 3; กรุงเทพฯ: openbooks.
วรยุทธ ศรีวรกุล (2549). ปรัชญาการศึกษา. ใน ชัชชัย คุ้มทวีพร, ปาริชาต สุวรรณบุบผา, ประสิทธิ์ ฤกษ์พิศุทธ์ และชาญณรงค์ บุญหนุน. (บรรณาธิการ). ปรัชญาในสังคมไทย. (หน้า 145-169) กรุงเทพฯ: โครงการส่งเสริมการวิจัยปรัชญาและศาสนาสัญจร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
วราพร ศรีสุพรรณ. (2553) (1). “การปฏิรูปการศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์ร่วมกับชุมชนท้องถิ่นของตน”. ในเอกสารการประชุมวิชาการและเผยแพร่ผลงานวิจัยระดับชาติเรื่อง “การขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาไทย” เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาคณะครุศาสตร์ และเฉลิมฉลองศตพรรษวัฒนา ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา, 9 กรกฎาคม 2553 ณ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (178-184)
______. (2553) (2). ประชาธิปไตยแบบสังคมเครือข่ายและการศึกษาแบบปฏิรูปนิยม. วารสารสถาบันพระปกเกล้า. 8(3), 90-108.
______. (2556). “อุดมการณ์สังคมและการศึกษาแบบใหม่ที่พ้นไปจากอุดมการณ์แบบเสรีนิยม” ใน การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพ 2556 เรื่อง พลวัตการศึกษาสร้างสรรค์เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน, 23 พฤษภาคม 2556 ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต. หน้า 390-405.
สำลี ทองธิว. (2545). หลักและแนวปฏิบัติในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา : กรณีวิชาวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อภิชัย พันธเสน (บรรณาธิการ). (2549). สังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).