การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานป้องกันยาเสพติดของงานตำรวจชุมชนและ มวลชนสัมพันธ์ เขตพื้นที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

วิศรุต ศุภวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการมีส่วนร่วมของประชาชน  และระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันยาเสพติดของงานตำรวจชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ เขตพื้นที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยกลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนเขตพื้นที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นประชาชนที่พักอาศัยในหมู่บ้าน/ชุมชน ที่ดำเนินงานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ เขตพื้นที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมจำนวน 400 คน


ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนมากมีอายุระหว่าง 21-30 ปี จำนวน 187 คน (ร้อยละ 46.8) มีสถานภาพของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ สมรส จำนวน 209 คน (ร้อยละ 52.3) ระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างส่วนมาก ระดับปริญญาตรี จำนวน 178 คน (ร้อยละ 44.5) อาชีพของกลุ่มตัวอย่างส่วนมาก ประกอบอาชีพรับจ้าง จำนวน 117 คน (ร้อยละ 29.3) และมีรายได้ต่อเดือน ส่วนมากมีรายได้ต่อเดือน 10,001-20,000 บาท จำนวน 126 คน (ร้อยละ 31.5)  ระยะเวลาที่อาศัยในชุมชน กลุ่มตัวอย่างส่วนมากอาศัยอยู่ในชุมชนเป็นระยะเวลามากกว่า 21 ปี จำนวน 110 คน (ร้อยละ 27.5)


ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันยาเสพติดของงานตำรวจชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน ปัจจัยความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหายาเสพติด และปัจจัยความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานตำรวจชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ โดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่  0.05


สำหรับระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันยาเสพติดของงานตำรวจชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ เขตพื้นที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมนั้น พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในระดับมาก ในการป้องกันยาเสพติดของงานตำรวจชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ เขตพื้นที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ทั้งด้านการประชุมและการวางแผน และด้านการปฏิบัติและ การดำเนินการ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.87


ดังนั้นสำนักงานตำรวจแห่งชาติหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันยาเสพติดในชุมชน รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับงานตำรวจชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ให้แก่ประชาชน เพื่อดึงประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหายาเสพติดในชุมชน และร่วมสอดส่องสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่แสดงถึงปัญหายาเสพติดในชุมชน รวมทั้งควรประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการทำงานแบบบูรณาการภายใต้นโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอย่างเป็นรูปธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, สำนักงาน. (2546). รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปีงบประมาณ 2545. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, สำนักงาน. (2547). รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปีงบประมาณ 2546. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, สำนักงาน. (2548). รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปีงบประมาณ 2547. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, สำนักงาน. (2551). ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหายาเสพติด ปี 2551. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท..
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, สำนักงาน. (2549). รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปีงบประมาณ 2548. กรุงเทพมหานคร: บริษัทรุ่งศิลป์การพิมพ์.
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, สำนักงาน. (2550). รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปีงบประมาณ 2549. กรุงเทพมหานคร: บริษัท รำไทยเพลส จำกัด.
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, สำนักงาน. (2551). ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหายาเสพติด ปี 2551. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท..
จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. (2551). สังคมวิทยาอาชญากรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.
จินตวีร์ เกษมศุข. เอกสารประกอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง หมวดวิชางานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์. สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ชาญคณิต กฤตยา สุริยะมณี และคณะ. (2554). การนำกลยุทธ์แบบ Community policing มาประยุกต์ใช้ในการป้องกันปัญหาอาชญากรรมในเขตเมือง: กรณีศึกษาชุมชน ในเขตลาดพร้าว เขตบางนา และเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร. รายงานวิจัย สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม.
ณัฐฏิการ์ ปิงขอด. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด ในพื้นที่เป้าหมายของกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ตำรวจภูธรจังหวัดพิจิตร. (2550). องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานชุมชนสัมพันธ์.พิจิตร.
นเรศ คำเขียน. (2553). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ : กรณีศึกษาพื้นที่สถานีตำรวจภูธรเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
นิภา รัพยูร. (2554). ทัศนคติของประชาชนต่อการปฏิบัติงานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ของตำรวจตระเวนชายแดน กรณีศึกษากงกำกับการตำรวจระเวนชายแดนที่ 43. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ปรีชญาณ์ นักฟ้อน. (2556). การประเมินสถานการณ์ยาเสพติดและความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินการงานแก้ไขปัญหายาเสพติดตามยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด ปี 2556. คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิสุทธิ์ วรรณฉัตรสิริ. (2546). การศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนและผู้บริหารโรงเรียนต่อากรจัดระเบียบสังคมในชุมชนกลุ่มรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศุภชัย พวงทอง. (2547). บทบาทของตำรวจชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ที่มีต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดในเขตพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 2. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.
ศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2551). หนังสือศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ด่วนที่สุด ที่ ยธ 0759/712 เรื่องการตรวจหาสารเสพติดในปัสสาวะของเจ้าหน้าที่และผู้ต้องขัง, 1 เมษายน 2551.
ศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2551). หนังสือศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ด่วนที่สุด ที่ ยธ 0759/1403 เรื่อง นโยบายเน้นหนักกรมราชทัณฑ์ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เกี่ยวกับการดำเนินการร้านสงเคราะห์ผู้ต้องขัง และการรับพัสดุไปรษณีย์, 30 กันยายน 2551.
ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ. (2547). รายงานผลการสำรวจประเมินสถานการณ์ยาเสพติด ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ. (2549). รายงานผลการสำรวจประเมินผลการปฏิบัติการรวมพลังไทยทั้งชาติขจัดยาเสพติด (1 มีนาคม – 31 สิงหาคม 2549). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สหมิตร พรินติ้ง จำกัด.
สิงหาญ จูมวันทา. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนินงานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ของสถานีตำรวจภูธรนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.
สวภัทร ปุยพันธ์. (2543). การมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ศึกษาเฉพาะกรณีสถานีวิทยุชุมชนร่วมด้วยช่วยกัน. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตร มหาบัณฑิต ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุจริต ขวัญทอง. (2542). การศึกษาการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในโครงการเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ ศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุวรรณา มานะโรจนานนท์. (2542). ปัจจัยเกื้อหนุนความสามารถในการมีส่วนร่วมปฏิบัติงานของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลสตรีพื้นที่จังหวัดปริมณฑล. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ ศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เสน่ห์ เย็นเยือก. (2550). ยุทธศาสตร์การกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานตามโครงการตำรวจชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ ของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรบ่อพลอย อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี. หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง.
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2547). แผนปฏิบัติการชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ ประจำปี 2547กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2545). โครงการประเมินประสิทธิภาพสถานีตำรวจและความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของตำรวจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2545. กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2554). รายงานโครงการสำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามนโยบาย ตร. พ.ศ.2554. กรุงเทพมหานคร
อานนท์ แก้วเขียว. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของตำรวจชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ : กรณีศึกษากองบังคับการตำรวจนครบาล 4. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Andy Myhill. (2012). Community engagement in policing. NPIA (National Policing Improvement Agency).
Adams, R. E.; Rohe W. A.; and Arcury, T. A. (2002, July). Implementing community-oriented policing : Organizational change and street officer attitudes. Crime and Delinquency. 48(3): 399-430.
Eck, J. E.; and Rosenbaum, D. P.(1994). The new police order : Effectiveness, equity , and efficiency in community policing. In D. P. Rosenbaum (ed.) The Challenge of community policing : Testing the promises, pp. 3-23. Thousand Oaks, CA.: Sage.
Fagin, J. A. (2003). Criminal justice. Boston : Allyn and Bacon.
John F. Fisette. (2002). Community Policing, can the Detroit Police Department Make the Change. School of Police Staff and Command.
Goldstein, H. (1990). Problem oriented policing. Philadelphia: Temple University Press.
Hornick, J.P., et al. (1993). An impact evaluation of the Edmonton neighborhood foot patrol program. In James
Chacko and Stephen E. Nancoo (eds.) Community policing in Canada, pp. 311-332. Toronto: Canadian Scholars Press.Fagin, J. A. (2003). Criminal justice. Boston : Allyn and Bacon.
Kelling, G. L., and Bratton, W.J. (1993, July). Implementing community policing: The administrative problem. Perspectives on policing 17: 1-11.
Kelling, G. L., and Moore, M.H. (1988). The evolving strategy of policing: Perspectives on policing. Washington: U.S. Department of Justice, Office of Justice Programs, National Institute of Justice.
Senna, J.; and Siegel, L. (1990). Introduction to Criminal justice. St Paul: West Pubishing.
Skogan, W. G.; and Harnett , S. M. (1997). Community policing Chicago style. New York: Oxford University Press.
Walker, S.G., et al. (1993). Program impacts: The Victoria community police stations. In James Chacko and Stephen E. Nancoo (eds.) Community policing in Canada, pp. 333-346. Toronto: Canadian Scholars Press.
Wilson, J.Q. and Kelling, G. (1982, March). Broken Windows: The Police and Neighborhood Safety. Atlantic Monthly 249(3), 29–38.