การจัดการบริการสาธารณะ: จากมุมมองของการพัฒนาการจัดการภาครัฐ การจัดการบริการสาธารณะ: จากมุมมองของการพัฒนาการจัดการภาครัฐ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เสนอความเห็นเกี่ยวกับความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคการกระจายอำนาจทางการศึกษาให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยในช่วงหนึ่งทศวรรษแห่งการกระจายอำนาจทางการศึกษา (พ.ศ.2547-2557) พร้อมกับวิเคราะห์จุดแข็งกับปัญหาอุปสรรคในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งพบว่า ในเชิงปริมาณ มีสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกระทรวงศึกษาธิการได้ถ่ายโอนไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้จำนวนครูและนักเรียนเพิ่มเพิ่มสูงขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามในด้านคุณภาพการศึกษา พบว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ยังไม่ได้คุณภาพ จึงต้องมีการพัฒนาคุณภาพให้ได้มาตรฐานต่อไป
จุดแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการศึกษา คือ มีกฎหมายที่กำหนดอำนาจหน้าที่ให้ท้องถิ่นจัดการศึกษาที่ครอบคลุมในทุกระดับ มีขอบเขตความรับผิดชอบต่อกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดใหญ่มีความพร้อมเรื่องรายได้ นอกกจากนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังสามารถแสวงหาร่วมมือกับประชาชนและสถาบันการศึกษาในท้องถิ่นเพื่อให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ส่วนปัญหาอุปสรรคของท้องถิ่นในการจัดการศึกษา คือ ขาดระบบการบริหารจัดการที่ดี ผู้บริหารบางแห่งยังขาดวิสัยทัศน์และไม่เห็นความสำคัญในการจัดการศึกษา บุคลากรไม่เพียงพอและขาดประสบการณ์ในการจัดการศึกษา
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
นันทวัฒน์ บรมนันท์. (2549). การปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
ประหยัด หงส์ทองคำ. (2523). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
พรทิพย์ กาญจนานนท์. (2553). โครงสร้างรายได้ รายจ่ายและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดสรรงบประมาณของเทศบาล. รัฐประศาสนศาสตรดุษฏีบัณฑิต.กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
พิชิต ฤทธิ์จรูญและคณะ.(2554).การวิจัยประเมินผลการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย.ปีที่ 3 ฉบับที่1,2 (กรกฏาคม-ธันวาคม2554).มหาวิทยาลัยศิลปากร
พริ้มเพรา วราพันธุ์พิพิธ.(2556).ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อความเป็นเลิศของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วีรศักดิ์ เครือเทพ.(2548).นวัตกรรมสร้างสรรค์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: หนังสือสำหรับเสริมพลังความคิดและหลักวิชาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.กรุงเทพฯ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สถิติการศึกษาฉบับย่อ ปีการศึกษา2550-2555.ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ .กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
ส่วนวิจัยและพัฒนา ระบบรูปแบบและโครงสร้าง สำนักพัฒนาระบบ รูปแบบและโครงสร้าง, กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น.กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2553).รายงานการติดตามการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปี 2551.กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). รายงานการวิจัยประเมินผลการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
เสงี่ยมจิต วสุวัฒนเศรษฐ์. (2555). การประเมินผลสัมฤทธิ์ของโรงเรียนที่ถ่ายโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). เวปไซต์ http://www.niets.or.th/ [เข้าถึงวันที่ 16 เมษายน 2557]
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. เวปไซต์ http://www.obec.go.th [เข้าถึงวันที่ 16 เมษายน 2557]
อุทัย บุญประเสริฐและคณะ.(2545). “การกระจายอำนาจด้านการศึกษาในประเทศไทย.” ใน การกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นไทย, เอกสารการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: สถาบันประปกเกล้า.
Smith, Brian C. (1985). Decentralization. London: George Allen & Unwith (Publishers) Ltd.
Yusuf Sayed. (1997). “Understanding Educational Decentralization in Post- Apartheid South Africa”, Journal of Negro Education, Vol 66 No.4,1997,p.355-377.