กระบวนการเรียนรู้เชิงนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

Main Article Content

อรทัย เลียงจินดาถาวร

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้เชิงนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ช่วงเวลาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งนโยบายในปี พ.ศ. 2544-2553 โดยมุ่งศึกษาถึงผลกระทบของการเรียนรู้เชิงนโยบายที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายและศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงของนโยบาย

การศึกษาวิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้ได้รับประโยชน์โดยอ้อมจากนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้กำหนดนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองและเจ้าหน้าที่ผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ 11 คน คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองและคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 27 คน สมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 12 คน ผู้ที่ได้รับประโยชน์โดยอ้อมจากนโยบายที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดและเปลี่ยนแปลงนโยบาย 12 คน รวมทั้งหมด 62 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง (Semi-structured interview) รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม 2551-กุมภาพันธ์ 2553 วิเคราะห์ข้อมูลกระทำโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา จัดกลุ่มเนื้อหา สรุปความสัมพันธ์ของเนื้อหา และการตรวจสอบแบบหลายวิธี (Triangulation technique) จากนั้นจึงใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล แปลความหมาย สรุปเป็นหลักการ หรือข้อเสนอเชิงความคิดโดยใช้หลักตรรกวิทยาแบบอุปนัย

ผลการวิจัยสรุปได้ว่า นโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองได้ส่งผลด้านบวกในการเรียนรู้จากประสบการณ์ในการบริหารจัดการกองทุนของผู้ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายส่วนใหญ่เป็นอย่างมาก แม้ว่าบางกองทุนจะมีปัญหาในการบริหารจัดการ กองทุนหมู่บ้านและกองทุนชุมชนเมืองมีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน คือ กองทุนชุมชนเมืองส่วนใหญ่มีปัญหาในการบริหารจัดการโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของกรรมการและสมาชิก รวมทั้งช่องทางการสื่อสารระหว่างกองทุนกับสมาชิกมีจำกัด และส่วนใหญ่เป็นปัญหาต่อเนื่องมานับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งกองทุนมาจนถึงปัจจุบัน กองทุนหมู่บ้านส่วนใหญ่มีการปรับใช้ภูมิปัญญาและนำศักยภาพของชุมชนมาใช้ในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและสถาบันการเงินชุมชนให้ประสบความสำเร็จ เกิดการเรียนรู้ว่าชุมชนสามารถบริหารจัดการตนเอง และสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้นทำให้กองทุนหมู่บ้านเกิดการเรียนรู้เชิงนโยบาย 3 รูปแบบ คือ 1. การเรียนรู้ลำดับชั้นปฐมภูมิ 2. การเรียนรู้ลำดับชั้นทุติยภูมิ และ 3. การเรียนรู้ลำดับชั้นตติยภูมิ และกองทุนชุมชนเมืองเกิดการเรียนรู้เชิงนโยบาย 2 รูปแบบ คือ 1. การเรียนรู้ลำดับชั้นปฐมภูมิ และ 2. การเรียนรู้ลำดับชั้นทุติยภูมิ

การเรียนรู้เชิงนโยบายที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมือง พบว่า การเรียนรู้เชิงนโยบายมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 3 ประการคือ (1) ก่อให้เกิดปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการสืบทอดนโยบายและการธำรงรักษานโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 5 ปัจจัย (2) ก่อให้เกิดเครือข่ายพันธมิตรนโยบายกองทุนหมู่บ้านจำนวน 2 เครือข่าย (3) ทำให้นโยบายเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในตัวในขณะที่มีการนำนโยบายไปปฏิบัติ

การเปลี่ยนแปลงของนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ช่วงเวลาตั้งแต่เริ่มต้นนโยบายในปี พ.ศ. 2544-2553 ผลการวิจัยพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงของนโยบายเป็น 2 ลักษณะ คือ การสืบทอดนโยบาย และการธำรงรักษานโยบาย

 

Policy Oriented Learning Process of the Village and Urban Community Funds

This research studied the policy-oriented learning processes and changes in policy of the village and urban community funds since their introduction in 2001 to 2008. Qualitative methodology was used involving documentary research, interviews, and focus group discussions. There were 62 participants divided into 4 focus groups, 11 village and urban community fund policy-makers and government officials who implemented the policy, 27 village and urban community fund committee members, 12 village and urban community fund members, and 12 persons affected by the policy who did not qualify for the first 3 groups. Semistructured interviews were conducted from August 2008 to February 2010. Data was subjected to content analysis and results showed the positive impact on the learning of policy stakeholders and problems in management. There were 3 forms of policyoriented learning, first order, second order, and third order learning. When compared to village funds, urban community funds showed less learning in fund administration and problem-solving, and many problems, especially in the participation of committees and members, and limited communication. Most of the village funds were successful in funding administration and learning processes, used local wisdom, and were capable of using the funds and financial institutions. In doing so, they were able to manage their own affairs and become self-reliant. It was found that policy-oriented learning had an impact on the village and urban community funds, bringing about policy change in the process of implementation and creating 2 village fund coalitions or networks. The 2 major policy changes were policy succession and policy maintenance.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)