ปัญหาการคุ้มครองสังคมจากการคิดอัตราดอกเบี้ยในตั๋วเงิน

Main Article Content

ตรีเนตร สาระพงษ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่า ตั๋วเงินสามารถคิดดอกเบี้ยได้เกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปีได้ทุกประเภทอย่างไม่มีข้อจำกัดหรือไม่ จากการศึกษาพบว่า ในการคิดดอกเบี้ยตามมาตรา 911 ถ้ามูลหนี้เดิมในตั๋วเงินมาจากหนี้อื่นที่ไม่ใช่การกู้ยืมเงินจะไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 แต่ถ้าเป็นการออกตั๋วซึ่งมีมูลหนี้เดิมจากการกู้ยืมเงิน น่าจะอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. นี้ แต่อย่างไรก็ตาม หากมีการคิดดอกเบี้ยในอัตราที่สูงเกินไป ศาลอาจใช้ดุลพินิจตีความกฎหมายเพื่อคุ้มครองสังคม โดยพิจารณาว่าเป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรม หรือเป็นการไม่สุจริต หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน กรณีออกตั๋วเงินที่มีมูลหนี้เดิมจากการกู้ยืมเงินโดยมีเจตนาปิดบังการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราก็อาจต้องห้ามตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 ได้ สำหรับอัตราดอกเบี้ยผิดนัดตามมาตรา 986(2) ในตั๋วเงินที่สูงกว่าอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ศาลจะพิจารณาว่าเป็นเบี้ยปรับ จึงอาจลดลงมาในอัตราที่เหมาะสมเพียงเท่าความเสียหายของเจ้าหนี้ได้ จากปัญหาข้างต้นเห็นว่าควรบัญญัติกฎหมายในเรื่องการคิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดในตั๋วเงินให้มีความชัดเจนไม่ว่าจะมีมูลหนี้เดิมจากหนี้ใดก็ตาม ส่วนการตีความตามกฎหมายที่มีในปัจจุบัน ควรพิจารณาถึงเจตนารมณ์อันแท้จริงของกฎหมาย และนโยบายรัฐ โดยเฉพาะจากมูลหนี้เดิมที่ไม่ใช่การกู้ยืมเงินควรตีความไปในทางมุ่งคุ้มครองคนส่วนใหญ่ของสังคม และถือว่าการคิดดอกเบี้ยตามตั๋วเงินในอัตราที่สูงเกินไปเป็นกรณี “ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน”

 

Problems in Social Protection Arising from Interest Rate Charges on Negotiable Bills

The objective of this study was to find out whether a negotiable bill, especially a cheque, allows charges of over 15% annual interest per year without any limitations. Documentary research showed that under the provision of Section 911 of Thai Civil and Commercial Code, if obligation is not covered by a loan contract, the interest charge does not fall under the provision of the Excessive Interest Rate Act B.E.2475. However, in cases of excessive interest charges, a Thai court may exercise its discretionary power in interpreting the law so as to protect society as a whole. The court may rule that clauses relating to excessive interest charges constitute an unfair contract, the contract was not created in good faith, and/or the agreement violates the public order and/or moral standards. On occasions, a negotiable bill is based on a loan contract that has intentionally concealed excessive interest charges. Such cases may be prohibited by Section 3 of the Excessive Interest Rate Act B.E.2475. In the case of default stipulated by Section 986 (2) of the Civil and Commercial Code, interest charges might exceed 5% per year. These interest charges might be permissible to a certain extent as the court may consider the charges to be a penalty, and the interest charges may be reduced in accordance with the actual damage incurred to the creditor. Consequently, there should be legal provision stating the maximum rate of interest to be charged on bills no matter what the source of obligation may be. When interpretation of related statutes is needed, the real spirit of the law together with public policy should be taken into consideration. When the obligation is not constituted by a loan, the legal interpretation should focus on protecting the majority of society and excessive interest charges on should be deemed an infringement of public order and/or moral standards.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)