การสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้หลักสูตร วิชากิจกรรมพลศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2550

Main Article Content

ประเสริฐศักดิ์ โลหะไพบูลย์กุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการเรียนการสอนวิชา 1439 100 กิจกรรมพลศึกษา 1 และวิชา 1439 101 กิจกรรมพลศึกษา 2 ซึ่งเป็นรายวิชาที่ปรับใหม่ กลุ่มตัวอย่าง ได้มาจากการสุ่มแบบง่าย จากนักศึกษาทุกคณะ จำนวน 400 คน เป็นนักศึกษาชาย จำนวน 131 คน และนักศึกษาหญิง จำนวน 269 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย โดยสถิติทดสอบที (t-test )

ผลการศึกษา พบว่า

1. นักศึกษามีความคิดเห็นต่อการเรียนการสอนวิชากิจกรรมพลศึกษา ปีการศึกษา 2550 แยกเป็นรายด้าน ทั้ง 6 ด้าน คือ ครูผู้สอน จุดมุ่งหมายการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล วิธีการสอนและการจัดการเรียนการสอน หลักสูตร และอุปกรณ์ /สถานที่ อยู่ในระดับเห็นด้วยมากทุกด้าน ในภาพรวมนักศึกษามีความคิดเห็น อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 14.50 เห็นด้วยมาก ร้อยละ 74.25 และเห็นด้วยในระดับปานกลางร้อยละ 11.25 เรียงลำดับความคิดเห็นจากมากไปน้อยทั้ง 6 ด้าน คือ ด้านครูผู้สอน ด้านจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผล ด้านวิธีการสอนและการจัดการเรียนการสอน ด้านหลักสูตร และด้านอุปกรณ์/ สถานที่ เป็นลำดับสุดท้าย

2. นักศึกษาชายและนักศึกษาหญิง มีความคิดเห็นต่อการเรียนการสอนวิชากิจกรรมพลศึกษาในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05 )

3. นักศึกษากลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีความคิดเห็นต่อการเรียนการสอนวิชากิจกรรมพลศึกษาในภาพรวม ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p > 0.05) แต่เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05 ) คือ ด้านวิธีการสอนและการจัดการเรียนการสอน

4. นักศึกษาให้ข้อเสนอแนะว่า ควรเพิ่มจำนวนกลุ่ม หรือประเภทกีฬาที่เปิดสอนให้มากขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาเลือกเรียนตามความสนใจ ประเภทกีฬา 5 ลำดับแรกที่นักศึกษาหญิงต้องการให้เปิดสอนเรียงตามลำดับ ดังนี้ แบดมินตัน แอโรบิก โยคะ วอลเลย์บอล และว่ายน้ำ ประเภทกีฬา 5 ลำดับแรก ที่นักศึกษาชายต้องการให้เปิดสอนเรียงตามลำดับ ดังนี้ ฟุตบอล เทเบิลเทนนิส แบดมินตัน วอลเลย์บอล และบาสเกตบอลในด้านอุปกรณ์การสอน ควรมีการตรวจสอบและบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดีเสมอ ควรมีอุปกรณ์ยืมเรียนและส่งคืนท้ายคาบ หรือให้เบิกอุปกรณ์ฝึกซ้อมยืมเล่นในยามว่างได้

 

The Survey of the Opinions on the Implementation for the Physical Education Activity Curriculum at the Ubonratchathani University

The purpose of this study was to survey Ubon Ratchathani University students’ attitudes towards the Physical Activity Curriculum for the academic year 2007. Through random sampling, 400 subjects were recruited from UBU students of all faculties. Of these, 131 were male and 269 were female students. The data were gathered by a questionnaire written by the researcher with an overall reliability of 0.95 and were statistically analyzed using SPSS for percentages, means, standard deviations. A t-test was used to compare the means. Summary of the results

1. Regarding the students’ overall attitudes towards the Physical Activity courses understudy, 14.5 percent of the subjects absolutely agreed, 74.25 percent of the subjects strongly agreed, and only 11.25 percent of the subjects moderately agreed with the courses. Based on the subjects’ degrees of agreement with the courses, the following six aspects were ranked from high to low: instructors, course objectives, assessment and evaluation, teaching methods, course management, curriculum, and equipment and instructional facilities.

2. Male and female students were statistically different in their attitudes towards the courses (p < .05).

3. Students of sciences and technologies and those of humanities and social sciences were statistically different in their attitudes towards teaching methods and course management (p < .05).

4. The students recommended an increased number of sections with a wide selection of sports in order for male and female students to enroll according to their preferences. The most requested sports by female students to be available for enrolment were ranked from high to low as follows: badminton, aerobic dance, yoga, volleyball, and swimming. As for male students, these sports were: soccer; table tennis, badminton, volleyball, and basketball.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)