การพัฒนาชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนโดยวิธีการสร้างผลสัมฤทธิ์ของทีม เรื่อง โมเมนตัมและการชน

Main Article Content

ลัดดา ตระกูลรัมย์
อุดม ทิพราช

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ เรื่องโมเมนตัมและการชน (2) เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการเรื่องโมเมนตัมและการชน ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยกลุ่มนักเรียนที่แบ่งตามระดับผลสัมฤทธิ์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้มาจากการสุ่มแบบเจาะจงหนึ่งกลุ่ม จำนวน 34 คน เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนรมย์บุรีพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์รูปแบบการวิจัยคือ ทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ เรื่องโมเมนตัมและการชน แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นบูรณาการและแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อชุดฝึก ผลการศึกษาพบว่าชุดฝึกนี้มีประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ดีมากและคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนด้านการทดลอง การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ และทักษะการควบคุมตัวแปร อยู่ในระดับ มากที่สุด มาก และน่าพอใจ ตามลำดับ ทักษะการตั้งสมมติฐาน และการลงข้อสรุป มีการพัฒนาน้อยและน้อยที่สุด นักเรียนส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจ ต่อชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการเรื่องโมเมนตัมและการชนอยู่ในระดับมาก

 

Development of Training Package on Integrated Science Process Skills of Students with Student Team Achievement Division on Momentum and Collision

This research aimed to: (1) construct skill and process developing packages of integrated science on momentum and collisions (2) enhance achievement scores of students’ skills and processes (3) evaluate students’ attitudes towards the packages. The experiment had a pre-test/post-test design involving one group of 34 Mutthayomseuksa-IV students from Romburipittayakhom Ratchamungklapisek School in Bandan, Buriram province in the 2009 academic year selected by purposive sampling. The group was treated using Student Team Achievement Division (STAD). The tools consisted of the integrated science process skills packages, the integrated science process skills test on momentum and collisions, and the students’ attitudes questionnaire. The research findings showed that the efficiency of the packages was very good and the average score of the students increased with a statistical significance of .05. The students’ skills of experimental performance, experimental definition, and variable control were at the levels of excellent, good, and satisfactory respectively. The students’ skills of hypothesissetting and conclusion were at the levels of low and the lowest respectively. The satisfaction of most students was at a good level.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)