ความร่วมมืออาเซียน - ไทยกับความผิดทางการเมือง

Main Article Content

อภินันท์ ศรีศิริ

บทคัดย่อ

งานเขียนเรื่องนี้เป็นการศึกษาความร่วมมือในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศไทย ทั้งหยิบยกความผิดทางการเมืองอันเป็นเหตุในการปฏิเสธไม่ส่งผู้ร้ายข้ามแดน ที่ปรากฏในสนธิสัญญาทุกฉบับมาเป็นข้อพิจารณา จากการศึกษาวิเคราะห์พบว่า ความร่วมมือในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศไทย สามารถแบ่งกลุ่มประเทศสมาชิกได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสมาชิกอาเซียนที่มีสนธิสัญญาการส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับประเทศไทย กับกลุ่มสมาชิกอาเซียนที่ไม่มีสนธิสัญญาการส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับประเทศไทย ส่วนใหญ่ 5 ประเทศจากทั้งหมด 9 ประเทศ มีสนธิสัญญา ดังกล่าว ส่วนประเทศที่ไม่ปรากฏสนธิสัญญา แต่ก็มีการดำเนินนโยบายการต่างประเทศที่แข็งขันในการเคารพอำนาจอธิปไตยรัฐอื่น กอปรกับมีความร่วมมือในรูปแบบอื่น ๆ โดยกลุ่มประเทศที่มีสนธิสัญญากับประเทศไทยนั้น สนธิสัญญาทุกฉบับได้มีการกำหนดเหตุแห่งการปฏิเสธ “ความผิดทางการเมือง” ไว้แทบทั้งสิ้น ซึ่งความผิดทางการเมืองมีเหตุผลสนับสนุนจนนำมาสู่การกำหนดไว้เป็นเหตุแห่งการปฏิเสธไม่ส่งผู้ร้ายข้ามแดน แต่ความผิดทางการเมืองก็ยังไม่ได้การกำหนดความหมายหรือลักษณะองค์ประกอบเอาไว้อย่างชัดเจน เมื่อเป็นเช่นนี้ความผิดทางการเมืองจึงไม่สมควรที่จะทำให้ความมุ่งหมาย เจตนารมณ์ของการส่งผู้ร้ายข้ามแดนต้องไร้ประโยชน์ และที่สำคัญความผิดทางการเมืองอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในการรวมกลุ่มของประชาคมอาเซียนได้ ดังนั้นสมาชิกอาเซียนควรนำกรณีความผิดทางการเมืองที่ปรากฏในสนธิสัญญาว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน มาพิจารณาในบริบทที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นครอบครัวเดียวกันในภูมิภาคนี้

 

Thailand - ASEAN Cooperation and Political offence

This study analysed cooperation regarding extradition between ASEAN member countries and Thailand and political wrong-doing that may be a reason for the denial of extradition. The study classified cooperation regarding extradition into 2 groups, ASEAN member countries that have an extradition treaty with Thailand and ASEAN member countries that do not have an extradition treaty with Thailand. Five out of the 9 ASEAN member countries are in the first group and the other 4 have foreign policies that respect the sovereignty of other countries and have other forms of cooperation. Each of the treaties between Thailand and the countries in the first group mention ‘political offence’ or political wrong-doing as a reason for denial of the extradition. However, this phrase has not been clearly defined and its elements have not been clearly described. As a result, political wrong-doing should not be the cause of an ineffective extradition. Thus, political wrong-doing may affect the stability of the ASEAN community and ASEAN member countries should discuss and decide its meaning regarding.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)