ความเห็นของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2552 ต่อกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านระบบ D4L+P

Main Article Content

ลักษณา เจริญใจ

บทคัดย่อ

การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเป็นธรรมชาติโดยผ่านการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนรู้จากการทำกิจกรรม ระบบ D4L+P (Designing4Learning process) เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการเรียนการสอนตามหลัก T5 (Task, Tutorial, Topics, Teamwork, Tool) ซึ่งส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2552 ที่ทำกิจกรรมการเรียนรู้ในระบบ D4L+P ระหว่างกลุ่มที่เข้าเรียนและไม่เข้าเรียนบรรยายในรายวิชาเภสัชเคมี 2 หัวข้อเรื่อง ยาต้านมาลาเรีย ยารักษาวัณโรค และยาระงับปวดกลุ่มโอปิออยด์ รวมถึงความเห็นต่อการใช้งานและการทำกิจกรรมกลุ่มด้วยระบบ D4L+P ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาทั้งสองกลุ่มมีคะแนนเฉลี่ยของแบบทดสอบวัดความรู้ในหัวข้อดังกล่าวใกล้เคียงกัน (18.11+3.48 และ 17.34+3.10 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนนสำหรับกลุ่มเข้าเรียนและไม่เข้าเรียน ตามลำดับ) นักศึกษาทั้งสองกลุ่มมีความพึงพอใจในการใช้งานระบบ D4L+P ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.71+0.26 และ 3.72+0.21 จากระดับคะแนน 5 สำหรับกลุ่มเข้าเรียนและไม่เข้าเรียน ตามลำดับ) และมีความเห็นโดยรวมต่อกิจกรรมการเรียนโดยระบบ D4L+P ในระดับมากเช่นกัน (ค่าเฉลี่ย 3.55+0.56 และ 3.69+0.51 สำหรับกลุ่มเข้าเรียนและไม่เข้าเรียน ตามลำดับ) แต่ความเห็นต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการทำงานกลุ่มและการร่วมกิจกรรมผ่านระบบ D4L+P ก่อนการเรียนบรรยายช่วยให้เข้าใจเนื้อหาความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้นกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านระบบ D4L+P อาจจะเหมาะสมกับนักศึกษาที่มีทักษะการเรียนจากรูปแบบการทำงานกลุ่มมาบ้างและในระยะเริ่มต้นควรจัดกิจกรรมในชั้นเรียนก่อนเพื่อผู้สอนสามารถให้คำแนะนำหรือสะท้อนกลับได้ทันที


The Opinion of Third Year Pharmaceutical Students, Academic Year 2552, on Learning Activities through D4L+P

Student-centered learning is the learning process to stimulate students through cooperative and active learning. D4L+P (Designing4Learning process) is the tool for educational administration with T5 learning model (Task, Tutorial, Topics, Teamwork, Tool) which promotes student-centered learning. The aim of this research was to compare learning outcomes of third-year pharmaceutical students, academic year 2009, who were participated in learning activities through D4L+P between attending and without attending pharmaceutical chemistry 2 (PC2) lectures in the topics of anti-malarial, anti-tuberculosis and opioid analgesics. The opinions of these students on using D4L+P were also explored. The results indicated that the average scores of the examination of these topics were not significantly different between the students who attended the lectures and who did not (18.11+3.48 and 17.34+3.10, respectively, from the total of 30 points). Both groups of the students were satisfied to using D4L+P in the high level (the average score 3.71+0.26 and 3.72+0.21 from the total of 5, of attended and not attended students, respectively). The opinions on active learning through D4L+P were also in the high level (the average score 3.55+0.56 and 3.69+0.51, of attended and not attended students, respectively). However, the opinion of the students suggested that group discussion, share and learn activities through D4L+P before attending the lectures helped to understand the content of lectures in the intermediate level. Therefore, the learning activities through D4L+P might be appropriate for the students who had experienced with group discussion learning. It would seem that the active learning should be begun in classroom first so that the lecturers can give formative feedback immediately.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)