กลวิธีทางวรรณศิลป์ในการนำเสนอประสบการณ์บาดแผลฝังใจในวรรณกรรมเรื่อง A Little Life

Main Article Content

ขอบคุณ สมบูรณ์วงศ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษากลวิธีทางวรรณศิลป์ในการนำเสนอประสบการณ์ บาดแผลฝังใจของตัวละครหลักในวรรณกรรมเรื่อง A Little Life ของฮันยา
ยานากิฮาระ โดยใช้แนวคิดบาดแผลฝังใจของจูดิธ เฮอร์แมน เบสเซล แวน เดอ คอล์ค และแอน สเวตโควิตช์ ผลการวิจัยพบว่า 1) บาดแผลฝังใจของตัวละครหลักเกิดจากการทารุณกรรมทางร่างกาย การถูกล่วงละเมิดทางเพศและการเป็นประจักษ์พยานในเหตุการณ์รุนแรงในวัยเด็ก เหตุการณ์ดังกล่าวกลายเป็นบาดแผลฝังใจที่หวนคืนในวัยผู้ใหญ่เมื่อมีตัวกระตุ้น และความเจ็บปวดที่ได้รับทางร่างกาย
ยังไม่สามารถแยกขาดจากภาวะทางจิตใจ ซึ่งส่งผลให้ประสบการณ์รุนแรงกลายเป็นบาดแผลฝังใจของตัวละคร 2) วรรณกรรมเรื่องดังกล่าวมีบทบาทในการนำเสนอบาดแผลฝังใจผ่านกลวิธีทางวรรณศิลป์ ได้แก่ การเล่าเรื่องแบบมุมมอง
พระเจ้า การเล่าบาดแผลฝังใจแบบไม่เรียงลำดับเวลา การสร้างตัวละคร
เพื่อนำเสนอการเยียวยาบาดแผลฝังใจ ซึ่งช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจประสบการณ์
ของผู้มีบาดแผลฝังใจ ราวกับเป็นประสบการณ์ของตน

Article Details

How to Cite
สมบูรณ์วงศ์ ข. . (2024). กลวิธีทางวรรณศิลป์ในการนำเสนอประสบการณ์บาดแผลฝังใจในวรรณกรรมเรื่อง A Little Life. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 15(2), 1–33. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/266489
บท
บทความวิจัย (Research paper)

References

Adchariyaprasit, J. (2014). Narrative and displacement in Post-Cold War Literature of Vietnamese, Cambodian and Laotian-Hmong Writers. [Doctoral dissertation, Chulalongkorn University.] (in Thai)

Atchayasoonthorn, K. (2014). From Tears to Ink Drops: Violence, Trauma and Healing in Dacia Maraini’s Novels. [Master’s thesis, Chulalongkorn University]. (in Thai)

Caruth, C. (1996). Unclaimed Experience: Trauma, Narrative, and history. Baltimore: The John Hopkins University Press.

Cvetkovich, A. (2012). Depression: A Public Feeling. Durham, NC: Duke University Press.

Herman, J. (1992). Trauma and recovery: The aftermath of violence from domestic abuse to political error. New York: Basic books.

Prakartwuthisarn, C. (2021). Loss and Affective Trauma: A Study of the October 6 Massacre in the Film by The Time It Gets Dark. construction of the Thai mind: Alternative Subjectivity (3), 153-197. (In Thai)

Ruengrong, A. (2019). Literary Techniques to Convey Virtue and Equality Concepts of Human: The Sung Song with Critical Review. Patanasilpa Journal, 3(2), 1-12. (in Thai)

Saowanit, V. (2023). Pedophilic Offenders and the Scope of Criminal Liability: A Comparative Study. [Master’s Thesis, Thammasat University]. (in Thai)

Sadjapan, R. (2012). Aesthetics of life. Bangkok: Na Petch.

Van Der Kolk, B. (2019). The Body Keeps the Score: Brain, Mind, and Body in

the Healing of Trauma. Bangkok: Suanngernmeema. (in Thai)

Wimolsoparat, S. (2014). Role of Literature on Protagonists in Novels and Films. Journal of Liberal Arts, 14(2), 102-120. (in Thai)

Yanagihara, H. (2017). A little life. London: Pan Macmillan.