การพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพตำบลนางแล จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) วิเคราะห์ศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยวและอัตลักษณ์ของชุมชน 2) ศึกษาความต้องการของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพต่อการใช้บริการและประกอบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และ 3) พัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
ภายใต้แนวคิดการออกแบบประสบการณ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
ในตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ
ด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่ม กับปราชญ์ชาวบ้าน คนในชุมชน เจ้าของแหล่งท่องเที่ยวในตำบลนางแลและภาคีเครือข่าย จำนวน 20 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม
กับนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 400 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูล
เชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า 1) ตำบลนางแลมีทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เชิงเกษตร เชิงวัฒนธรรม และผลิตภัณฑ์ชุมชนที่หลากหลาย การเดินทางเข้าถึงสะดวก มีสิ่งอำนวยความสะดวกและที่พักหลายรูปแบบ 2) นักท่องเที่ยวมีความต้องการบริการผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพและความงามในระดับมาก โดยผลการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณส่วนประสมทางการตลาดพบว่า ปัจจัยด้านราคาส่งผลกระทบเชิงบวกต่อการเลือกประกอบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมากที่สุด รองลงมาคือด้านผลิตภัณฑ์และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ตามลำดับ 3) กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประกอบด้วยการลงมือทำและเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนนางแล การรับประทานอาหารที่สด สะอาด ปลอดภัยและมีสุขภาพที่ดี
การผ่อนคลายจิตใจและร่างกายไปกับกิจกรรมการบำบัดรักษาสุขภาพ และเลือกซื้อของฝากของที่ระลึกที่มาจากชุมชน โดยโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประกอบด้วยโปรแกรมสุขสบาย (ครึ่งวัน) และโปรแกรมสุขชีวา (เต็มวัน) ซึ่งผลการประเมินความพึงพอใจต่อโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอยู่ในระดับดี ทั้งนี้ชุมชนควรปรับปรุงการให้บริการต้อนรับและการให้ข้อมูลของมัคคุเทศก์ท้องถิ่น และเพิ่มประสิทธิภาพการประสานงานของฝ่ายต่าง ๆ ในการต้อนรับนักท่องเที่ยว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Boonchai, A. & Tansaraviput, J. (2003). Health tourism, a new selling point of Thai tourism. Economic and Social Journal, 40(4), 22-27. (in Thai)
Chanma, N. (2022). Potential and market demand for health tourism from hot springs in Phetchabun Province. Journal of Science and Technology Chiang Rai Rajabhat University, 1(1), 40 – 56. (in Thai)
Cochran, W.G. (1977) Sampling Techniques. 3rd Edition, John Wiley & Sons, New York.
Daver, C. (2010). Experiential Tourism and the Cyprus Hotel Experience: A Canadian Perspective, with Suggestions, Ideas, and Opportunities. http://cyhma.com/images/userfiles/file/pasydixe.pdf.
Dickman, C.R. (1996). Overview of the Impacts of Feral Cats on Australian Native Fauna. Australian Nature Conservation Agency. Canberra
Jennings, G., Lee, Y. S. , Ayling, A., Lunny, B., Cater, C. & Ollenburg, C. (2009). Quality Tourism Experiences: Reviews, Reflections, Research Agendas, Journal of Hospitality Marketing & Management, 18(2-3), 294-310.
Global Wellness Institute. (2014). The Global Wellness Tourism Economy 2013. http://www.globalwellnesssummit.com.
Jennings, G. R. & Nickerson, N. (Eds.). (2006). Quality tourism experiences. Burlington, MA: Elsevier.
Karwacki, J. (2011). Haven’t been there, done that: How Experiential Tourism is Transforming the Travel Experience. Caribbean Sustainable Tourism Conference 2011. http://www. onecaribbean.org/content/files/Experiential%20TravelCarib %20ST%20Conf% 20FINAL.pdf.
Kotler, P. (2000) Marketing Management: The Millennium Edition. Person Prentice Hall, Upper Saddle River.
Krachangchom, S. & Sangkhakorn, K. (2020). Behavior and needs of health promotion Thais and foreigners tourists in the upper northern region. Academic Journal of the University of the Thai Chamber of Commerce Humanities and social sciences, 40(1), 57 – 76. (in Thai)
Ministry of Tourism and Sports. (2020). Situation Thai Tourism. TOURISM ECONOMIC, Volume 1, Issue 4, 17. (in Thai)
Nang Lae Sub district Municipality. (2018). Local development plan 2018 – 2022. Chiang Rai Province. (in Thai)
Noppakhun, P. (2018). The Effects of Tourism Marketing Factors (7Ps) on the Foreign Divers’ Decision to a Scuba Diving in Thailand [Master’s thesis, Bangkok University]. (in Thai)
Pengthong, N. (2019). Factors affecting wellness tourism of foreign tourists, Koh Samui District Surat Thani Province. Academic Journal of Pathum Thani University, 11(1), 267 – 277. (in Thai)
Pine, B. J. & Gilmore, H. J. (1999). The experience economy. MA: Harvard Business School Press Publications.
Quality of Life Promotion Division. (2019). Chiang Rai Province Tourism Promotion Development Master Plan 2018-2022. Chiang Rai Provincial Administrative Organization. Chiang Rai. (in Thai)
Report on the tourism economy. (2022). COVID and its impact on Thai tourism. https://www.mots.go.th/. (in Thai)
Sriwilai, S. & Thongsri, R. (2021). The spread of COVID-19 has affected tourism in Thailand. Journal of Corporate Management and Local Innovation, 7(8), 405 – 416. (in Thai)
Tantivejkul, P. (2003). Health tourism. Tourism Brochure, 22(1), 30-41. (in Thai)
Teerapong, K. (2020). A Study of Experience Design for the Development of Cultural Tourism. The Fine & Applied Arts Journal,13(1), 1 – 15. (in Thai)
Thaweesri, C. (2014). Health tourism. https://www.l3nr.org/posts/ 166878. (in Thai)
Tourism Authority of Thailand. (2009).Health tourism. http://thai. tourismthailand.org/Tourist attractions and activities/ Tourism activity types/Health tourism. (in Thai)
UNTWO. (2022). UNWTO ANNUAL REPORT 2017. https:// www.unwto.org/ global/publication/unwto-annual-report-2017.
Watcharathorn, T., Pengphan, W., & Kosaiyawat, S. (2017). Guidelines for promoting health tourism for the elderly in Mueang District, Chonburi Province. Journal of Education and Social Development, 13(1), 260 -275. (in Thai)
Wongpratum, N., & Phumvitchuvet, D. (2021). The Health Tourism Management Model for Community Based on the King’s Philosophy. Journal of Arts Management, 5(2), 299–311. (in Thai)