ความขัดแย้งในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ: กรณีศึกษาโครงการอ่างเก็บน้ำบ้านเหมืองตะกั่ว จังหวัดพัทลุง

Main Article Content

นิธิตา สิริพงศ์ทักษิณ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุของความขัดแย้งในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของโครงการอ่างเก็บน้ำบ้านเหมืองตะกั่ว จังหวัดพัทลุง และศึกษาแนวทางการเคลื่อนไหว รูปแบบยุทธวิธี และเงื่อนไขที่ส่งผลต่อความสำเร็จของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์
แบบเจาะลึกจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานภาครัฐและชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่ความขัดแย้ง
ผลการวิจัยพบว่า 1) สาเหตุหลักของความขัดแย้งมี 5 ประการ ได้แก่ ด้านโครงสร้าง ด้านข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ด้านผลประโยชน์ ด้านความสัมพันธ์ และด้านค่านิยมที่แตกต่างกัน ซึ่งความขัดแย้งในโครงการนำไปสู่การทำลาย
ความไว้วางใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียส่งผลให้ความขัดแย้งขยายตัวเพิ่มขึ้น จากการที่คู่ขัดแย้งมีมุมมองที่แตกต่างกัน โดยมีความขัดแย้งกันทั้งในด้านเนื้อหา
ด้านกระบวนการและด้านความสัมพันธ์ 2)แนวทางการเคลื่อนไหว รูปแบบยุทธวิธีของกลุ่มผู้คัดค้านในนาม “กลุ่มรักษ์โตนสะตอ” พบว่ามีการใช้รูปแบบยุทธวิธีและกลยุทธ์ที่หลากหลาย ทั้งยุทธวิธีท้าทายที่ปราศจากความรุนแรง เช่น การชุมนุม การนั่งประท้วงและอารยะขัดขืน และยุทธวิธีช่องทางระบบการเมืองปกติ เช่น การล็อบบี้ การเคลื่อนไหวทางสังคมนี้ดำเนินการผ่านการระดมทรัพยากรจากผู้สนับสนุน การได้รับความสนใจจากสื่อ พันธมิตรและการพัฒนาเชิงโครงสร้างองค์กร ส่วนเงื่อนไขที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการเคลื่อนไหวทางสังคม พบว่า
มีปัจจัยหลัก ได้แก่ ความเป็นองค์กรที่เข้มแข็ง การปลดปล่อยการตระหนักรู้และโครงสร้างโอกาสทางการเมือง จะเห็นว่าแม้กลุ่มรักษ์โตนสะตอที่มีความคับข้องใจและมีทรัพยากรไม่มากนัก แต่ก็สามารถเคลื่อนไหวจนบรรลุผลสำเร็จ จากข้อค้นพบดังกล่าวนำไปสู่ข้อเสนอแนะว่าเมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้น ภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชนต้องทำงานร่วมกันในการจัดการทรัพยากรน้ำ สิ่งสำคัญที่สุดคือทุกภาคส่วนต้องร่วมกันจัดเวทีเสวนา ปรึกษาหารือ เพื่อหาจุดร่วมในการหาแนวทางยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้เกิดความชัดเจนและอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริง

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)

References

Budget Bureau. (2021, May 25). Summary of Expenditure Budgets 2020-2021. http:// www.bb.go.th/ topic3.php?gid=862&mid (in Thai)

Buranrak, W. (2005). People’s Political Movement: A Case Study of Environment Conservation Group in Udon Thani Province [Master’s thesis, Chiang Mai University]. (in Thai)

Glacius, M. & Pleyers, G. (2013). The Global Moments of 2011: Democracy, Social Justice and Dignity. Development and Change, 44(3) (May), 547-567.

Kongphet, S. (2022, May 25). Moving Forward to the Construction of the Ban Muang Takua Dam Project. http://www.thairath.co.th /news/local/ south/1926756 (in Thai)

Lipsky, M. (1970). Protest in City Politics. Chicago: Rand McNally.

McAdam, D. (1982). Political Process and the Development of Black Insurgency 1930-1970. Chicago: University of Chicago Press.

McCarthy, J. D. & Zald, M. N. (1977). Resource Mobilization and Social Movements: A Partial Theory. American Journal of Sociology, 82(6) (May), 1212-1241.

Moore, C. (1986). The Mediation Process: Practical Strategies for Resolving Conflict, trans. Vanchai Vatanasapt et al. Khon Kaen: Institute for Dispute Resolution, Khon Kaen University.

Pintobtang, P. (2009). Political Analysis Framework in Social Movement Theory. Chiang Mai: Heinrich Boll Foundation. (in Thai)

Porta, D. D. (2022). Contentious Politics in Emergency Critical Junctures. Cambridge: Cambridge University Press.

Research Center for Business Networks and Strong Community. (2011). Guidelines and Measures for Water Resources Management. Bangkok: Phranakhon Rajabhat University. (in Thai)

Sakidram, P. (2007). The Dynamics of the Nan Community and the Management of Water Resource Conflicts: A Case Study of the Khun Samun Reservoir Project, Nan District [Master’s thesis, Chiang Mai University]. (in Thai)

Sivavetkul, C. (2001). Conflict Resolution: The Case Study of the Public Hearing in the Prong Khun Phet Reservoir Project [Master’s thesis, Chulalongkorn University]. (in Thai)

Taratham, V. (2017). The Readiness of Social Movements: The Case Study of Seri Chon Group in Ubon Ratchathani Province [Master’s independent study, Ubon Ratchathani University]. (in Thai)

Tarrow, S. (1994). Power in Movement: Social Movements, Collective action, and Politics. Cambridge: Cambridge University Press.

The Committee of Policy Formulation and Water Resources Management. (2015). Water Resources Management Strategy. Bangkok: Office of the National Water Resource. (in Thai)

The Phatthalung Provincial. (2016). Supporting documents for the meeting of the sub-committee on civil rights and political rights in case of the Ban Muang Takua dam project. Phatthalung city hall. (in Thai)

Wolf, E. A. & Dooren, W. V. (2021). Fatal Remedies, how dealing with Policy Conflict can Backfire in a Context of Trust-erosion. Governance 34, 1097-1114.