การยกระดับการนับรวมทางสังคมด้วยการคุ้มครองทางสังคม ผ่านแพลตฟอร์มบริการแบ่งปันข้อมูล สำหรับกลุ่มเด็ก อายุ 0 ถึง 15 ปี จากครอบครัวเปราะบาง: กรณีศึกษา พื้นที่ชุมชนฟื้นนครร่มเกล้าโซน 10 กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
แพลตฟอร์มบริการแบ่งปันข้อมูล เป็นเครื่องมือดิจิทัลที่นำร่องทดลองใช้ในงานการคุ้มครองทางสังคม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะ
การทำงานและผลของการคุ้มครองทางสังคมผ่านแพลตฟอร์มบริการแบ่งปันข้อมูล ในการยกระดับการนับรวมทางสังคมสำหรับกลุ่มเด็กอายุ 0 ถึง 15 ปี
จากครอบครัวเปราะบาง โดยการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้ปกครองของเด็กอายุ 0 ถึง 15 ปี จากครอบครัวเปราะบาง จำนวน 1 คน 2) คณะทำงานด้านการวางกรอบแนวคิดแพลตฟอร์มฯ จำนวน 3 คน 3) ผู้ให้บริการ 4 หน่วยงาน หน่วยงานละ
1 คน รวมจำนวน 4 คน และ 4) อาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) จำนวน 5 คน
ผลการวิจัยพบว่า แพลตฟอร์มฯ นี้มีลักษณะการทำงานที่สำคัญ
3 ประการ ได้แก่ การป้องกันก่อนเกิดปัญหา, ความร่วมมือของหน่วยงาน
ในรูปแบบการทำงานเชิงลึก และยึดหลักธรรมาภิบาลข้อมูล และยังพบว่า แพลตฟอร์มฯ ช่วยยกระดับการนับรวมทางสังคม โดยการทำงานของหลายหน่วยงาน สร้างโอกาสให้เด็กเปราะบางเข้าถึงการคุ้มครองทางสังคมในระบบ
การสงเคราะห์และช่วยเหลือที่ไม่มีการจ่ายเงินสมทบ และแพลตฟอร์มฯ ยังช่วยส่งเสริมการเคารพศักดิ์ศรีของเด็กเปราะบาง โดยการรักษาความปลอดภัยในข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กและครอบครัว ที่มีความเชื่อมโยงกับหลักจรรยาบรรณวิชาชีพ
ผู้ให้บริการที่ยึดถือปฏิบัติเป็นปกติ แต่กลไกการทำงานสำหรับป้องกันก่อนเกิดปัญหายังมิได้ปรากฏขึ้นจริง ถึงแม้ว่าเด็กจะได้รับโอกาสเข้าสู่ระบบการศึกษาและสาธารณสุข แต่มิได้เพิ่มความสามารถทางทักษะการเรียนรู้และศักยภาพ
การช่วยเหลือตนเอง เนื่องจากกลุ่มเด็กเปราะบางที่เข้าร่วมการทดสอบแพลตฟอร์มฯ คือ กลุ่มเด็กที่กำลังเผชิญกับภาวะคุกคามเป็นระยะเวลานานแล้ว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Amaranantasak, N. (2020, May 12). How to maintain Thai cildren’s quality of life of during a school break due to COVID-19?. https://tdri.or.th/2020/05/child-nutrition-and-mental-health-covid-19/. (in Thai)
Asia Development Bank. (2013). The social protection index assessing results for asia and the pacific. Philippines: [n.p.].
Digital Government Development Agency. (2022). Summary of the new mindset, journey route, a platform for joint management and news and information to improve the quality of life of children from fragile family in Phuen Nakhon Rom Klao Community, Zone 10. The seminar of development of the digital child. (pp. 2-6). [N.P.]: [n.p]. (in Thai)
Equitable Education Fund. (2021, September 4). World bank concerns about soaring education inequality and advises comprehensive school development with special measures. https://www.eef.or.th/news-eef-world-bank-raise-the-quality-of-the-school/. (in Thai)
Ministry of Social Development and Human Security & Department of Children and Youth & UNICEF Thailand. (2020, February 1). Ways to achieve comprehensive progressive child subsidy of Thailand. https://www.unicef.org/thailand/media/3811/file/. (in Thai)
Sirapaiboon, S. (2018). Social Protection and Social Security Benefits for Alien Labour from Three Nations. Social Research Journal, 41(2), 105-107. (in Thai)
Sumano & Na Chiang Mai. (2020, July 30). It’s time to change the child protection system to protect the nation’s future. https://tdri.or.th/2020/07/thai-child-protection-act-improved-system/. (in Thai)
Thailand Development Research Institute. (2017, May 15). Action research: Infant care…why should it be progressive?. https://tdri.or.th/kids-welfare/. (in Thai)
UNICEF Thailand & Office of the National Economic and Social Development Council. (2019, September 19). Child’s Multi-Dimensional Poverty Report in Thailand. https://www.unicef.org/ thailand/media/3036/file/. (in Thai)
United Nations. (2021).Leveraging digital technologies for social inclusion. New York: United Nations Publication.
United Nations Thailand. (2022, February 6). Sustainable development goal no poverty end poverty in all its forms everywhere. https://thailand.un.org/th/sdgs/1. (in Thai)
World Bank. (2013).Inclusion matters the foundation for shared prosperity. Washington DC: World Bank.