นวัตกรรมในการจัดการบริการสาธารณะขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น กรณี โครงการการแก้ไขปัญหาคนไร้สัญชาติ ไร้สถานะทางทะเบียนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ศรัณย์ เจริญศิริ
สรัญญา เจริญศิริ
ปภาวี พันธพนม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการนวัตกรรมในการจัดการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณี โครงการการแก้ไขปัญหา
คนไร้สัญชาติ ไร้สถานะทางทะเบียนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรเทศบาลนครอุดรธานี ต่อการจัดการนวัตกรรมในการจัดการบริการสาธารณะของเทศบาลนครอุดรธานี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการรวบรวมข้อมูลเอกสาร การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ และ
การสังเกตการณ์ ทั้งแบบมีส่วนร่วมและแบบไม่มีส่วนร่วม            ผลการศึกษา พบว่า (1) ด้านการสร้างกลยุทธ์ มีการสร้างกลยุทธ์การบริการเชิงรุก กำหนดให้สอดคล้องกับสภาพของปัญหาที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ปรับวิธีการบริหารให้ทันต่อสถานการณ์และกำหนดทิศทางในการแก้ไขปัญหาในอนาคต
(2) ด้านการสร้างความคิดใหม่ มีการฝึกอบรมให้ความรู้ด้านงานทะเบียนให้บุคลากร นำความคิดใหม่ ๆ เข้ามาในการบริหารจัดการนวัตกรรม (3) ด้านการจัดลำดับความสำคัญและคัดเลือกความคิดที่ดีที่สุด มีการวิเคราะห์ ตัดสินใจเลือกแก้ปัญหาและช่วยเหลืออย่างทั่วถึง ยึดหลักธรรมาภิบาล การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ต้องใช้ความละเอียดรอบคอบในการดำเนินการให้เกิดความถูกต้อง (4) ด้านการนำความคิดที่คัดสรรแล้วไปปฏิบัติ โครงการได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศในด้านการให้บริการอย่างต่อเนื่อง อาทิ รางวัลเลิศรัฐ ประจำปี พ.ศ. 2560 โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และ (5) ด้านการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ มีการขอความร่วมมือจากหลายฝ่าย ส่งเสริมการบริหารระบบเปิด การสร้างเครือข่าย การมีส่วนร่วมของประชน เพื่อมาช่วยแก้ไขปัญหา และการประชาสัมพันธ์ ส่วนความคิดเห็นของบุคลากรเทศบาลนครอุดรธานีต่อการจัดการนวัตกรรมในการจัดการบริการสาธารณะของเทศบาลนครอุดรธานี อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการสร้างกลยุทธ์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการจัดลำดับความสำคัญและคัดเลือกความคิดที่ดีที่สุด และน้อยที่สุด คือ ด้านการนำความคิดที่คัดสรรแล้วไปปฏิบัติ ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)

References

กีรติ ยศยิ่งยง. (2552). องค์กรแห่งนวัตกรรม แนวคิด และกระบวนการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โกวิทย์ พวงงาม. (2548). การปกครองท้องถิ่นไทย : หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

ขวัญตา เบ็ญจะขันธ์. (2560). ไทยแลนด์ 4.0 กับการปรับตัวของ ข้าราชการไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 661-676.

ชลวิทย์ เจียรจิตต์. (2565). สู่สังคมชาญชรา: นวัตกรรมทางสังคมกับการเสริมสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนาศักยภาพ ผู้สูงอายุในสังคมไทย. วารสารพัฒนาสังคม, 24(1), 49-67.

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. (2552). การขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อการจัดบริการสาธารณะที่ดี. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

เทียนแก้ว เล่ียมสุวรรณ. (2558). ข้อเสนอทางเลือกการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับความต้องการและเงื่อนไขทางสังคมในชุมชนจังหวัดชลบุรี. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เทศบาลนครอุดรธานี. (2565). โครงการการแก้ไขปัญหาบุคคลไร้ สัญชาติ ไร้สถานะทางทะเบียนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี ทะเบียนราษฎรพบชุมชนถึงเรือนชาน. อุดรธานี: เทศบาลนครอุดรธานี.

ธนิศร ยืนยง. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดนครนายก. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(2), 119-135.

ปกรณ์ ศิริประกอบ. (2558). 3 พาราไดม์ทางรัฐประศาสนศาสตร์: แนวคิด ทฤษฎี และการนำไปปฏิบัติจริง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประยูร อิมิวัตร์ และคณะ. (2561). ท้องถิ่นอภิวัตน์: นวัตกรรมการจัดการชุมชนตำบลหัวง้ม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. วารสารการบริหารปกครอง (Governance Journal), 7(2), 173-193.

ปิยากร หวังมหาพร. (2550). นวัตกรรมการนำนโยบายผู้สูงอายุ ไปปฏิบัติของ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2548). นวัตกรรมสร้างสรรค์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2550). เครือข่าย: นวัตกรรมการทำงานของ องค์กรปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ศรัณย์ เจริญศิริ และ สรัญญา จุฑานิล. (2563). การจัดการเครือข่ายความร่วมมือสาธารณะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น กรณี เทศบาลตำบลในจังหวัดอุดรธานี. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(2), 117-165.

ศรัณย์ เจริญศิริ. (2556). องค์กรเครือข่ายภาคประชาชนกับการมีส่วนร่วม กรณีศึกษา เปรียบเทียบ องค์กรชาวบ้านอนุรักษ์ป่าชุมชนโคกหินลาด และกลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนโคกหนองโน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (สาขามนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์), 9(2), 65-80.

สมบัติ นามบุรี. (2562). นวัตกรรมและการบริหารจัดการ. วารสารวิจัยวิชาการ, 2(2), 121-134.

สุพิศาล ภักดีนฤนาถ และชฎาธาร โอษธีศ. (2561). นวัตกรรมการบริหารจัดการภาคสังคม. กับนโยบายไทยแลนด์ 4.0. วารสารสมาคมนักวิจัย, 23(1), 49-60.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2559). ประเทศไทย 4.0. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2563, จาก http://planning2.mju.ac.th/

goverment/20111119104835_planning/Doc_25590823143652_358135.pdf.