ความหมายที่เปลี่ยนแปลงของพระธาตุพนมในบริบทประวัติศาสตร์ ไทย-ลาว

Main Article Content

อรัญ จำนงอุดม
จักรพันธ์ ขัดชุ่มแสง

บทคัดย่อ

             บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายที่เปลี่ยนแปลงของพระธาตุพนมในบริบทประวัติศาสตร์ไทย-ลาว พ.ศ. 2369-2553 ข้อมูลที่ปรากฏในบทความนี้ได้จากการวิจัยเอกสาร ผลการศึกษาชี้ว่า พระธาตุพนมซึ่งตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย-ลาวสะท้อนถึงความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปแต่ละยุค ได้แก่ 1) ยุคศึกเจ้าอนุวงศ์ พระธาตุพนมกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองและสงคราม โดยอาณาจักรลาวได้นำพระธาตุพนมไปใช้ในมิติของอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่มีความสำคัญต่อทิศทางการเมืองในราชสำนัก ส่วนรัฐสยามได้ใช้พระธาตุพนมในฐานะของสัญลักษณ์ในแผนที่เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ในการทำสงครามและเป็นสัญลักษณ์ในการตั้งรับกับการแย่งชิงพื้นที่จากจักรวรรดินิยมตะวันตก 2) ยุคสงครามอินโดจีน พระธาตุพนมถูกนำไปเชื่อมโยงกับความหมายทางการเมือง ได้แก่ การพยายามล้มล้างความศรัทธาของผู้คนในฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงที่มีต่อพระธาตุพนมของรัฐบาลอาณานิคมฝรั่งเศส ในขณะที่รัฐไทยได้เชื่อมโยงความหมายพระธาตุพนมกับการสร้างความเป็นพลเมืองของรัฐไทย 3) ยุคสงครามเย็น พระธาตุพนมได้กลายเป็นตราสัญลักษณ์ของสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย นอกจากนี้ ยังมีการให้ความหมายใหม่กับพระธาตุพนมจากความรู้ด้านโบราณคดีของกรมศิลปากร และการผลิตซ้ำวาทกรรมที่เกี่ยวกับตำนานอุรังคธาตุ 4) ยุคพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง พระธาตุพนมได้ถูกทำให้กลายเป็นสินค้ามีการผลิตสินค้าที่เชื่อมโยงกับพระธาตุพนมเป็นจำนวนมากและมีการขายสินค้าในพื้นที่พระธาตุพนมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และ 5) ยุคผลักดันพระธาตุพนมให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เพื่อให้กลายเป็นพื้นที่สากล พระธาตุพนมได้ถูกนำไปเชื่อมโยงกับความหมายใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติการเมืองและเศรษฐกิจ กระนั้น พระธาตุพนมยังคงความหมายของการเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นศูนย์รวมทางจิตวิญญาณของผู้คนมาจนถึงปัจจุบัน


            ในยุคพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงซึ่งมีการเข้ามาของสื่อสมัยใหม่และการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจของจังหวัด พระธาตุพนมได้กลายเป็นพื้นที่เชิงเศรษฐกิจมีผู้คนเข้ามาจำหน่ายสินค้าภายในวัด และเริ่มมีการพัฒนาในรูปแบบผลิตภัณฑ์สินค้าวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดมูลค่าในการแลกเปลี่ยน ตลอดจนปัจจุบันการสร้างพระธาตุพนมในประเทศสหรัฐอเมริกาและอินเดีย การยกระดับเสนอให้พระธาตุพนมกลายเป็น “มรดกโลกทางวัฒนธรรม” ถือเป็นการผลิตซ้ำความเชื่อเพื่อขยายเส้นวงขอบของวัฒนธรรมไปสู่ความเป็นสากล เป็นที่ยอมรับแก่คนทั่วโลกมาก อย่างไรก็ตาม ถึงแม้พระธาตุพนมจะถูกนำไปเชื่อมโยงกับความหมายใหม่โดยเฉพาะมิติทางการเมืองและเศรษฐกิจ ความหมายของการเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ศูนย์รวมทางจิตวิญญาณของผู้คนยังคงมีอยู่เสมอมาจนถึงปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)

References

Ankitchit, K. (2014). The process of building awareness and understanding of the arts of Thai society. Case study: Bangkok Art and Culture Center [Master’s thesis, Silpakorn University]. (in Thai)

Chalongpak, S. & Chantamala, O. (2017). Forn Bhu Cha Phra Thard Panom: Artificial Process of Performing Art in The End of Buddhist Lent [Master’s thesis, Mahasarakham University]. (in Thai)

Chinnabutr, S. (2016). The Identity and Inheritance of the Monastery Serfs of Wat Phra That Phanom Nakhon Phanom Province in Kao Bichabhagaya Offering and Sia Kha Hua Ritual [Master’s thesis, Sakon Nakhon Rajabhat Unive]. (in Thai)

Fine Arts Department. (1979). Archives of the restoration of Phra That Phanom at Wat Phra That Phanom Woramahawihan, That Phanom District, Nakhon Phanom Province, 1975-1979. Bangkok: Pikanet Press (in Thai)

Karnthak, A. (2011). Phra That Phanom: Development of Historical, Social, Cultural, Urban and Community [Master’s thesis, Mahasarakham University]. (in Thai)

Kotchare, T. (2012). Thai tourist’s behavior in birthday’s relic of the buddha religious tourism Nakhon Phanom Province [Master’s thesis, Khon Kaen university]. (in Thai)

Manichot, S. (2011). Phra That Phanom: Sacred Religious Sites in the dimension of social and cultural symbols [Master’s thesis, Mahasarakham University]. (in Thai)

Meekaew, N. (2012). Chaikong road: cultural commodification for tourism in Chiang Khan District, Loei province [Master’s thesis, Khon Kaen University]. (in Thai)

Narasaj, B. (2018). Lan Chang Buddhist pagodas and the cultural heritage management of local communities in Mekong Basin [Master’s thesis, Khon Kaen University]. (in Thai)

Patarasuk, U. (2011). The study of the Influence of Phra That Phanom in Beliefs and rituals of Mekong Basin Community [Master’s thesis, Mahachulalongkornrajavidyalaya University]. (in Thai)

Pramong, S. (2017). Thung Sumrit Heroism Memorial: The Commodification of Local Culture [Master’s thesis, Khon Kaen University]. (in Thai)

Promphakping, N. (2014). The Construction of Social Space of the Phu Thai National Development Cooperators of the Thai Nation [Doctoral dissertation, Khon Kaen University]. (in Thai)

Rajanuwat, D. (2008). Urangadhat The Legend of Phra That Phanom (Bisadarn). Bangkok: June Publishing Company Limited. (in Thai)

Sirirat, P. (2020). The Development of Spiritual Tourism Model by Community Participation for Sustainable Tourism Nakhon Phanom Province [Doctoral dissertation, Mahidol University]. (in Thai)

Sriwongsa, K. (2019). The study of importance of Phra That Phanom through its replica [Doctoral dissertation, Silpakorn University]. (in Thai)

Suwakanth, P. (2011). Economy and Politics in the Mekong Region. Bangkok: Thammasat University Press. (in Thai)

Tantimala, C. (2017). Public Spheres and Production of Space: The Meaning of Social Relationships [Doctoral dissertation, Srinakharinwirot University]. (in Thai)

Testham, P. (1986) A study of the legends of Phra That based on the twelve year’s astrological cycle [Master’s thesis]. Thai epigraphy, Silpakorn University. (in Thai)

The committee is working to request the registration of Phra That Phanom as a world heritage site. (2017). “Phra That Phanom as a World Heritage Site” Strategies for applying for registration of Phra That Phanom as a World Heritage Site. Nakhon Phanom: Wat Phra That Phanom. (in Thai)

Tonlerd, S. (2015). A critical introduction of modern popular culture: Paradigm of culture and cultural phenomena in Southeast Asia. Journal of Language and Culture, 34(1), 29-59. (in Thai)

Viravong, S. (1996). History of Laos (2nd edition). Bangkok: Matichon Publishing House. (in Thai)

Wanliphodom, S. (2003). The meaning of the Buddha's relics in the Siamese civilization. Bangkok: Ancient City. (in Thai)

Wat Phra That Phanom Woramahawihan. (2014). Phra That Phanom. Nakhon Phanom: Wat Phra That Phanom Woramahawihan.

(in Thai)

Wiphakphachanakij, T. (1999). History of Isan. Bangkok: Foundation for the Textbook of Humanities and Social Sciences Project. (in Thai)