พื้นที่ระหว่างการควบคุม-ดูแล: โรงพยาบาลสนาม สภาวะฉุกเฉิน และโรคระบาดโควิด-19

Main Article Content

จิราพร เหล่าเจริญวงศ์

บทคัดย่อ

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2563 ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติใน จ.สมุทรสาคร ก่อให้เกิดการตั้งโรงพยาบาลสนามขึ้น
เป็นครั้งแรกในประเทศไทยเพื่อใช้ในการควบคุม-ยับยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสและใช้ดูแลผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการ และได้กลายเป็นต้นแบบให้กับพื้นที่อื่น ๆ
ทั่วประเทศ บทความวิจัยชิ้นนี้สำรวจและตั้งคำถามถึงบทบาท ความสำคัญ และความสัมพันธ์ของโรงพยาบาลสนามกับวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19
ในประเทศไทยผ่านมุมมองทางมานุษยวิทยาเชิงพื้นที่ และแนวคิดการใส่ใจดูแล โดยใช้การเก็บข้อมูลเอกสาร และการลงพื้นที่ในโรงพยาบาลสนามในจังหวัดสมุทรสาคร และศูนย์พักคอยในจังหวัดตากและนครปฐม


            ผลการวิจัยพบว่า ภายใต้สภาวะวิกฤติ รัฐบาลไทยจัดการกับโรคระบาด
โดยมองว่าเป็นภัยด้านความมั่นคง ซึ่งการทำงานต้องอยู่ภายใต้กฎหมายพิเศษ
ที่เรียกว่าพระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉิน ในสภาวะนี้เอง โรงพยาบาลสนาม
ทำหน้าที่ 2 แบบคือ หนึ่ง การควบคุม ยับยั้งการแพร่ระบาด และ สอง การให้
การดูแลผู้ป่วย ภายในพื้นที่นี้ ผู้ป่วยจะถูกตรวจตรา สอดส่องจากกล้องวงจรปิด และบุคลากรทางการแพทย์ที่สังเกตอยู่ด้านนอกราวกับอยู่ในที่คุมขัง เพื่อแลกกับการได้รับการดูแลรักษา ความใส่ใจดูแลจากบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานในโรงพยาบาลสนามทำให้พื้นที่ที่มีลักษณะกึ่ง ๆ จะเป็นที่คุมขังนั้น กลายเป็นพื้นที่ที่สามารถทนอยู่ได้ ภาคปฏิบัติการของการดูแลนี้เองได้เปลี่ยนความหมายของพื้นที่ไปทีละเล็กละน้อย แต่เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดรุนแรงขึ้น ทรัพยากร
ทางสาธารณสุขมีจำกัดที่มีอยู่จำกัดนั้นไม่เพียงพอ จึงต้องผลักคนบางกลุ่มออกไปจากการรักษาโดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติ ปรากฏการณ์ในช่วงวิกฤตินี้สะท้อนถึงความไม่เท่าเทียมของ “ชีวิต” และชวนให้ตั้งคำถามต่อว่า ชีวิตของใครบ้างที่สำคัญ และใครบ้างควรจะมีชีวิตที่ยืนยาว

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)

References

Agamben G. (2005). State of Exception. University of Chicago Press; 1st edition.

Andrejevic, M., & Volcic, Z. (2021). Pandemic lessons: total surveillance and the post-trust society. The Political Economy of Communication, 9(1), 4-21.

Department of Medical Service. (2021). Guideline for Field hospital preparartion in case of Covid-19 infection. Retrieved from http://covid19.dms.go.th: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia /file/g_health_care/g06.pdf (In Thai)

Dr. Aim, BBC Thai. (2021). Covid-19: Experience the medical team to care of migrant workers at Field Hospital, Samut Sakhon. Retrieved from https://www.bbc.com/thai/thailand-55643096 (In Thai)

Fassin, D. (2009)., as cited in Foucault, (1979). Another politics of life is possible. Theory, Culture&Society, 26(5), https://doi.org/10.1177/ 0263276409106349.

Lemke, T. (2011). Biopolitics : an advanced introduction. New York: New York University Press.

Mol, A., & Hardon, A. (2021). Caring. In J. R. Bowen, N. Dodier, J. W. Duyvendak, & A. Hardon, Pramatic inquiry critical concepts for social sciences, Oxon: Routledge (pp. 185-204).

Rabinow, P. (1996). Artificiality and enlightenment: from sociobiology to biosociality. Politix, 90(2), 21-46.

The Thai government gazette. (2020) Declaration of state of emergency in the kingdom of Thailand, 137(69) D, Retrieved 1Novermber, 2021 https://www.nsc.go.th/wp-content/uploads/ 2020/05/CV19-02.pdf

Ticktin, M. (2006). Where ethics and politics meet: the violence of humanitarianism in france. American Ethnologist, 33(1), 33-49.

World Health Organization. (2003). WHO-PAHO Guidelines for the Use of Foreign Field Hospitals in the Aftermath of Sudden-Impact Disasters. Retrieved from WHO.int: https://www.who.int/hac/ techguidance/pht/FieldHospitalsFolleto.pdf

Wun'Geao, S. et al. (2007). Sociology of Tsunami: Disaster Preparedness and Management, Bangkok: Duentula (pp.1-421).