การศึกษาเปรียบเทียบการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของ ผู้มีรายได้น้อยในประเทศไทย และประเทศมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และบังคลาเทศ

Main Article Content

เศรษฐบุตร อิทธิธรรมวินิจ

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของ
ผู้มีรายได้น้อยในประเทศไทย การดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการวิจัยเอกสารและ
การสัมภาษณ์เชิงลึก รวมถึงศึกษาเปรียบเทียบการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของประเทศมาเลเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศบังคลาเทศ ผลการศึกษาเปรียบเทียบพบว่า ประเทศบังคลาเทศ ประเทศมาเลเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศไทย ได้มีการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ประเทศบังคลาเทศบังคับใช้พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ค.ศ.1918 และพระราชบัญญัติผู้ให้กู้ยืมเงิน ค.ศ.1940 ประเทศมาเลเซียบังคับใช้พระราชบัญญัติผู้ให้กู้ยืมเงิน ค.ศ.1951 และกฎหมายอิสลาม ประเทศฟิลิปปินส์บังคับใช้พระราชบัญญัติฉบับที่ 2655 (กฎหมายห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา) และ
ประเทศไทยบังคับใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติ
ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 ส่วนมาตรการที่ไม่ใช่กฎหมายสำหรับแก้ปัญหาหนี้นอกระบบนั้นมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน โดยใช้ระบบการเงินแบบรากฐาน ประเทศบังคลาเทศได้มีการจัดตั้งธนาคารกรามีน (Grameen Bank) ซึ่งเป็นธนาคารหมู่บ้านแห่งแรกของโลกเพื่อผู้ยากไร้และเป็นระบบการเงินแบบรากฐาน ต่อมา ประเทศมาเลเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงประเทศไทย ได้นำแบบอย่างของประเทศบังคลาเทศและจัดตั้งธนาคารหรือสถาบันการเงินเพื่อผู้มีรายได้น้อยในประเทศของตนเองเพื่อช่วยแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ


            ผลการวิเคราะห์พบว่า กฎหมายที่ใช้บังคับในปัจจุบันของประเทศไทยและประเทศที่ศึกษาเปรียบเทียบ อาจไม่ใช่เครื่องมือที่แก้ปัญหาหนี้นอกระบบโดยตรง เพราะปัญหาหนี้นอกระบบยังพบได้อยู่ในทุกประเทศ กฎหมายไม่ได้แก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุซึ่งก็คือความยากจน กฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือที่นำผู้กระทำความผิดเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรามาลงโทษและเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบสำหรับประเทศไทยคือการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุโดยใช้มาตรการอื่นที่ไม่ใช่กฎหมาย เช่น การใช้แนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การส่งเสริมให้ผู้มีรายได้น้อยมีวินัยทางการเงิน การเพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินให้มีมากขึ้น การจัดให้มีการฝึกอบรมวิชาชีพให้แก่ผู้มีรายได้น้อยและให้มีตลาดรองรับสินค้าหรือบริการจากผู้มีรายได้น้อย ประการสำคัญคือรัฐบาลควรมีนโยบายและดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)

References

Act Fixing Rates of Interest upon Loans and Declaring the Effect of Receiving or Taking Usurious Rates and for Other Purposes (The Philippines).

Atthavoradej, A., Katunyutanon, P., Tunyongmas, K., Sitthisuang, W. & Sumawong, W. (2011). A study of guidelines for the use of legal measures to supervise and solve problems of informal creditors [Research Report]. Fiscal Policy Office, Ministry of Finance. (in Thai)

Civil and Commercial Code (Thailand).

European Asylum Support Office. (2019, March 24). COI Query: Punishment for debt and protection against usury in Bangladesh. https://www.ecoi.net/en/file/local/1448969/1226_1541498103_bgd-118.pdf.

Excessive Interest Rate Prohibition Act B.E.2560 (Thailand).

Gonzales, I. (2018, January 15). SEC’s marching order: Crack down on loan sharks. https://www.philstar.com/business/2017/07/27/ 1722036/secs-marching-order-crack-down-loan-sharks# MZdcL28X6WLspVeP.99.

Grameen Bank. (2020, May 1). About Grameen Bank. https://grameenbank.org/ about/introduction.

Habaradas, R. & Umali, M. A. (2013). The microfinance industry in the Philippines: Striving for financial inclusion in the midst of growth. Center for Business Research & Development, De La Salle University.

Judgment of the Thai Supreme Court No. 4372/2545. (in Thai)

Mokhtar, S. H. (2011). Microfinance performance in Malaysia [Doctoral dissertation, Lincoln University].

Moneylenders Act 1951 (Malaysia).

Money-Lenders Act of 1940 (Bangladesh).

Notification of the Ministry of Finance on the Businesses Requiring Permission under Article 5 of the Announcement of the Revolutionary Council No. 58 (on the Nano Finance for Occupation under Supervision) (Thailand).

Notification of the Ministry of Finance on the Businesses Requiring Permission under Article 5 of the Announcement of the Revolutionary Council No. 58 (on the Provincial Pico Finance under Supervision) (Thailand).

OECD. (2014). OECD Factbook 2014: Economic, environmental and social statistics. Paris: OECD Publishing.

Office of the Royal Development Projects Board. (2017). The philosophy of sufficiency economy. Bangkok: Judthong.

Phorphon, Y. (2015). Legal measures for providing consumer protection: A case study of informal loan users [Master’s Thesis, Dhurakij Pundit University]. (in Thai)

Saleem, M. Y. (2013). Islamic Commercial Law. Singapore: John Wiley & Sons.

Sirikitsathien, C., Trakool, C., Sitthipong, R., Cheangmo, W. & Nunchaikeaw, W. (2015). Adopting the philosophy of sufficiency economy into operations in the Faculty of Management Science, Kamphaeng Phet Rajabhat University [Research Report]. Faculty of Management Science, Kamphaeng Phet Rajabhat University. (in Thai)

Suwanprasert, W. (2012). Creating justice in society: A study of informal debt in Chaiyaphum Province. Journal of the Court of Justice Review, 6(3), 127-138. (in Thai)

Suwanprasert, W. (2017). Interest on loans and criminal liability, part 3, introduction to law amendment. Journal of Justice, 17 (2), 58-61. (in Thai)

Ubon Ratchathani Damrongdhama Center. (2014). Ubon Ratchathani Damrongdhama Center’s work manual for solving informal debts. Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani Damrongdhama Center. (in Thai)

Usurious Loans Act 1981 (Bangladesh).

Weerakuldhewan, P. (2016). Microfinance system and poverty problem [Master’s independent research, Thammasat University]. (in Thai)