กระบวนการเล่าเรื่องและการประกอบสร้างความหมายผ่านตัวละครในข่าวอาชญากรรมของรายการทุบโต๊ะข่าว อัมรินทร์ทีวี 34: กรณีศึกษาข่าวการเสียชีวิตของน้องชมพู่ หมู่บ้านกกกอก

Main Article Content

ณัชชา อาจารยุตต์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “กระบวนการเล่าเรื่องในข่าวอาชญากรรมของสื่อมวลชนไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเล่าเรื่องและการประกอบสร้างความหมายทางสังคมผ่านตัวละครในข่าวอาชญากรรมของรายการทุบโต๊ะข่าว อัมรินทร์ทีวี 34 มีขอบเขตการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกรณีศึกษาข่าวการเสียชีวิตของน้องชมพู่ หมู่บ้านกกกอก จังหวัดมุกดาหาร เป็นระยะเวลารวม 14 เดือน งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้วิธีวิจัยแบบวิเคราะห์เนื้อหา ร่วมกับการวิเคราะห์ตัวบท


ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการเล่าเรื่องในข่าวอาชญากรรมของรายการทุบโต๊ะข่าว อัมรินทร์ทีวี 34 ใช้วิธีการเล่าเรื่องรูปแบบเดียวกับบันเทิงคดี มีการกำหนดแก่นเรื่อง โครงเรื่อง ตัวละคร ฉาก บทสนทนาและกลวิธีในการเล่าเรื่องของข่าว มาสร้างเรื่องเล่าที่สมบูรณ์ โดยใช้วิธีประกอบสร้างความหมายให้กับตัวละครในข่าว สร้างความหมายให้ตัวละครในลักษณะที่ลื่นไหลทั้งเป็นผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ สลับบทบาทตามช่วงเวลา พยาน หลักฐาน ทำให้เกิดภาพลักษณ์ของข่าวและบุคคลในข่าวแตกต่างกัน โดยมีผู้สื่อข่าวเป็นตัวละครร่วม การนำเสนอข่าวอาชญากรรมยังมีการอ้างอิงกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และกระบวนการที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์มาเล่าเรื่องในลักษณะพึ่งพิงข้อมูลระหว่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)

References

Anantho, S. & Thongrin, S. (2016). Ethics in the media profession. Mahidol University Press. Nakhon Pathom. (in Thai).

Bird, S. E. & Dardenne, R. W. (1988). Media, myths, and narratives – television and the press. Newbury Park, CA: Sage Publications.

Chermarn Cholamak, C. (2005). Narrative and the science of storytelling. (Narratology). Academic Journal Faculty of Communication Arts Rangsit University, 9(1) ,41-46. (in Thai).

Kaewthep, K. (2011). Mass Communication: Theory and Educational Approaches. Bangkok: Pabpim. (in Thai).

Konkuntod, P. (2017). Presentation of crime news in online media: a case study of undergraduate students of the Faculty of Education Kasetsart University Bang Khen Campus [Master’s thesis, Kasetsart University]. (in Thai)

Mingmuang, A. (1992). News storytelling on the radio [Master’s thesis, Chulalongkorn University]. (in Thai)

Muendao, A., (2017). Crime news phenomenon in the media 2.0: The view and experience of Alongkorn Muendao. https://www.voicetv. co.th/read/498529. (in Thai)

Panich, A. (2001). Language and writing principles for communication. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Pansonthi, C. & Chanwichai, K. (2013). The media performance of news story programs: a case study of Thai color television station, Channel 3. Business Administration Journal Economics and Communication, 8(2), 55-65. (in Thai)

Reungsak, P. (2011). Crime news and newspaper storytelling. Executive Journal, 37(26), 205-211. (in Thai)

Tailangka, S. (2017). The Science and Art of Storytelling (3rd ed.). Amarin Printing and Publishing Public Company Limited, Bangkok. (in Thai)

TV digital watch. (2020). Rating ratings for television programs. www.tvdigitalwatch.com /category/tv-rating/rating-anual. (in Thai)