การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์ภาษาอังกฤษจากการแปลอนุเฉทภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์ภาษาอังกฤษจากการแปลอนุเฉทภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างได้แก่นิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาหลักการแปลในภาคต้น ปีการศึกษา 2562-2563 คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จำนวน 50 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์ภาษาอังกฤษจากงานแปลของนิสิตด้วย Writing Correction Symbols ของ Hogue & Oshima และการจำแนกหมวดหมู่ทางไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถามการประเมินตนเองด้านความสามารถทางไวยากรณ์และแบบสอบถามเกี่ยวกับสาเหตุของปัญหาในการแปลอนุเฉทจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่าข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์ที่พบบ่อยที่สุดในงานแปลของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ Verb Tense; Wrong Word; Article; Preposition; และ Rewriting หมวดหมู่ไวยากรณ์ 5 หมวดหมู่จากแบบสอบถามการประเมินตนเองด้านความสามารถทางไวยากรณ์ที่พบปัญหามากที่สุดในการแปล ได้แก่
1) การใช้คำนามและพจน์ของคำนาม 2) ความเข้าใจประโยคความปรารถนา
3) ความเข้าใจกริยา Subjunctive 4) การใช้กริยา Subjunctive และ 5) การใช้ประโยคความปรารถนา ปัจจัย 7 ด้านที่เป็นสาเหตุของปัญหาในการแปล ได้แก่
1) การไม่เข้าใจความหมายของคำศัพท์ 2) การขาดทักษะทางไวยากรณ์
3) การขาดทักษะการเลือกใช้คำในการเทียบเคียงกับตัวบท 4) การขาดความเข้าใจในสำนวนภาษาไทย 5) ความไม่สามารถตีความประโยคได้ 6) การขาดการฝึกฝนด้านไวยากรณ์ และ 7) การขาดการวิเคราะห์ตัวบท
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Al-Shehab, M. (2018). GRAMMATICAL ERRORS MADE BY TRANSLATION STUDENTS WHEN TRANSLATING ARABIC ENVIRONMENTAL TEXT INTO ENGLISH. European Journal of English Language Teaching, 4(1), 120-135.
Cahyani, S., Wijaya, B. & Arifin, W. (2015). AN ANALYSIS OF STUDENTS’ GRAMMATICAL ERRORS IN INDONESIAN-ENGLISH TRANSLATION. JURNAL PENDIDIKAN DAN PEMBELAJARAN KHATULISTIWA, 4(3), 1-9. Retrieved September 15, 2021, from https://jurnal.untan. ac.id/index.php/jpdpb/article/view/9280/9180.
Chnasakulniyom, K. (2010). Translation Abilities as a Reflection of English Language Competence: A Case Study of Upper Secondary School Students at Sacred Heart College.MA Thesis (English), Chiang Mai University.
Hogue, A., & Oshima, A. (2007). Introduction to Academic Writing. New York: Pearson Education.
Pinmanee, S. (2012). Translation: from Wring to Right. Bangkok: ChulaPress. (in Thai)
Pojprasat, S. (2007). AN ANALYSIS OF TRANSLATION ERRORS
MADE BY MATTAYOMSUKSA 6. MA Thesis (English), Srinakharinwirot University.
Pym, A. (1992). Translation error analysis and the interface with language. Retrieved September 20, 2021, from https://usuaris.tinet. cat/apym/online/training/1992_erro.pdf.
Suksaeresup, N., & Thep-Ackrapong, T. (2009). Lost in Translation: How to Avoid Errors in Translation from English. Retrieved November 10, 2022, from https://translationjournal.net/journal/ 47errors.htm
Tandikombong, M., Atmowardoyo, H. & Weda S. (2016). Grammatical Errors in the English Translation Made by the Students of English Study Program of UKI Toraja. ELT Worldwide, 3(1), 1-15.
Wang, K., & Han, C. (2013). Accomplishment in the multitude of counsellors: Peer feedback in translation training. The International Journal for Translation & Interpreting Research, 5(2), 62-75.
Wongranu, P. (2017). Errors in translation made by English major students: A study on types and causes. Kasetsart Journal of Social Sciences, 117-122.
Yodnil. N. (2006). An Analysis of Formal Letter Translation Problems of Third-Year English Majors. MA. Thesis (English), Srinakharinwirot University.