การประกอบสร้างอัตลักษณ์ของการวิ่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างอัตลักษณ์ของการวิ่งและเงื่อนไขบริบททางสังคมที่มีผลต่อการสร้างอัตลักษณ์ของการวิ่ง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลจากสื่ออินเทอร์เน็ต การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกนักวิ่งจำนวน 30 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เพื่อให้ได้ข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ด้วยทฤษฎีทางปรัชญา ผลการวิจัยพบว่า การสร้างอัตลักษณ์ของการวิ่งเป็นปรากฏการณ์ ทางสังคมที่เกิดขึ้นในเชิงกระบวนการเริ่มต้นจากเงื่อนไขที่เกิดจากแรงจูงใจสามประการคือ ความต้องการลดน้ำหนัก ความต้องการมีสุขภาพดี และความต้องการก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเอง ส่วนเงื่อนไขบริบททางสังคมที่มีผลต่อการสร้างอัตลักษณ์ของการวิ่ง ได้แก่ เพื่อน ครอบครัว องค์กรการทำงาน และสื่ออินเทอร์เน็ต จากนั้นนักวิ่งได้มีกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ด้วยการกำหนดรูปแบบการดำเนินชีวิต การบริโภคสินค้าแฟชั่น การโพสต์สถิติการวิ่งและการใช้ภาษาสื่อสารในสังคมออนไลน์ เพื่อบ่งบอกความเป็นตัวตน รสนิยม ชนชั้น การสังกัดกลุ่มทางสังคมและความต้องการเป็นที่ยอมรับของสังคม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Baudrillard, J. (1972). For a critique of the political economy of the sign. (C. Levin, Trans.). New York: Telos. Charoensinoran, C. (2006). Introduce to the post-structuralism. Bangkok: Printing Press. (in Thai)
Ganjanapan, A. (2002). Fighting for marginalization in Thai society. Department of Women’s Studies, Faculty of Social Science, Chiang Mai University. (in Thai)
Kachanil, S. (2008). Influences of webboard advertising on changes of Thai people's attitudes toward the body. MA Thesis (Media Arts and Design), Chiang Mai University. (in Thai)
Panlee, P. (2002). Weight loss process of woman: a discourse of identity construction. MA Thesis (Anthropology), Chulalongkorn University. (in Thai)
Pinthongpan, S. (2003). Perception and communication in expressing southern identity among students in the southern region of Bangkok. MA Thesis (Rhetoric and Communication of Performances), Chulalongkorn University. (in Thai)
Ramitanond, C. (1997). Identity, Culture and Change. Department of Women’s Studies, Faculty of Social Science, Chiang Mai University. (in Thai)
Siritrirat, P. (2014). The Consumption of Sign of foreign women’s magazine. www.bu.ac.th/knowledgecenter. (in Thai)
Srisawat, P. (2007). Identity construction of vocational students. MA Thesis (Speech Communication), Chulalongkorn University. (in Thai)
Suttisima, V. (2014). Communication and discourses of running in thai society. MA Thesis (Communication Arts), Chulalongkorn University. (in Thai)
Zero, M. (2020). Drilling into the trend of running, 6 reasons why it is the most popular sport of people today. https://www.mangozero.com. (in Thai)